เตือนภัยการผลิตพืช กรมวิชาการเกษตร ช่วงวันที่ 26/01/2565 ถึง 08/02/2565
25 ม.ค. 2565
1,344
0
ระวัง เพลี้ยจักจั่นมะม่วง ในมะม่วง
 
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า อากาศร้อนในตอนกลางวัน  เตือนผู้ปลูกมะม่วง ในระยะ  แทงช่อดอก – พัฒนาผล รับมือเพลี้ยจักจั่นมะม่วง

ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยทำลายใบอ่อน ช่อดอก ก้านดอก และยอดอ่อน ระยะที่ทำความเสียหายให้มากที่สุด คือ ระยะที่มะม่วงกำลังออกดอกโดยดูดน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ทำให้แห้งและดอกร่วง ติดผลน้อย หรือ ไม่ติดเลย ระหว่างที่เพลี้ยจักจั่นมะม่วงดูดกินน้ำเลี้ยงจะถ่ายมูลมีลักษณะเป็นน้ำหวานเหนียว ๆ ติดตามใบ ช่อดอก ผล และรอบ ๆ ทรงพุ่ม ทำให้ใบมะม่วงเปียก ต่อมาจะเกิดราดำปกคลุม ถ้าเกิดมี ราดำปกคลุมมาก มีผลต่อการสังเคราะห์แสง ใบอ่อนที่ถูกดูดน้ำเลี้ยง (โดยเฉพาะระยะใบเพสลาด) จะบิดงอโค้งลงด้านใต้ใบจะมีอาการปลายใบแห้งให้สังเกตได้

 

 

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1. การตัดแต่งกิ่งภายหลังเก็บผลผลิต ช่วยลดที่หลบซ่อนของเพลี้ยจักจั่นมะม่วง ทำให้การพ่นสารฆ่าแมลงมีประสิทธิภาพดีขึ้น 2. ถ้าไม่มีการป้องกันกำจัด มะม่วงจะไม่ติดผลเลย จึงควรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงฟลูราดิฟูโรน 20% SL อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไดโนทีฟูแรน 10% SL อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อิมิดาโคลพริด 70% WG อัตรา 5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไพมีโทรซีน 50% WG อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ บูโพรเฟซิน 40% SC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟลอนิคามิด 50% WG อัตรา 4 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไทอะมีทอกแซม 25% WG อัตรา 2.5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อะซีทามิพริด 20% SP อัตรา 3 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่ว เมื่อสำรวจพบเพลี้ยจักจั่นมะม่วงมากกว่า 4 ตัวต่อช่อดอก และพ่นซ้ำตามความจำเป็น 3. การพ่นสารฆ่าแมลงให้มีประสิทธิภาพควรพ่นให้ทั่วถึงลำต้น มิเช่นนั้นตัวเต็มวัยจะเคลื่อนย้ายหลบซ่อนไปยังบริเวณที่พ่นสารฆ่าแมลงไม่ถึง นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงการปรับหัวฉีดให้เป็นละอองฝอย และระยะเวลาการพ่น 4. ใช้น้ำฉีดล้างช่อดอกและใบ เพื่อช่วยแก้ปัญหาช่อดอกและใบดำจากโรคราได้บ้าง ถ้าแรงอัดฉีดของน้ำแรงพอก็ช่วยให้ เพลี้ยจักจั่นมะม่วงในระยะตัวอ่อนกระเด็นออกจากช่อดอกได้ ต้องระมัดระวังอย่าให้กระแทกดอกมะม่วงแรงเกินไป เพราะอาจทำให้ดอกหรือผลที่เริ่มติดร่วงได้ 5. ใช้กับดักแสงไฟ ดักตัวเต็มวัยที่บินมาเล่นไฟ


ระวัง โรคราดำ (เชื้อรา Capnodium sp., Meliola sp.) ในมะม่วง
 
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า อากาศร้อนในตอนกลางวัน  เตือนผู้ปลูกมะม่วง ในระยะ  แทงช่อดอก – พัฒนาผล รับมือโรคราดำ (เชื้อรา Capnodium sp., Meliola sp.)

พบคราบราสีดำบนใบ กิ่ง ช่อดอก หรือผล ทำให้ดอกบานช้า หรือบานผิดปกติ หรือเหี่ยว และหลุดร่วง บางครั้งทำให้ไม่ติดผล ถ้าเป็นที่ผลอ่อนอาจทำให้ผลเหี่ยวและหลุดร่วง

 

 

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1. พ่นน้ำเปล่าล้างสารเหนียวที่แมลงปากดูดขับถ่ายไว้ และคราบราดำ เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรค 2. เนื่องจากเชื้อราเจริญบนสารเหนียวที่แมลงปากดูด เช่น เพลี้ยจักจั่นมะม่วง เพลี้ยหอย และเพลี้ยแป้งขับถ่ายไว้ จึงควรพ่นสารกำจัดแมลง ดังนี้ เพลี้ยจักจั่นมะม่วง ได้แก่ ฟลูไพราดิฟูโรน 20% SL อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไดโนทีฟูแรน 10% SL อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อิมิดาโคลพริด 70% WG อัตรา 5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไพมีโทรซีน 50% WG อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ บูโพรเฟซิน 40% SC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟลอนิคามิด 50% WG อัตรา 4 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไทอะมีทอกแซม 25% WG อัตรา 2.5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อะซีทามิพริด 20% SP อัตรา 3 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เพลี้ยหอย ได้แก่ มาลาไทออน 83% EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และเพลี้ยแป้ง ได้แก่ ไทอะมีทอกแซม 25% WG อัตรา 2.5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไดโนทีฟูแรน 10% WP อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร


ระวัง แมลงหวี่ขาวยาสูบ ในถั่วเหลือง
 
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า อากาศร้อนในตอนกลางวัน  เตือนผู้ปลูกถั่วเหลือง ในระยะ  ระยะการเจริญเติบโต ด้านลำต้น รับมือแมลงหวี่ขาวยาสูบ

ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดน้ำเลี้ยงจากฝัก ทำให้ฝักหดสั้น บิดเบี้ยว ผิวฝักย่น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผลผลิตของถั่วเหลืองลดลง

 

 

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

พ่นสารฆ่าแมลง อิมิดาโคลพริด 10% SL อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไตรอะโซฟอส 40% EC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ บูโพรเฟซิน 40% SL อัตรา 25 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไซแอนทรานิลิโพรล 10% OD อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ สไปโรเตตระแมท 15% OD อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์ 83.9% EC อัตรา 60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นสารฆ่าแมลงใต้ใบเมื่อพบแมลงหวี่ขาวระบาด พ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน


ระวัง หนอนม้วนใบ ในถั่วเหลือง
 
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า อากาศร้อนในตอนกลางวัน  เตือนผู้ปลูกถั่วเหลือง ในระยะ  ระยะการเจริญเติบโต ด้านลำต้น รับมือหนอนม้วนใบ

หนอนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆ จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ชักใยบางๆ คลุมตัวไว้ แล้วกัดกินผิวใบ เมื่อหนอนโตขึ้นจึงกระจายกันออกไปทั่วทั้งแปลง สร้างใยยึดใบพืชจากขอบใบของใบเดียวเข้าหากันหรือยึดใบมากกว่า 2 ใบ เข้าหากันแล้วอาศัยกัดกินอยู่ในห่อใบนั้นจนหมด แล้วเคลื่อนย้ายไปทำลายใบอื่นต่อไป

 

 

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

พ่นสารฆ่าแมลง แลมบ์ดาไซฮาโลทริน 2.5% EC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไตรอะโซฟอส 40% EC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อใบถูกทำลาย 30 เปอร์เซ็นต์


ระวัง เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง ในถั่วเหลือง
 
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า อากาศร้อนในตอนกลางวัน  เตือนผู้ปลูกถั่วเหลือง ในระยะ  ระยะการเจริญเติบโต ด้านลำต้น รับมือเพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง

ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดน้ำเลี้ยงจากฝัก ทำให้ฝักอ่อนที่ถูกทำลายบิดเบี้ยว ผลผลิตลดลงมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์

 

 

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

พ่นสารฆ่าแมลง แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% EC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไตรอะโซฟอส 40% EC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพบเพลี้ยอ่อนถั่วเหลืองระบาด พ่น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน


ระวัง หนอนกระทู้ผัก ในถั่วเหลือง
 
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า อากาศร้อนในตอนกลางวัน  เตือนผู้ปลูกถั่วเหลือง ในระยะ  ระยะการเจริญเติบโต ด้านลำต้น รับมือ หนอนกระทู้ผัก

เข้าทำลายตั้งแต่ถั่วเหลืองเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ จนถึงระยะออกดอกและติดฝัก หนอนที่ฟักออกมาจากไข่ใหม่ๆ จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม แทะผิวใบด้านล่าง ทำให้เหลือแต่เส้นใบ เมื่อผิวใบแห้งจะมองเห็นเป็นสีขาว เมื่อหนอนโตขึ้นจะแยกกลุ่มออกไปกัดกินใบทั่วทั้งแปลง โดยหนอนจะกัดกินจากขอบใบเข้าไป

 

 

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

พ่นเชื้อไวรัสของหนอนกระทู้ผัก อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง เมื่อพบการระบาด หรือ พ่นสารฆ่าแมลง แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% EC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไตรอะโซฟอส 40% EC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอร์ฟลูอาซูรอน 5% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อใบถูกทำลาย 30 เปอร์เซ็นต์


ระวัง โรคแอนแทรคโนส หรือโรคหอมเลื้อย หรือโรคหมานอน (เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides) Colletotrichum gloeosporioides ในหอมแดง, หอมหัวใหญ่
 
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า อากาศร้อนในตอนกลางวัน  เตือนผู้ปลูกหอมแดง, หอมหัวใหญ่ ในระยะ  ทุกระยะเจริญเติบโต รับมือโรคแอนแทรคโนส หรือโรคหอมเลื้อย หรือโรคหมานอน (เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides)

อาการของโรค พบได้บนใบ กาบใบ หรือ สวนหัว โดยเริ่มแรกพบจุดฉ่ำน้ำขนาดเล็ก ต่อมาขยายใหญ่เป็นแผลรูปกลมหรือรี เนื้อแผลยุบลงเล็กน้อย บนแผลมีหยดของเหลวสีชมพูอมส้มซึ่งเป็นกลุ่มสปอร์ของเชื้อราสาเหตุโรค เมื่อแห้งจะเห็นตุ่มเล็ก ๆ สีน้ำตาลดำเรียงเป็นวงซ้อนกันหลายชั้น ถ้าแผลขยายใหญ่หรือหลายแผลมาชนกันจะทำให้หักพับ แห้งตาย หรือเน่าตายทั้งต้น ทำให้ผลผลิตลดลง หากเป็นโรคในระยะที่ต้นหอมยังไม่ลงหัว จะทำให้ต้นแคระแกร็น ใบบิดเป็นเกลียว ถ้าอาการรุนแรงต้นจะเลื้อย ไม่ลงหัว หากเป็นโรคในระยะที่ต้นหอมเริ่มลงหัว จะทำให้หัวลีบยาว บิดโค้งงอ ส่วนกาบใบที่อยู่บริเวณเหนือหัวหอม (คอหอม) มักยืดยาว มีระบบรากสั้นกว่าปกติ ทำให้ไม่ได้ผลผลิต

 

 

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1. ก่อนปลูกควรไถตากดิน 2-3 แดด ใส่ ปูนขาว และปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อปรับสภาพดิน 2. ใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่ปราศจากโรค โดยแช่หัวพันธุ์ หรือต้นกล้าก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น โพรคลอราซ 50% WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร นาน 15 - 20 นาที 3. ตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบโรค พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น โพรคลอราช 50% WP อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อะซอกซีสโตรบิน 25% SC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไดฟีโนโคนาโซล 25% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์เบนดาซิม 50% SC อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไพราโคลสโตรบิน 25% EC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ชนิดใดชนิดหนึ่ง หากโรคยังคงระบาดควรพ่นซ้ำ ทุก 5 วัน แต่ไม่ควรเกิน 4 ครั้ง แล้วสลับพ่นด้วย แมนโคเซบ 80% WP อัตรา 40-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันการดื้อยาของเชื้อสาเหตุโรค 4. ต้นที่เป็นโรครุนแรง ควรถอนนำไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่ระบาดของโรค 5. หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ควรเก็บซากพืชที่เป็นโรคไปทำลายนอกแปลงปลูกให้หมด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อสาเหตุโรค 6. แปลงที่มีการระบาดของโรครุนแรง ควรปลูกพืชอื่นที่ไม่ใช่สกุลหอมกระเทียมสลับ อย่างน้อย 2 ปี


ระวัง โรคใบจุดสีม่วง (เชื้อรา Alternaria porri) ในหอมแดง, หอมหัวใหญ่, หอมแบ่ง, กระเทียม
 
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า อากาศร้อนในตอนกลางวัน  เตือนผู้ปลูกหอมแดง, หอมหัวใหญ่, หอมแบ่ง, กระเทียม ในระยะ  ทุกระยะการเจริญเติบโต รับมือโรคใบจุดสีม่วง (เชื้อรา Alternaria porri)

อาการเริ่มแรก พบจุดฉ่ำน้ำขนาดเล็ก รูปร่างกลมหรือรีบนใบ ซึ่งเมื่อแผลแห้งจะเปลี่ยนเป็นจุดแผลสีขาว ต่อมาแผลขยายออกตามความยาวของใบ มีลักษณะเป็นรูปไข่ เนื้อเยื่อยุบตัว แผลสีม่วงเข้มหรือสีน้ำตาลอมม่วง ตรงกลางซีดจางกว่าเล็กน้อย มีแถบสีขาว หรือสีเหลืองส้มล้อมรอบแผล ถ้าอากาศชื้นจะพบผงสปอร์สีดำของเชื้อราสาเหตุโรคบนแผล เมื่อมีหลายแผลขยายต่อกันจะทำให้ใบแห้ง ต้นโทรม ผลผลิตลดลง หากโรคระบาดรุนแรง ใบจะแห้งตายหมด ไม่ได้ผลผลิต หากเชื้อราเข้าทำลายที่ส่วนหัว จะทำให้หัวเน่าเก็บไว้ได้ไม่นาน

 

 

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1. ก่อนปลูกควรปรับปรุงดินให้มีสภาพเหมาะสมกับการปลูกหอมและกระเทียม โดยการใส่ปูนขาว ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์ 2. ใช้หัวพันธุ์ที่ปราศจากโรค โดยแช่หัวพันธุ์ หรือต้นกล้าก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น ไดฟีโนโคนาโซล 25% EC อัตรา 30 - 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไอโพรไดโอน 50% WP อัตรา 30 - 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร นาน 15 - 20 นาที 3. ตรวจแปลงปลูกสม่ำเสมอ เมื่อพบโรคพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น ไดฟีโนโคนาโซล 25% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไอโพรไดโอน 50% WP อัตรา 20 - 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ โพรคลอราซ 50% WP อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ชนิดใดชนิดหนึ่ง หากโรคยังคงระบาดควรพ่นซ้ำ ทุก 5 - 7 วัน แต่ไม่ควรเกิน 4 ครั้ง แล้วสลับพ่นด้วย แมนโคเซบ 80% WP อัตรา 40 - 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันการดื้อยาของเชื้อสาเหตุโรค 4. เก็บซากพืชที่เป็นโรคนำไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อสาเหตุโรค 5. ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค ควรปลูกพืชชนิดอื่นที่ไม่ใช่สกุลหอมกระเทียมสลับ


ระวัง แมลงวันผลไม้ ในพุทรา
 
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า อากาศร้อนในตอนกลางวัน  เตือนผู้ปลูกพุทรา ในระยะ  พัฒนาผล รับมือแมลงวันผลไม้

ตัวเต็มวัยวางไข่ในผล ตั้งแต่ระยะผลอ่อนไปจนกระทั่งผลสุก หนอนกัดกินชอนไชอยู่ภายในผลจนเป็นโพรง ทำให้ผลพุทราเน่า ร่วงหล่น เมื่อหนอนโตเต็มที่จะเจาะออกมาเข้าดักแด้ในดิน

 

 

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1. รักษาความสะอาดแปลงปลูกโดยเก็บผลที่เน่าเสียออกจากแปลง และนำไปฝังกลบที่ระดับความลึกจากหน้าดิน 15 ซม. หรือเผาเพื่อลดการสะสมและขยายพันธุ์ของแมลงวันผลไม้ในแปลงปลูก 2. ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง ลดการเกิดร่มเงาในทรงพุ่ม ทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้ และเอื้อให้ศัตรูธรรมชาติที่อาศัยอยู่ในแปลงปลูกมีบทบาทในการทำลายแมลงวันผลไม้ได้มากขึ้น 3. ห่อผลโดยใช้ถุงพลาสติกใสขนาด 5x9 นิ้ว ตัดมุมถุงด้านล่างขนาดไม่เกิน 4 มิลลิเมตร เพื่อระบายน้ำและอากาศ โดยเริ่มห่อผลพุทราที่อายุไม่เกิน 70 วัน หลังติดผล (กรณีพุทราจัมโบ้) 4. ติดกับดักโดยใช้สารล่อชนิดเมทธิลยูจินอล ผสมด้วยสารฆ่าแมลงมาลาไทออน 83% อีซี ในอัตรา 4:1 โดยปริมาตร หยดลงบนก้อนสำลี 3-5 หยด แขวนกับดักในทรงพุ่มสูงประมาณ 1 เมตร จำนวน 2 กับดัก ต่อพื้นที่ 1 ไร่ เพื่อสำรวจการระบาดของแมลงวันผลไม้ในแปลงปลูก และกำจัดตัวเต็มวัยเพศผู้ โดยถ้าพบปริมาณแมลงวันผลไม้เพิ่มมากขึ้นในกับดักโดยเฉพาะช่วงใกล้เก็บเกี่ยว ดำเนินการพ่นเหยื่อพิษโปรตีน 5. พ่นเหยื่อพิษโปรตีนไฮโดรไลเซท อัตราเหยื่อโปรตีน 200 มิลลิลิตร ผสมสารกำจัดแมลงมาลาไทออน 83% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 5 ลิตร เดินพ่นแบบเป็นจุด ต้นละ 4 จุด ทุก 7 วัน โดยพ่นเวลาเช้าตรู่ ซึ่งเป็นช่วงที่แมลงวันผลไม้ออกหาอาหาร

ตกลง