ประวัติความเป็นมา
History
  • ประวัติความเป็นมา

    ประวัติกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 

     

    การเกษตรในประเทศไทยได้มีบันทึกเป็นหลักฐานไว้ในศิลาจารึกในสมัยสุโขทัย (เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1800) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพ่อขุนรามคำแหง ทรงมีรัฐประศาสโนบายส่งเสริมการเกษตรหลายประการ ที่สำคัญคือ การให้ประชาชนมีอิสระในการประกอบอาชีพตามความถนัด และที่ดินที่มีการปลูกสร้างทำประโยชน์ก็จะตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ปลูกสร้าง และให้เป็นมรดกตกทอดไปถึงยังลูกหลานในสมัยนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ มีน้ำสะอาดสำหรับบริโภคตลอดทั้งปี และเพียงพอสำหรับใช้ในการเกษตร มีการสันนิษฐานว่าพ่อขุนรามคำแหงทรงจัดการชลประทานช่วยเหลือการเพาะปลูก เช่น การขุดเหมืองฝายฝังท่อไขน้ำจากลำธารบนภูเขา มาสู่ตัวเมืองสุโขทัย และทรงสนับสนุนให้มีการปลูกป่าทำสวนโดยทั่วไป เช่น ทรงปลูกป่าตาลขึ้น และใช้ป่าตาลนั้นเป็นสถานที่ให้พระสงฆ์แสดงธรรมในวันธรรมสวนะ และเป็นที่เสด็จออกว่าราชการในวันปกติ อันเป็นพระบรมราโชบายที่จะอบรมพสกนิกรให้มีนิสัยรักป่า รักสวน และรักการปลูกสร้างไปด้วยในตัว

     กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดตั้งสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดขึ้นเป็นราชการส่วนภูมิภาค สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงตามพระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการ สำนักงานปลัดกระทรวง   พ.ศ. 2538    โดยจะดำเนินการจัดตั้งสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดให้ครบทุกจังหวัดภายในปี  2540 สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด   ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนของกระทรวงเกษตรฯ ระดับจังหวัด จึงนับว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีต่อการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ประจำจังหวัดเป็นการถาวรเช่นเดียวกับกระทรวงหลักอื่น ๆ  เพื่อจะได้ประสานกับส่วนราชการส่วนภูมิภาคสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อีก 6 ส่วนราชการ   ได้แก่   สำนักงานเกษตรจังหวัด    สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด  สำนักงานประมงจังหวัด  สำนักงานสหกรณ์จังหวัด สำนักงานป่าไม้จังหวัด   และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด  รวมทั้งส่วนราชการส่วนกลางที่กำลังปฏิบัติการอยู่ตามส่วนภูมิภาคเพื่อให้การปฏิบัติงานด้านการ
     พัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ที่เป็นภารกิจของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์    และของจังหวัดสามารถตอบสนองนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นผลดี   ต่อประชาชนในด้านการประกอบอาชีพ ทำให้มีรายได้และความเป็นอยู่ดีขึ้น รวมทั้งมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นทั้งนี้การบริหารงาน ของสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดใช้แผนและระบบการติดตามและประเมินผลเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานลงสู่พื้นที่และครัวเรือนเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง
                    การบริหารงานของสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดในฐานะผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประจำจังหวัด ตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534   กำหนดให้     ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นกรรมการจังหวัด (กจ.) และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาชนบทและการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค พ.ศ. 2535 จะทำหน้าที่    เป็นคณะกรรมการพัฒนาจังหวัด (กพจ.) รวมทั้งเป็นศูนย์บริหารงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในจังหวัด  และยังเป็นที่ปรึกษาทางด้านการเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในส่วนภูมิภาค จึงจำเป็นต้องมีคู่มือการบริหารงานของสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ฯ    และใช้ในการบริหารพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ภายในจังหวัดให้บรรลุตามบทบาทหน้าที่ของสำนักงาน ฯ และสนองตามนโยบายและแผนของรัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อย่างแท้จริงและมีประสิทธิภาพสูงสุด

     

ตกลง