เตือนภัยการผลิตพืช กรมวิชาการเกษตร ช่วงวันที่ 03/11/2564 ถึง 16/11/2564
8 พ.ย. 2564
144
0




 

เตือนภัยการผลิตพืช กรมวิชาการเกษตร

ช่วงวันที่ 03/11/2564 ถึง 16/11/2564


ระวัง ด้วงแรดมะพร้าว ในมะพร้าว
 
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นลง และมีฝนตกบางพื้นที่  เตือนผู้ปลูกมะพร้าว ในระยะ  ยังไม่ให้ผลผลิต ให้ผลผลิตแล้ว รับมือด้วงแรดมะพร้าว

ตัวเต็มวัยเข้าทำลายพืช โดยการบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางใบหรือยอดอ่อนของมะพร้าว รวมทั้งเจาะทำลายยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่ ทำให้ใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้วๆ คล้ายหางปลา หรือรูปพัด ถ้าโดนทำลายมากๆ จะทำให้ใบที่เกิดใหม่แคระแกรน รอยแผลที่ถูกด้วงแรดมะพร้าวกัดเป็นเนื้อเยื่ออ่อนทำให้ด้วงงวงมะพร้าวเข้ามาวางไข่ หรือเป็นทางให้เกิดยอดเน่า จนถึงต้นตายได้ในที่สุด ด้วงแรดมะพร้าวในระยะตัวหนอน ส่วนใหญ่พบตามพื้นดินในบริเวณที่มีการกองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก จะกัดกินและทำลายระบบรากของมะพร้าวปลูกใหม่ ทำให้พบอาการยอดเหี่ยวและแห้งเป็นสีน้ำตาล ต้นแคระแกรนไม่เจริญเติบโต

 

 

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1. วิธีเขตกรรม ทำความสะอาดบริเวณสวนมะพร้าวเพื่อกำจัดแหล่งขยายพันธุ์ เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดีมานาน ถ้ามีกองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก กองขยะ กองขี้เลื่อย แกลบ ควรกำจัดออกไปจากบริเวณสวน หรือกองให้เป็นที่ แล้วหมั่นกลับเพื่อตรวจดู หากพบหนอนให้จับมาทำลายหรือเผากองขยะนั้นเสีย ส่วนของลำต้นและตอมะพร้าวที่โค่นทิ้งไว้ หรือมะพร้าวที่ยืนต้นตายควรโค่นลงมาเผาทำลาย ต้นมะพร้าวที่ถูกตัดเพื่อปลูกทดแทน ถ้ายังสดอยู่เผาทำลายไม่ได้ ควรทอนออกเป็นท่อนสั้นๆ นำมารวมกันไว้ ปล่อยให้ผุสลายล่อให้ด้วงแรดมาวางไข่ ด้วงจะวางไข่ตามเปลือกมะพร้าวที่อยู่ติดกับพื้นดินเพราะมีความชุ่มชื้นสูงและผุเร็ว เผาทำลายท่อนมะพร้าวเพื่อกำจัดทั้งไข่ หนอน และดักแด้ของด้วงแรดมะพร้าว ตอมะพร้าวที่เหลือให้ใช้น้ำมันเครื่องใช้แล้วราดให้ทั่วตอเพื่อป้องกันการวางไข่ได้ 2. การใช้ชีววิธี ใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม (Metarhizium sp.) ใส่ไว้ตามกองขยะ กองปุ๋ยคอก หรือท่อนมะพร้าวที่มีหนอนด้วงแรดมะพร้าวอาศัยอยู่ เกลี่ยเชื้อให้กระจายทั่วกอง เพื่อให้เชื้อมีโอกาสสัมผัสกับตัวหนอนให้มากที่สุด รดน้ำให้ความชื้น หาวัสดุ เช่น ใบมะพร้าวคลุมกองไว้ เพื่อรักษาความชื้นและป้องกันแสงแดด เชื้อจะทำลายด้วงแรดมะพร้าวทุกระยะการเจริญเติบโต 3. การใช้สารเคมี 3.1 ต้นมะพร้าวอายุ 3 - 5 ปี ซึ่งยังไม่สูงมากนัก ใช้ลูกเหม็นใส่บริเวณคอมะพร้าวที่โคนทางใบรอบๆ ยอดอ่อน ทางละ 2 ลูก ต้นละ 6 - 8 ลูก กลิ่นของลูกเหม็นจะไล่ไม่ให้ด้วงแรดมะพร้าวบินเข้าไปทำลายคอมะพร้าว 3.2 ใช้สารฆ่าแมลงไดอะซินอน 60% EC อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ราดบริเวณคอมะพร้าวตั้งแต่โคนยอดอ่อนลงมาให้เปียก โดยใช้ปริมาณ 1- 1.5 ลิตรต่อต้น ทุก 15 - 20 วัน ควรใช้ 1 - 2 ครั้ง ในช่วงระบาด


ระวัง ด้วงงวงมะพร้าวชนิดเล็ก และด้วงงวงมะพร้าวชนิดใหญ่ ในมะพร้าว
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นลง และมีฝนตกบางพื้นที่  เตือนผู้ปลูกมะพร้าว ในระยะ  ยังไม่ให้ผลผลิต ให้ผลผลิตแล้ว รับมือด้วงงวงมะพร้าวชนิดเล็ก และด้วงงวงมะพร้าวชนิดใหญ่

มักทำลายตามรอยทำลายของด้วงแรดมะพร้าว โดยวางไข่บริเวณบาดแผลตามลำต้นหรือบริเวณที่ด้วงแรดมะพร้าวเจาะไว้ หรือบริเวณรอยแตกของเปลือก ด้วงงวงมะพร้าวก็สามารถเจาะส่วนที่อ่อนของมะพร้าวเพื่อวางไข่ได้ หนอนที่ฟักออกจากไข่จะกัดกินชอนไชไปในต้นมะพร้าว ทำให้เกิดแผลเน่าภายใน ต้นมะพร้าวที่ถูกทำลายจะแสดงอาการเฉาหรือยอดหักพับ เพราะบริเวณที่หนอนทำลายจะเป็นโพรง มีรูและแผลเน่าต่อเนื่องไปในบริเวณใกล้เคียง หนอนจะกัดกินไปจนกระทั่งต้นเป็นโพรงใหญ่ไม่สามารถส่งน้ำและอาหารไปถึงยอดได้ และทำให้ต้นมะพร้าวตายในที่สุด

 

 

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1. ต้นมะพร้าวที่ถูกด้วงงวงมะพร้าวชนิดใหญ่ทำลาย ควรตัดโค่นทอนเป็นท่อนแล้วผ่าจับหนอนทำลาย 2. ไม่ควรให้ต้นมะพร้าวเกิดแผลหรือปลูกโคนลอย เพราะจะเป็นช่องทางให้ด้วงงวงมะพร้าววางไข่ และตัวหนอนที่ฟักจากไข่จะเจาะเข้าทำลายในต้นมะพร้าวได้ หากลำต้นเป็นรอยแผล ควรทาด้วยน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ที่ใช้แล้ว หรือชันผสมกับน้ำมันยาง เพื่อป้องกันการวางไข่ 3. ป้องกันกำจัดด้วงแรดมะพร้าวอย่าให้ระบาดในสวนมะพร้าว เพราะรอยแผลที่ด้วงแรดมะพร้าวเจาะไว้จะเป็นช่องทางให้ด้วงงวงมะพร้าววางไข่ และเมื่อฟักออกเป็นตัวหนอนของด้วงงวงมะพร้าวก็จะเข้าไปทำลายในต้นมะพร้าวได้ง่ายขึ้น


ระวัง โรคแอนแทรคโนส หรือโรคกุ้งแห้ง (เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides, Colletotrichum capsici) Colletotrichum gloeosporioides, Colletotrichum capsici ในพริก
 
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นลง และมีฝนตกบางพื้นที่  เตือนผู้ปลูกพริก ในระยะ  ทุกระยะการเจริญเติบโต รับมือโรคแอนแทรคโนส หรือโรคกุ้งแห้ง (เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides, Colletotrichum capsici)

โรคนี้มักพบบนผลพริกที่เริ่มสุก หรือก่อนที่ผลพริกจะเปลี่ยนสี อาการเริ่มแรกเป็นจุดหรือแผลช้ำยุบตัวเล็กน้อย ต่อมาแผลขยายใหญ่ลักษณะเป็นวงรีหรือวงกลม บริเวณแผลพบส่วนของเชื้อราเป็นตุ่มสีดำขนาดเล็กเรียงเป็นวงซ้อนกัน ในสภาพที่อากาศชื้นจะเห็นเมือกเยิ้มสีส้มอ่อน ซึ่งเป็นกลุ่มสปอร์ของเชื้อราสาเหตุโรค ถ้าอาการรุนแรงจะทำให้ผลเน่า ผลพริกที่เป็นโรคนี้จะโค้งงอบิดเบี้ยวลักษณะคล้ายกุ้งแห้ง และร่วงก่อนเก็บเกี่ยว

 

 

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1. เลือกซื้อเมล็ดพันธุ์หรือต้นกล้าจากแหล่งที่ปราศจากโรค หรือถ้าเก็บเมล็ดพันธุ์เอง ต้องเลือกจากผลพริกที่ไม่เป็นโรค 2. ควรแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่นประมาณ 50 องศาเซลเซียส นาน 20-25 นาที ก่อนเพาะ 3. จัดระยะปลูกพริกให้เหมาะสม ไม่ปลูกชิดกันเกินไป และกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อไม่ให้แปลงปลูกมีความชื้นสูง ซึ่งเป็นสภาพที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค 4. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบผลพริกเป็นโรค เก็บนำไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรค 5. หากพบว่าเริ่มมีการระบาดของโรค พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่นอะซอกซีสโตรบิน 25% SC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แมนโคเซบ 80% WP อัตรา 40-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ โพรคลอราซ 50% WP อัตรา 20-30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7-10 วัน 6. ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรครุนแรงควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน เพื่อตัดวงจรของโรค


ระวัง ไรขาวพริก ในพริก
 
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นลง และมีฝนตกบางพื้นที่  เตือนผู้ปลูกพริก ในระยะ  ทุกระยะการเจริญเติบโต รับมือไรขาวพริก

ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ยอด และดอก ทำให้ใบและยอดหงิกงอ ขอบใบม้วนงอลงด้านล่าง ทำให้ใบมีลักษณะเรียวแหลม ก้านใบยาว เปราะหักง่าย อาการขั้นรุนแรงส่วนยอดจะแตกเป็นฝอย ถ้าทำลายดอก กลีบดอกจะบิดแคระแกร็น ชะงักการเกิดดอก หากระบาดรุนแรง ต้นพริกจะแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต มักพบระบาดในช่วงที่มีอากาศชื้น โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน

 

 

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1 สุ่มสำรวจพริกทุกสัปดาห์ หากพบอาการใบหงิกม้วนงอลงที่เกิดจากการทำลายของไรขาวพริก ให้ทำการป้องกันกำจัด 2. เมื่อพบการระบาดใช้สารฆ่าแมลง-ไร ที่มีประสิทธิภาพ เช่น อะมิทราซ 20% EC อัตรา 40-60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 10-20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไพริดาเบน 20% WP อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ สไปโรมีซิเฟน 24% SC อัตรา 8 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% EC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ กำมะถัน 80% WP อัตรา 60-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นซ้ำตามการระบาด


ระวัง หนอนเจาะฝักถั่ว ในถั่วเหลือง
 
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นลง และมีฝนตกบางพื้นที่  เตือนผู้ปลูกถั่วเหลือง ในระยะ  ระยะฝักเต็ม-ฝักแก่ รับมือหนอนเจาะฝักถั่ว

หนอนจะเจาะเข้าไปกัดกินเมล็ดที่อยู่ภายในฝักหลังจากฟักออกมาจากไข่ หนอนที่มีขนาดใหญ่สามารถย้ายไปกัดกินฝักอื่นๆ ได้ โดยชักใยดึงฝักมาติดกันแล้วเจาะเข้าไปกัดกินเมล็ดที่อยู่ภายในฝักใหม่ การเข้าทำลายของหนอนเจาะฝักถั่วทำให้ผลผลิตลดลงมากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์

 

 

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

พ่นสารฆ่าแมลง ไตรอะโซฟอส 40% EC อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน


ระวัง มวนถั่วเหลือง ในถั่วเหลือง
 
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นลง และมีฝนตกบางพื้นที่  เตือนผู้ปลูกถั่วเหลือง ในระยะ  ระยะฝักเต็ม-ฝักแก่ รับมือมวนถั่วเหลือง

ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของมวนถั่วเหลือง จะดูดน้ำเลี้ยงจากใบ ลำต้น ดอก และฝักของถั่วเหลือง ฝักอ่อนที่ถูกทำลายจะลีบ และร่วงหล่นทำให้ผลผลิตลดลง

 

 

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

พ่นสารฆ่าแมลง บูโพรเฟซิน 25% WP อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อิมิดาโคลพริด 70% WG อัตรา 2 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% CS อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไตรอะโซฟอส 40% EC อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพบตัวเต็มวัยของมวนถั่วเหลือง 2-3 ตัวต่อแถวถั่วยาว 1 เมตร


ระวัง โรคราน้ำค้าง (เชื้อรา Peronospora parasitica) Peronospora parasitica ในผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด (เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลีผักกาดขาว ผักกาดหัว ผักฮ่องเต้ ผักหางหงษ์ ผักกวางตุ้ง คะน้า เป็นต้น)
 
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นลง และมีฝนตกบางพื้นที่  เตือนผู้ปลูกผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด (เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลีผักกาดขาว ผักกาดหัว ผักฮ่องเต้ ผักหางหงษ์ ผักกวางตุ้ง คะน้า เป็นต้น) ในระยะ  ทุกระยะการเจริญเติบโต รับมือโรคราน้ำค้าง (เชื้อรา Peronospora parasitica)

พบโรคนี้ได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช ถ้าเป็นโรคในระยะกล้า ใบเลี้ยงจะเกิดจุดแผลสีน้ำตาลทำให้ลำต้นเน่า หรือแคระแกร็น ถ้าเป็นโรคในระยะต้นโต จะพบอาการเริ่มแรกบริเวณด้านบนใบลักษณะเป็นจุดแผลสีเหลือง หรืออาจเป็นปื้นๆ สีเหลือง ถ้าสภาพอากาศชื้นโดยเฉพาะตอนเช้าเมื่อพลิกดูด้านใต้ใบมักจะพบเส้นใยเชื้อราสีขาว หรือเทาคล้ายปุยฝ้าย ถ้าโรคระบาดรุนแรงแผลจะลามขยายใหญ่ทำให้เนื้อใบเป็นสีน้ำตาล และแห้งตาย *** ในกะหล่ำดอกและบรอกโคลี ถ้าเชื้อเข้าทำลายรุนแรงก้านดอกจะยืดและดอกอาจจะบิดเบี้ยวเสียรูปทรง

 

 

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากเชื้อสาเหตุโรค โดยแช่ในน้ำอุ่น อุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส (ต้มน้ำจนเดือดแล้วเติมน้ำลงไป 1 เท่า) นาน 20 – 30 นาที หรือคลุกด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมทาแลกซิล 35% DS อัตรา 10 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม ก่อนปลูก 2. ควรปลูกพืชให้มีระยะห่างพอสมควร ไม่เบียดแน่นจนเกินไป 3. เมื่อพบโรคเริ่มระบาด ควรพ่นด้วยสาร เมทาแลกซิล 25% WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไดเมโทมอร์ฟ 50% WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แมนโคเซบ 80% WP อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แมนโคเซบ + เมทาแลกซิล-เอ็ม 64% +4% WG อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% WP อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นให้ทั่วทั้งด้านบนใบและใต้ใบ ทุก 5-7 วัน 4. หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ควรเก็บเศษซากพืชไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก 5. ควรหลีกเลี่ยงการปลูกพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาดซ้ำในแปลงเดิม และควรปลูกพืชหมุนเวียน


ระวัง โรคราน้ำค้าง (เชื้อรา Peronosclerospora sorghi) Peronosclerospora sorghi ในข้าวโพด (ข้าวโพดฝักสด,ข้าวโพดหวาน, ข้าวโพดเทียน, ข้าวโพดข้าวเหนียว)
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นลง และมีฝนตกบางพื้นที่  เตือนผู้ปลูกข้าวโพด (ข้าวโพดฝักสด,ข้าวโพดหวาน, ข้าวโพดเทียน, ข้าวโพดข้าวเหนียว) ในระยะ  ระยะเริ่มปลูกถึงอายุประมาณ ๓๐ วัน รับมือโรคราน้ำค้าง (เชื้อรา Peronosclerospora sorghi)

โรคเกิดได้ตั้งแต่ข้าวโพดเริ่มงอก โดยพบจุดเล็ก ๆ สีเขียวฉ่ำน้ำบนใบอ่อน ต่อมาใบข้าวโพดมีสีเหลืองซีดโดยเฉพาะบริเวณยอด หรือใบลายเป็นทางสีเขียวอ่อนสลับเขียวแก่ ในเวลาเช้าที่มีอากาศค่อนข้างเย็นและความชื้นสูง มักพบส่วนของเชื้อรา ลักษณะเป็นผงสีขาวจำนวนมากด้านใต้ใบ บางครั้งพบยอดข้าวโพดแตกเป็นพุ่ม ต้นแคระแกร็น ข้อถี่ ไม่มีฝัก หรือมีฝักขนาดเล็ก ก้านฝักมีความยาวมาก หรือมีจำนวนฝักมากกว่าปกติ แต่จะไม่สมบูรณ์ เช่น มีเมล็ดจำนวนน้อย หรือไม่มีเมล็ดเลย **** ข้าวโพดในระยะเริ่มปลูกถึงอายุประมาณ 30 วัน จะอ่อนแอต่อโรคนี้มาก

 

 

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1. ควรใช้พันธุ์ต้านทาน และคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เมทาแลกซิล 35% DS อัตรา 7-10 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม หรือ เมทาแลกซิล-เอ็ม 35% ES อัตรา 3.5 มิลลิลิตรต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม หรือ ไดเมโทมอร์ฟ 50% WP อัตรา 30 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม 2. ในแหล่งที่เคยมีการระบาดของโรคหากพบว่า มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการเกิดโรค คือ อุณหภูมิต่ำและความชื้นสูง เมื่อข้าวโพดอายุ 5-7 วัน ควรพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช ไดเมโทมอร์ฟ 50% WP อัตรา 20-30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เมทาแลกซิล 25% WP อัตรา 30-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน จำนวน 3-4 ครั้ง 3. ถอนต้นที่แสดงอาการของโรคนำไปทำลายนอกแปลงปลูก 4. พื้นที่ที่มีการระบาดของโรคควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน **** เชื้อสาเหตุโรคสามารถเข้าทำลายได้ตั้งแต่ข้าวโพดเริ่มงอก ซึ่งการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช หลังจากข้าวโพด อายุ 20 วันขึ้นไป จะไม่สามารถป้องกันกำจัดโรคนี้ได้


