สภาพอากาศในช่วงนี้มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกมะละกอ ในระยะ ทุกระยะ การเจริญเติบโต รับมือโรครากเน่า และโคนเน่า (เชื้อรา Pythium aphanidermatum, Phytophthora palmivora)อาการระยะต้นกล้า ส่วนของลำต้นบริเวณผิวดินมีลักษณะฉ่ำน้ำ ใบเหี่ยว ถ้าอาการรุนแรงบริเวณโคนต้นจะหักพับและตายในที่สุดอาการระยะต้นโต เริ่มแรกมะละกอแสดงอาการใบล่างเหลือง ก้านใบลู่ลงและหลุดร่วงได้ง่าย ใบที่อยู่ส่วนบนของต้นมีสีซีด ยอดอ่อนมีขนาดเล็กลง เมื่ออาการรุนแรงใบจะสลด เหี่ยว และหลุดร่วงเหลือแต่ใบยอด บางครั้งบริเวณโคนต้น พบแผลเน่าฉ่ำน้ำมีของเหลวสีน้ำตาลเยิ้มออกมา ต้นจะหักล้มพับได้ง่าย และตายในที่สุด เมื่อขุดดูพบรากแขนงเป็นสีน้ำตาลหลุดขาดได้ง่าย และรากแก้วเน่าเปื่อยแนวทางป้องกัน/แก้ไข1. แปลงปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี ไม่มีน้ำขัง2. ใช้ต้นกล้าจากแหล่งปลูกที่ไม่มีการระบาดของโรคนี้ และไม่มีร่องรอยการติดเชื้อ3. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบมะละกอเริ่มแสดงอาการของโรค รดดินบริเวณโคนต้นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น เมทาแลกซิล 25% WP อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% WP อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เมทาแลกซิล + แมนโคเซบ 4% + 64% WP อัตรา 30-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร4. หากพบต้นที่เป็นโรครุนแรง ควรขุดต้นที่เป็นโรค นำไปทำลายนอกแปลงปลูก แล้วโรยปูนขาว หรือรดดินด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ตามข้อ 3 ในหลุมที่ขุดและบริเวณใกล้เคียง เพื่อป้องกันการระบาดของโรค5. แปลงที่มีการระบาดของโรครุนแรง ควรเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นหมุนเวียน
ที่มา : สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร