สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดปัตตานี จัดรายการวิทยุ “กระทรวงเกษตรฯ สรรหามาเล่า”
วันจันทร์ ที่ 7 ตุลาคม 2567 เวลา 08.10 น. นายฉลาด แก้วขาว เกษตรและสหกรณ์จังหวัดปัตตานี มอบหมายให้กลุ่มสารสนเทศการเกษตร จัดรายการวิทยุ “กระทรวงเกษตรฯ สรรหามาเล่า” โดยมีนางสาวอิศราภรณ์ กาฬสุวรรณ์ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดปัตตานี จากสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดปัตตานี นายอิห์ซาน บือราเฮง นักวิชาการเกษตรชำนาญการ จากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปัตตานี มาร่วมจัดรายการ โดยมีนางสาววาสนา สมสุข นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ จากสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดปัตตานี ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดปัตตานี คลื่น F.M. 101 MHz ซึ่งออกอากาศทุกวันจันทร์ เวลา 08.10–09.00 น. และไลฟ์สดทาง Facebook Live สวท.ปัตตานี F.M. 101
สำหรับในวันนี้ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดปัตตานี นำเสนอและประชาสัมพันธ์ข้อมูล “การสรรหาคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร” การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯจังหวัด เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการดำเนินงานด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรและการจัดการหนี้ของเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สนับสนุนการดำเนินงานด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เป็นเรื่องการส่งเสริมอาชีพ เช่น องค์กรเกษตรกร ยื่นเสนอโครงการเพื่อขอรับงบประมาณประเภทกู้ยืมเงิน ไม่มีดอกเบี้ย ในระยะเวลา 5 ปี คณะอนุกรรมการจังหวัดทำหน้าที่ร่วมกับสำนักงาน ในการตรวจสอบ กลั่นกรอง พัฒนาโครงการนั้นๆ เสนอต่อเลขาธิการในการอนุมัติงบประมาณ เมื่อองค์กรเกษตรกรได้รับงบประมาณแล้ว คณะอนุกรรมการจังหวัดทำหน้าที่ร่วมกับสำนักงานลงพื้นที่ติดตามและรายงานความก้าวหน้าของโครงการ หากพบปัญหาจะได้หาทางช่วยเหลือต่อไป
ในปีงบประมาณ 2567 สำนักงานได้รับอนุมัติงบประมาณ จำนวน 7 โครงการ เป็นประเภทโค จำนวน 6 โครงการ และพืชไร่ จำนวน 1 โครงการ รวมเป็นเงิน 2,670,000 บาท รวมกับโครงการที่ได้รับมาในปีงบประมาณก่อนนี้ จำนวน 4 โครงการสนับสนุนการดำเนินงานด้านการจัดการหนี้ของเกษตรกร เป็นเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สินให้เกษตรกรโดยคณะอนุกรรมการจังหวัดทำหน้าที่ร่วมกับสำนักงานเจรจาขอชำระหนี้แทนเกษตรกรกับสถาบันการเงิน (สหกรณ์การเกษตรกร) เกษตรกรมาเป็นลูกหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ ผ่อนชำระเงินกับกองทุนฟื้นฟูฯ ไม่มีดอกเบี้ย ในระยะเวลา 20 ปีเช่น ปี 2567 สำนักงานขออนุมัติงบประมาณจัดการหนี้ จำนวน 4 ราย ได้รับงบประมาณด้านการจัดการหนี้ จำนวน 1 ราย สถานะหนี้ผิดนัดชำระ เพราะว่าจัดการหนี้ตามความเร่งด่วน สถานหนี้ต้องดำเนินนคดีขึ้นไป
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปัตตานี นำเสนอและประชาสัมพันธ์ข้อมูล “ความสำคัญของการเลือกซื้อปุ๋ยที่ถูกกฎหมาย”สาเหตุของปัญหาคือ ความต้องการใช้ปุ๋ยมาก ปุ๋ยไม่เพียงพอจึงมีการสั่งปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศและนำมาผสมเพื่อจำหน่ายแก่เกษตรกร มีจำนวนมากขึ้นทุกปี แต่ปรากฏว่าปุ๋ยเคมีที่จำหน่ายในท้องตลาดนั้น มักจะมีปุ๋ยเคมีปลอม ปุ๋ยเคมีผิดมาตรฐาน ปุ๋ยเคมีเสื่อมคุณภาพ ทั้งน้ำหนักปุ๋ยเคมีก็น้อยกว่าที่แจ้งไว้ในฉลาก ปริมาณธาตุอาหารพืชไม่ถูกต้องครบถ้วนตามข้อความที่แจ้งไว้ในฉลาก เป็นการเอาเปรียบแก่เกษตรกรและหวังผลกำไรเกินควร โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายแก่ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ภาครัฐจึงแก้ปัญหาโดย ประกาศใช้พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม เป็นกฎหมายที่ควบคุมการผลิต การจำหน่าย และการนำปุ๋ยเคมีเข้ามาในประเทศให้เป็นไปโดยสุจริต รวมทั้งควบคุมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วย ให้ได้มาตรฐาน เพื่อรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ของเกษตรกรและภาคการเกษตร (ตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518) หมายถึง สารอินทรีย์/อินทรียสังเคราะห์/อนินทรีย์ หรือจุลินทรีย์ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หรือทำขึ้นก็ตาม สำหรับใช้เป็นธาตุอาหารพืชได้ไม่ว่าโดยวิธีใด หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี กายภาพ หรือชีวภาพในดินเพื่อบำรุงความเติบโตแก่พืชปุ๋ยที่ถูกควบคุมโดย พรบ.ปุ๋ย พ.ศ. 2518) มี 3 ประเภท ได้แก่ 1. ปุ๋ยเคมี 2. ปุ๋ยอินทรีย์ 3. ปุ๋ยชีวภาพ
พรบ.ปุ๋ย 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จะเป็นการห้ามมิให้ผู้ใดผลิตเพื่อการค้า ขาย นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านปุ๋ย เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา 12) หากฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ภาพ/ข่าว กลุ่มสารสนเทศการเกษตร สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดปัตตานี