คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2534 อนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดตั้งสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดโดยให้มีการทดลอง จัดตั้งใน 4 จังหวัด ที่มีสำนักงานเกษตรภาคตั้งอยู่ก่อน คือ จังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น ชัยนาท และสงขลา ต่อมาในปี 2537 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับสำนักงาน ก.พ. ได้ทำการประเมินผลการปฏิบัติงานของสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดทั้ง 4 แห่ง ผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับที่น่าพอใจ คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติ เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2537 เห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดตั้งสำนักงานเกษตร และสหกรณ์จังหวัดเป็นการถาวรได้ โดยได้รวมงานด้านการปฏิบัติการของหน่วยงานในสังกัดจังหวัด เข้ามาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดภายใน 3 ปี ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้จัดตั้งสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดขึ้นเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ.2538..ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 112 ตอนที่ 6 ก ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2538 สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุดรธานี
จัดตั้งขึ้นเมื่อ ปี 2540 เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2540
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุดรธานี แบ่งส่วนราชการภายใน ออกเป็น 1 ฝ่าย และ 3 กลุ่มงาน ดังนี้
1) ฝ่ายบริหารทั่วไป มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
- บริหารงานทั่วไปของสำนักงาน ได้แก่ งานธุรการ งานพัสดุ งานการเงินและบัญชี
- บริหารงานบุคคล
- ประสานงานการตรวจราชการประจำปีและของผู้บริหารระดับสูง
- ประสานงานการดำเนินงานภายในจังหวัด กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแหล่งวิชาการ และหน่วยงานอื่น
- ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่การพัฒนาการเกษตร งานนิทรรศการ ผลิตเอกสารและวัสดุ เพื่อการประชาสัมพันธ์
- ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
2) กลุ่มยุทธศาสตร์พัฒนาการเกษตร มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
- จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรของจังหวัด และกลุ่มจังหวัด แผนพัฒนาการเกษตรรายสินค้า และแผนเชิงพื้นที่
- บูรณาการจัดทำแผนงาน/โครงการ/งบประมาณ ของส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
- จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีด้านการเกษตรของจังหวัด
- บูรณาการการดำเนินงานของหน่วยงานตามแผนงานโครงการ
- ดำเนินการตามนโยบายสำคัญของรัฐบาล รวมทั้งกำหนดแผน และการดำเนินงานโครงการที่มีความสำคัญ ซึ่งเป็นประเด็นเร่งด่วนและเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัด
- ติดตามประเมินผลแผนงานโครงการและงบประมาณของหน่วยงานในสังกัด
- ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
3) กลุ่มช่วยเหลือเกษตรและโครงการพิเศษ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
- จัดทำและประสานงานโครงการพระราชดำริฯ
- งานความร่วมมือระหว่างประเทศ
- งานรับเรื่องร้องทุกข์ การช่วยเหลือเกษตรกร งานภัยพิบัติ
- งานนายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
- ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
4) กลุ่มสารสนเทศการเกษตร มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
- จัดทำข้อมูลและสารสนเทศด้านการเกษตรและสหกรณ์จังหวัด
- เป็นศูนย์ข้อมูลและศูนย์แม่ข่ายข้อมูลด้านการเกษตรของจังหวัด
- จัดทำระบบเตือนภัยด้านการเกษตร โดยแจ้งเตือนการระบาดของศัตรูพืชและสัตว์ เฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยสินค้าเกษตร
- ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย