หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด
17 ต.ค. 2567
34
23
จัดทำโดยกลุ่มสารสนเทศการเกษตร
หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด
หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด

หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด ตัวเต็มวัยเป็นแมลงพวกผีเสื้อกลางคืน ตัวหนอนเจาะเข้าทำลาย

ภายในลำต้น แม่ผีเสื้อวางไข่เป็นกลุ่มซ้อนกันคล้ายเกล็ดปลา สีขาวนวล ด้านใต้ใบข้าวโพด ตั้งแต่ข้าวโพด

อายุประมาณ 30 วัน ไปจนกระทั่งถึงระยะออกดอก ไข่กลุ่มหนึ่งมีประมาณ 10-80 ฟอง ไข่ฟักเป็นหนอน

ภายใน 3-4 วัน หนอนขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 20 มิลลิเมตร ตัวมีสีขาวนวลอมชมพูและมีจุดตามตัว

ระยะหนอน 15 - 21 วัน ระยะดักแด้ 5 - 7 วัน ตัวเต็มวัยเป็น ผีเสื้อกลางคืนมีอายุ7 - 14 วัน เมื่อหนอนฟัก

จากไข่ใหม่ๆ จะแทะกินตามผิวใบ และเจาะเข้าตามเส้นใบหรือส่วนโคนของยอดอ่อน หนอนจะเริ่มเจาะเข้า

ลำต้นข้าวโพด ในระยะที่ 2-3 อาศัยกัดกินและเจริญเติบโตอยู่ภายในลำต้นจนกระทั่งเป็นดักแด้

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1. เลือกพันธุ์ข้าวโพดที่ค่อนข้างจะต้านทานต่อหนอนเจาะลำต้น เช่น พันธุ์สุวรรณ 1 และพันธุ์สุวรรณ 2

2. ทำลายเศษซากพืชอาหารของหนอนเจาะลำต้นข้าวโพดในไร่ หลังการเก็บเกี่ยวเพื่อมิให้เป็นแหล่ง

ระบาดของแมลงศัตรูชนิดนี้ต่อไป

3. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติเพื่อช่วยควบคุมประชากรของหนอนเจาะลำต้นข้าวโพด

4. พ่นสารกำจัดแมลงชนิดใดชนิดหนึ่ง ได้แก่

– เดลทาเมทริน (deltamethrin) 3% EC อัตรา 10 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร (กลุ่ม 3A)

– ไตรฟลูมูรอน (triflumuron) 25% WP อัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร (กลุ่ม 15)

– เทฟลูเบนซูรอน (teflubenzuron) 5% EC อัตรา 25 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร (กลุ่ม 15)

– คลอร์ฟลูอาซูรอน (chlorfluazuron)5% EC อัตรา 25 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร (กลุ่ม 15)

– ฟิโพรนิล (fipronil) 5% SC อัตรา 20 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร (กลุ่ม 2B)

ที่มา : ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์

ตกลง