วันที่ 2 กันยายน 2567 เวลา 09.00 น.
นางณัฐธัญ กาหลง เกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ มอบหมายให้นางอรอุมา ศรีนุต หัวหน้ากลุ่มช่วยเหลือเกษตรกรและโครงการพิเศษ ร่วมรับฟัง Facebook Live กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ “สถานการณ์น้ำ และการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ (น้ำท่วม) ในพื้นที่ภาคเหนือ โดยมีนายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมสนทนา
ในการนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีมาตรการฟื้นฟูด้านการเกษตรหลังประสบอุทกภัย 8 มาตรการ ดังนี้
1. เร่งสำรวจพื้นที่เสียหาย เพื่อจ่ายเงินเยียวยาแก่เกษตรกรผู้ประสบภัย
2.จัดหน่วยเฉพาะกิจเคลื่อนที่เร็วให้ความช่วยเหลือ/คำปรึกษา ด้านพืช ปศุสัตว์ และประมง
3.เร่งระบายน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อไม่ให้เกิดปัญหานั้นเน่าเสีย
4.เร่งฟื้นฟูบำรุงดินไม่ให้เกิดปัญหาด้านการเพาะปลูก
5.กรมวิชาการเกษตร และกรมการข้าว เตรียมสนับสนุยเมล็ดพันธุ์พืชและเมล็ดพันธุ์ข้าวสำรองให้เกษตรกร
6.กรมปศุสัตว์เตรียมสำรองฟางข้าว หญ้า/พืชอาหารสัตว์ต่างๆ
7.กรมประมงเตรียมพันธุ์ปลาและสัตว์น้ำเพื่อแจกจ่ายแก่เกษตรกรผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่างๆ
8.กรมชลประทานเร่งสำรวจ และซ่อมแซมเครื่องมือเครื่องจักร อาคาร โรงเรือน ที่เกี่ยวข้องกับชลประทาน โดยให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูด้านน้ำด้วยการขับเคลื่อนของหน่วยปฏิบัติการ 76 โครงการในระดับพื้นที่ มีศูนย์เครื่องจักร เครื่องมืออีก 5,000 หน่วยทั่วประเทศ และผู้ประสบภัยสามารถโทรสายด่วน 1460 โดยมีเจ้าหน้าที่ของกรมชลประทาน คอยให้ความช่วยเหลือ
นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งศูนย์ติดตามพิบัติในระดับจังหวัด โดยมี ผตร.กษ.ที่ดูแลรับผิดชอบจังหวัดในเขตพื้นที่ เป็นประธานศูนย์ฯ ซึ่งทุกจังหวัด มีแผนป้องกัน แผนเผชิญเหตุ และแผนฟื้นฟู อยู่แล้ว
และเกษตรกรผู้ประสบภัยสามารถแจ้งปัญหาและขอรับความช่วยเหลือด้านการเกษตรผ่านศูนย์พิรุณราช ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ตั้งอยู่ในทุกอำเภอ ทุกจังหวัด