เตือนการระวัง ผีเสื้อมวนหวาน ในลองกอง ประจำเดือน กรกฎาคม 2567
17 ก.ค. 2567
3
0
เตือนการระวังผีเสื้อมวนหวานในลองกอง
เตือนการระวัง ผีเสื้อมวนหวาน ในลองกอง ประจำเดือน กรกฎาคม 2567

เตือนการระวัง ผีเสื้อมวนหวาน ในลองกอง

     สภาพอากาศในช่วงนี้มีฝนตกและฝนตกหนักบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกลองกอง ในระยะ ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต รับมือผีเสื้อมวนหวานเฉพาะตัวเต็มวัยของผีเสื้อมวนหวานจะเข้าทำลายช่วงผลลองกองสุก หรือใกล้สุก โดยใช้ปากที่แข็งแรงซึ่งขดม้วนอยู่ใต้ส่วนหัวแทงทะลุผ่านเปลือกผลลองกองเป็นรูเข้าไปดูดน้ำหวานของเนื้อผล แผลที่ถูกทำลายจะเป็นรู ขนาดเท่ารูเข็ม และมีน้ำหวานไหลออกมา เป็นสิ่งดึงดูดให้แมลงชนิดอื่นๆ เข้าไปทำลายซ้ำเติม หลังจากนั้นผลจะเน่าเสีย และร่วงหล่นในที่สุด
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
     1. ทำลายวัขพืชซึ่งเป็นพืชอาหารของผีเสื้อมวนหวานในระยะหนอน เช่น ย่านาง ข้าวสาร และบอระเพ็ด ที่อยู่บริเวณสวนหรือใกล้เคียง
     2. ใช้ไฟส่องจับตัวเต็มวัยในช่วงเวลา 20.00-22.00 น. เนื่องจากผีเสื้อมวนหวานออกหากินและทำลายผลไม้ในเวลากลางคืน
     3. ใช้เหยื่อพิษล่อตัวเต็มวัย โดยใช้ผลไม้สุกมีกลิ่นหอม เช่น กล้วย สับปะรด มะละกอ หรือลูกตาลสุก ตัดเป็นชิ้น หนาประมาณ 1 นิ้ว แล้วจุ่มในสารฆ่าแมลงคาร์บาริล 85% WP อัตรา 2 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร แช่ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที แล้วนำชิ้นผลไม้เหล่านั้นไปแขวนในสวนเป็นจุดๆ ห่างกันจุดละประมาณ 20 เมตร
     4. ใช้กรงดักจับผีเสื้อมวนหวาน ทำด้วยมุ้งลวด ด้านล่างเจาะทำเป็นกรวยรูปฝาชี ตั้งสูงจากพื้นดินประมาณ 20-30 เซนติเมตร ใช้ผลไม้สุกเป็นเหยื่อล่อที่ด้านล่าง ผีเสื้อมวนหวานที่ลงกินผลไม้เสร็จแล้วจะบินยกตัวขึ้นและเข้าไปติดในกรง

ที่มา กรมวิชาการเกษตร

ตกลง