เริ่มปลูกจากถังสี สู่แปลงผักบนดาดฟ้า ก่อนขยายต่อเป็นธุรกิจเสริมยุคโควิด
18 พ.ค. 2564
219
0
เริ่มปลูกจากถังสี
เริ่มปลูกจากถังสี สู่แปลงผักบนดาดฟ้า ก่อนขยายต่อเป็นธุรกิจเสริมยุคโควิด

เริ่มปลูกจากถังสี สู่แปลงผักบนดาดฟ้า ก่อนขยายต่อเป็นธุรกิจเสริมยุคโควิด

ใครจะเชื่อว่าบนที่ดินทำเลทองย่านสาทร ซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารสูงเฉียดฟ้า ตึกรามบ้านช่อง รวมทั้งอพาร์ตเมนต์ ยังมีพื้นที่สีเขียวที่ไม่ใช่สวนสาธารณะ แต่เป็นแปลงผักสลัดออร์แกนิกบนดาดฟ้า ชื่อว่า Baanrim Rooftop Farm (บ้านริมรูฟท็อปฟาร์ม) ที่ได้รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกษ. จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งปลูกโดย คุณวี-วีรวรรณ กตัญญูวิวัฒน์ เจ้าของอพาร์ตเมนต์วัย 39 ปี ในอีกมุมหนึ่งเธอคือเจ้าของธุรกิจนำเข้าวัสดุก่อสร้าง และได้พี่ รปภ. กับเจ้าหน้าที่ธุรการซึ่งเก่งเรื่องเกษตรมากๆ มาช่วยดูแล ซึ่งจุดเริ่มต้นของแปลงผักบนดาดฟ้าแห่งนี้มาจากคุณอา ที่ชื่นชอบการปลูกผัก

เมื่อก่อนคุณอาปลูกผักสวนครัวไว้ที่ระเบียงของอพาร์ตเมนต์ใช้แค่ถังสี และกระบะเล็กๆ แต่ภายหลังคุณอาเสียชีวิต วีจึงเข้ามารับช่วงต่อ คุณพ่อของวีซึ่งทำธุรกิจก่อสร้างมาเห็นแปลงผักเลยเข้ามาช่วยขยายพื้นที่ไปบนดาดฟ้า เอานั่งร้านมาต่อเป็นกระบะผัก ทำระบบน้ำอัตโนมัติ และเปลี่ยนจากปลูกผักสวนครัวมาปลูกผักสลัดแทน เพราะรู้สึกว่าถ้าปลูกแล้วได้ทานสดๆ รสชาติจะอร่อยมาก ผลผลิตที่ได้ค่อนข้างมากจึงแบ่งให้คนในครอบครัวกิน ด้วยความสดใหม่ ทำให้หลายคนติดใจ และเอ่ยปากขอซื้อ กลายเป็นจุดเริ่มต้นให้เราทำเป็นธุรกิจเสริม ซึ่งได้พี่ รปภ. และเจ้าหน้าที่ธุรการเข้ามาช่วยดูแลผัก ทั้งสองคนนี้มีพื้นฐานด้านเกษตรมาก่อนจึงดูแลผักได้ดีมาก”

คุณวี เล่าว่า การปลูกผักสลัดไม่ใช่งานประจำของทุกคน “พี่ รปภ.ก็เป็น รปภ. ที่ดูแลรักษาความปลอดภัยของอพาร์ตเมนต์ พี่ธุรการก็มีงานประจำของเขา ส่วนคุณพ่อรับเหมาก่อสร้าง วีเองทำบริษัทที่แตกไลน์ออกมา ทำเกี่ยวกับนำเข้าวัสดุก่อสร้าง ถึงทุกคนจะมีงานประจำ แต่เราก็เจียดเวลามาทำตรงนี้ แต่ตอนนี้งานเราก็เพิ่มขึ้น เพราะเราปลูกผักหลายชนิด”

ดยพื้นที่ทั้งหมดที่ปลูกมีประมาณ 250-300 ตารางเมตร มีผักสลัดทั้งหมด 7 ชนิด คือ กรีนโอ๊ก เรดโอ๊ก เรดคอรัล คอส บัตเตอร์เฮด ฟิลเลย์ไอซ์เบิร์ก และผักสลัดแก้ว

“แต่ละอาทิตย์เราจะเวียนปลูกผักชนิดอื่นด้วย เช่น ผักคะน้า เห็ดหอม ผักโขมไทย แรดิช ผักเคลตัดใบขาย”

ในขั้นตอนการปลูก คุณวี อธิบายว่า “ผักหนึ่งต้นใช้เวลา 6 สัปดาห์ เริ่มแรกนำเมล็ดมาเพาะในตะกร้าโดยใช้ดินพีทมอสให้ขึ้นเป็นต้นเล็กๆ เลือกต้นที่แข็งแรงนำไปลงในถาดปลูกประมาณสองสัปดาห์จะได้ต้นอ่อนที่แข็งแรง จากนั้นค่อยเอาลงดินประมาณ 4 สัปดาห์ ในหนึ่งแปลงจะปลูกประมาณ 100 ต้น หากแปลงเล็กจะปลูก 80 ต้น ระบบน้ำที่เราทำอยู่เรียกว่าเทปน้ำหยดวางลงไปบนดิน และตัวพ่นหมอกเพื่อลดความร้อน 1 ชั่วโมงจะพ่นสองครั้งขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และช่วงเย็นจะให้น้ำหมักและรดน้ำอีกทีหากอากาศร้อนมาก ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ถึงเก็บขายได้ ส่วนใหญ่จะเก็บวันจันทร์ อังคาร พุธ โดยจะเก็บตามออร์เดอร์ที่ประกาศไว้บนเฟซบุ๊ก พยายามตัดแล้วส่งเลยเพื่อให้ผักมีความสดใหม่ ลูกค้าจะชอบตรงนี้ซึ่งเราพยายามรักษาสิ่งนี้ไว้”

ในการนำหน่าย “อพาร์ตเมนต์ซึ่งเป็นแปลงผักอยู่ที่สาทร ส่วนออฟฟิศอยู่ที่รัชดา จะมีรถวิ่งอยู่เรื่อยๆ โดยจะวิ่งส่งผักให้กับลูกค้าที่อยู่ตามรายทางที่รถวิ่ง ส่วนลูกค้าที่อยู่ไกลออกไปจะใช้บริการแมสเซนเจอร์ก็จะเสียค่าส่งที่แพงขึ้น”

 

“อย่างในช่วงนี้เกิดวิกฤตโควิด-19 ลูกค้าของเราซึ่งเป็นร้านอาหารที่ทำสลัดขายจะหายไปเลย เพราะเมนูสลัดเป็นอะไรที่ขายยาก แต่ว่าเราได้ยอดจากลูกค้าใหม่ที่สั่งดีลิเวอรี่เข้ามาเพิ่ม ชนิดผักที่ลูกค้าต้องการก็เปลี่ยนไปด้วย คนจะถามหาผักสวนครัวมากขึ้น ราคาจำหน่ายแพ็กเป็นถุง 250 กรัม ราคา 70 บาท 400 กรัม 100 บาท และ 600 กรัม 140 บาท”

ท้ายนี้ถามถึงการลงทุน กว่าจะเป็นแปลงผักบนดาดฟ้า เธอบอกว่า ค่อนข้างคำนวณยาก เพราะต่อเติมเรื่อยๆ

“อย่างนั่งร้านที่เราเอามาต่อเป็นกระบะ อันนี้เราใช้เศษวัสดุจากการก่อสร้าง ถ้าให้แนะนำให้คนที่อยากเริ่มต้นทำ ควรเริ่มที่ง่ายที่สุดก่อน ดินอาจจะยังไม่หมักเองไปซื้อมาก่อน ลองไม่ใช้สารเคมี แล้วค่อยๆ ปรับมาใช้น้ำหมัก หรือถ้าอยู่ตามคอนโดฯ ถ้าไม่ได้มีระบบน้ำหากปลูกเป็นผักสลัดอาจจะยาก อยากให้เริ่มเป็นผักสวนครัว

ตกลง