เพลี้ยหอยเกล็ดทุเรียนจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากบริเวณใบ กิ่งตา และขั้วผล เมื่อมีการระบาดรุนแรงจะทำให้ส่วนต่างๆ ของพืชเหลืองหรือแห้งตาย การระบาดของเพลี้ยหอยเกล็ดทุเรียน มักมีการระบาดเป็นกลุ่มๆ เนื่องจาก แมลงชนิดนี้สามารถเคลื่อนที่ได้เฉพาะระยะตัวอ่อนวัยที่ ๑ เท่านั้น เมื่อมีการลอกคราบเพื่อเจริญเติบโตไปสู่วัยต่างๆ โดย คราบเก่าของวัยที่ ๑, ๒ และ ๓จะอยู่ด้านข้างของแผ่นปกคลุมลำตัวซึ่งจะขยายขนาดใหญ่ออก เรื่อยๆ ตามระยะการเจริญเติบโตของเพลี้ยหอยเกล็ดทุเรียน ดังนั้น เพลี้ยหอยเกล็ดทุเรียนจะปกคลุมทั่วทั้งใบ กิ่ง ตา และขั้วผล ทำให้ พืชไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
๑. หากพบเพลี้ยหอยเกล็ดทุเรียนเล็กน้อยให้ตัดส่วนที่ถูกทำลายเผาทิ้ง
๒. เมื่อพบเพลี้ยหอยเกล็ดทุเรียนปริมาณน้อยบนใบใช้น้ำ ผสมไวต์ออยล์ ๖๗% อีซี อัตรา ๒๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร พ่นให้ทั่วช่วยในการกำจัดเพลี้ยหอยเกล็ดทุเรียนได้ดี
๓. สารฆ่าแมลงที่ได้ผลในการควบคุมเพลี้ยหอยเกล็ด ทุเรียน คือ ไดโนทีฟูแรน ๑๐% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา ๑๕ กรัมต่อน้ า ๒๐ ลิตร โดยพ่นเฉพาะต้นที่พบเพลี้ยหอยเกล็ดทุเรียนเข้าทำลาย
ที่มา : สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร