แนวทางการดำเนินงานในการจัดสภาพแวดล้อมภายในหน่วยงานให้เอื้อต่อความปลอดภัยในการทำงานและลดความเสี่ยงต่อการถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ ตามหลัก 6 ส. ของ สป.กษ.
12 ก.ย. 2567
16
0
แนวทางการดำเนินงานในการจัดสภาพแวดล้อมภายในหน่วยงานให้เอื้อต่อความปลอดภัยในการทำงานและลดความเสี่ยงต่อการถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ
แนวทางการดำเนินงานในการจัดสภาพแวดล้อมภายในหน่วยงานให้เอื้อต่อความปลอดภัยในการทำงานและลดความเสี่ยงต่อการถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ ตามหลัก 6 ส. ของ สป.กษ.

1. สอดส่อง

1.1 จัดให้มีกล้องวงจรปิดในตำแหน่งที่เหมาะสม (หากมี)

1.2 หมั่นตรวจตราความปลอดภัยภายในสำนักงาน โดยเฉพาะบริเวณบันไดหนีไฟ ห้องเก็บหรืออาคารเก็บพัสดุ และลานจอดรถ

2. ไม่สุ่มเสี่ยง

2.1 จัดให้มีไฟส่องสว่างที่เพียงพอ ทั้งบริเวณห้องทำงาน ห้องประชุม ห้องน้ำ ลิฟต์ ทางเดิน ทางหนีไฟ/

บันไดหนีไฟ ห้องเก็บพัสดุ รอบอาคาร และลานจอดรถ

2.2 จัดห้องทำงานที่เปิดเผย โล่ง และสามารถมองเห็นกันได้ชัดเจน

3. สะอาดตา

3.1 จัดเก็บสิ่งของและเอกสารให้เป็นระเบียบ และดูแลพื้นที่ปฏิบัติงานให้สะอาดอยู่เสมอ

3.2 ปรับภูมิทัศน์บริเวณทางเข้า-ออก สวนหย่อมหรือพื้นที่สีเขียว พื้นที่พักขยะ และมุมสูบบุหรี่ให้สะอาดตา น่ามอง

4. ไม่สับสน  

4.1 จัดให้มีป้ายบอกทาง และป้ายสัญลักษณ์ความปลอดภัย ให้ครบถ้วน 

4.2 ใช้ประโยชน์พื้นที่ให้เหมาะสม ลดมุมอับและทางเปลี่ยว ให้มีเท่าที่จำเป็น

5. สื่อสาร

5.1 ติดป้าย สติกเกอร์ และสัญลักษณ์ไม่ยอมรับพฤติกรรมการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน

5.2 สร้างความตระหนักรู้ว่า การใช้ปฏิทินโป๊ แสดงภาพโป๊ หรือตั้งค่าภาพโป๊บนจอคอมพิวเตอร์ในที่ทำงาน ถือเป็นความผิดทางวินัย

6. แสดงข้อมูล 

ประชาสัมพันธ์ช่องทางขอรับความช่วยเหลือทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน

   - ช่องทางการร้องเรียน/ร้องทุกข์ภายในหน่วยงาน ได้แก่

       · ร้องเรียนเป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้บังคับบัญชาทุกระดับของผู้กระทำ

       · เว็บไซต์สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเว็บไซต์ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผ่านแบบฟอร์มออนไลน์ หัวข้อการร้องเรียนการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในที่ทำงาน

 

    - ช่องทางการร้องเรียน/ร้องทุกข์ภายนอกหน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

       · ศูนย์ประสานการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน (ศปคพ.) กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว โทรศัพท์ ๐ ๒๖๕๙ ๖๗๔๙

       · ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน ๑๓๐๐

       · เว็บไซต์กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ตกลง