กรมวิชาการเกษตรแจ้งเตือนภัย ช่วง วันที่ 7 - 13 สิงหาคม 2562
“โรคแคงเกอร์” พืชตระกูลส้ม (เช่น มะนาว มะกรูด ส้มโอ และส้มเขียวหวาน) ในระยะแตกใบอ่อน
เเคงเกอร์จะระบาดในสวน ในช่วงฤดูฝน
ใบ กิ่ง ต้น และผลของพืช ผิวเปลือกข้างนอกจะหนาขึ้น ทำให้ผิวแข็งขึ้น ลักษณะคล้ายเป็นแผลที่ตกสะเก็ด แคงเกอร์ ซึ่งเชื้อจะเข้าสู่พืชโดยตรง สามารถเข้าทำลายได้ทั้ง ใบ กิ่ง ต้น ที่เจริญเดิม หรือที่ยังอ่อนอยู่ แคงเกอร์เหมือนกับโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียทั่วไป โดยพายุฝนเป็นกลไกเริ่มต้นในการแพร่กระจายเชื้อไปในระยะใกล้และระยะปานกลาง ส่วนการระบาดระยะไกลส่วนมาก เกิดจากการเคลื่อนย้ายของต้นพันธุ์-ท่อนพันธุ์ โดยมนุษย์หรือเครื่องมือที่ปนเปื้อนด้วยโรคแคงเกอร์
ลักษณะอาการ :
ใบส้มและมะนาวแสดงอาการจุดนูน มีสีน้ำตาลเล็กๆ ล้อมรอบด้วยวงเหลือง พบทั้งสองด้านของใบ จุดเกิดกระจัดกระจายหรืออาจรวมกันท้าให้เป็นแผลกว้าง เนื้อเยื่อกลางจุดนูนสีนำ้ตาลจะหยาบ และมักบุ๋มตรงกลาง อาการที่ผลเห็นสีน้ำตาลเนื้อเยื่อกลางจุดมักแตกเป็นแอ่ง จุดแคงเกอร์บนผลที่เป็นโรคมากจะเชื่อมตัวกันเป็นแผลกว้างบนผลเชื้อแบคทีเรียเข้าทำลายกิ่งและลำต้น ท้ำให้เป็นจุดแตกนูนสีนำ้ตาลบนกิ่ง ต้นส้มที่เป็นโรคแคงเกอร์มากผลผลิตจะลดลง ส้มที่เป็นโรครุนแรง ได้แก่ มะนาว มะกรูด ส้มเขียวหวาน และส้มโอ
ลักษณะลำต้นที่เป็นเเคงเกอร์ ที่พบบนกิ่งมะนาว
การยับยั้งเชื้อโรค :
เมื่อปรากฎโรคแคงเกอร์ในพื้นที่เพาะปลูก วิธีกำจัดเชื้อแบคทีเรียในระยะเเรก ด้วยการตัดและทำลายต้นที่เป็นโรคเพื่อให้การกำจัด ได้ผลสำเร็จ จำใจต้องกำจัดแบบถอนราก ถอนโคน ต้นที่เป็นโรคต้องนำไปเผาทำลายไม่ให้เหลือ ในสวนที่มีการระบาดของโรคนี้ การวางแผนระยะยาวควรใช้การเขตกรรม (Cultural Practices) ร่วมด้วย เพื่อลดความรุนแรงของโรค พยายามหลีกเลี่ยงการทำงานในสวนที่เป็นโรค ในขณะที่ ต้นไม้เปียก เนื่องจากน้ำค้าง และละอองน้ำ ปลูดพืชแนวป้องกันลมเป็นหน้ากระดาน เพื่อลดความเร็วลม ทำให้โอกาสของแบคทีเรีย เข้าสู่ปากใบและบาดแผลบนใบลดน้อยลง
“แคงเกอร์” ถือว่าเป็นโรคที่ที่สร้างปัญหาสร้างความเสียหาย ให้กับเกษตรกรโอกาสขาดทุนมีสูงมาก หากไม่ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ถือได้ว่าเป็นโรค เพราะเป็นได้ทุกส่วนของต้น ยิ่งเป็นที่ผลของมะนาวด้วยแล้วจะทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำได้ จริงๆ แล้วโรคแคงเกอร์นั้นหากรู้หลักการดูแลอย่างถูกวิธีก็จะไม่เกิดโรคนี้ระบาดแน่นอน
1. คัดเลือกสายพันธุ์ปลูกจากแหล่งที่เชื่อถือได้ อีกหนึ่งทางเลือกในการป้องกันโรคแคงเกอร์
คัดเลือกกิ่งพันธุ์ ที่นำมาปลูกต้องไม่พบว่ามีโรคแคงเกอร์ติดมา เราควรศึกษาข้อมูล หรือสอบถามในกลุ่มเกษตรกรด้วยกัน ว่าซื้อกิ่งพันธุ์ มาจากสวนไหน แต่ให้เเน่ใจที่สุดควรไปดูให้ถึงสวน
2. หมั่นตรวจเช็คใบมะนาวหากพบร่องรอยหนอนชอนใบมาทำลาย เดาได้เลยว่าฤดูกาลผลิตนี้ พาหะนำเเคงเกอร์ มาเยี่ยมเยือนเเน่นอน ป้องกันด้วยการฉีดพ่น เชื้อราบิวเวอร์เรีย ป้องกันหนอนชอนใบ เเละแมลงต่างๆมารับกวน
3. หมั่นทำความสะอาดเครื่องมือทางการเกษตรอยู่เสมอ
ถึงแม้ว่า “แคงเกอร์ กับ พืชตระกูลมะนาว” เป็นของคู่กัน เเต่เราสามารถป้องกันได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งวิธีป้องกันจะง่ายกว่าการรรักษา เพียงหมั่นดูแลเเละใส่ใจกับผลผลิตเราสักนิด โรคเเคงเกอร์ ก็จะบรรเทา เบาบาง หรือ อาจจะไม่มาเยือนสวนเราเลยก็ได้