ระวัง หนอนหน้าแมว ในปาล์มน้ำมัน
 
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นลง และมีฝนตกบางพื้นที่  เตือนผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ในระยะ  ทุกระยะการเจริญเติบโต รับมือหนอนหน้าแมว

หนอนหน้าแมวจะกัดเข้าทำลายใบปาล์มน้ำมัน หนอนวัยเล็กจะกัดกินผิวใบ เมื่อหนอนโตขึ้นจะกัดกินจนใบขาด ถ้าระบาดรุนแรง ใบจะถูกกัดจนเหลือแต่ก้านใบ ทำให้ผลผลิตลดลง ต้นชะงักการเจริญเติบโต และใช้เวลานานกว่าที่ต้นจะฟื้นตัว ถ้าเกิดการระบาดในแต่ละครั้ง จะใช้เวลาในการกำจัดนาน เนื่องจากหนอนหน้าแมวมีหลายระยะในเวลาเดียวกัน เช่น ระยะหนอนและระยะดักแด้ ทำให้ไม่สามารถกำจัดให้หมดในเวลาเดียวกันได้

 

 

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1. การใช้วิธีกล 1.1 ตัดใบย่อยที่มีหนอนหน้าแมว หรือจับผีเสื้อ ซึ่งเกาะนิ่งในเวลากลางวันตามใต้ทางใบปาล์มน้ำมัน หรือเก็บดักแด้ตามใบ และซอกโคนทางใบรอบต้นมาทำลาย 1.2 ใช้กับดักแสงไฟ โดยใช้แสงไฟ black light หรือ หลอดนีออนธรรมดา วางบนกะละมังพลาสติก ซึ่งบรรจุน้ำผสมผงซักฟอก ให้หลอดไฟอยู่เหนือน้ำประมาณ 5-10 เซนติเมตร วางล่อผีเสื้อช่วงเวลา 18.00-19.00 น. ซึ่งสามารถช่วยกำจัดการขยายพันธุ์ในรุ่นต่อไปได้ 2. การใช้ชีววิธี พ่นแบคทีเรีย บาซิลลัส ทูริงเยนซิส (Bacillus thuringiensis) อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ซึ่งเชื้อแบคทีเรียนี้สามารถทำลายกลุ่มหนอนผีเสื้อทำลายปาล์มน้ำมัน และไม่เป็นอันตรายต่อแมลงที่มีประโยชน์ 3. การใช้สารเคมี เริ่มพ่นสารฆ่าแมลงเมื่อพบหนอนเข้าทำลายบริเวณผิวใบ เฉลี่ย 20 ตัวต่อทางใบ สารฆ่าแมลงที่ใช้ คือ คาร์บาริล 85% WP อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% EC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร 4. การใช้วิธีผสมผสาน 4.1 การใช้กับดักแสงไฟล่อผีเสื้อในช่วงที่ดักแด้กำลังออกเป็นผีเสื้อ สลับกับการใช้สารฆ่าแมลงหรือเชื้อแบคทีเรีย ในช่วงเป็นหนอนวัยเล็ก 4.2 การใช้เชื้อแบคทีเรียสลับกับการใช้สารฆ่าแมลง


ระวัง โรคเหี่ยวหรือเหง้าเน่า (เชื้อแบคทีเรียRalstonia solanacearum) ในขิง
 
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นลง และมีฝนตกบางพื้นที่  เตือนผู้ปลูกขิง ในระยะ  ทุกระยะ การเจริญเติบโต รับมือโรคเหี่ยวหรือเหง้าเน่า (เชื้อแบคทีเรียRalstonia solanacearum)

อาการเริ่มแรก ใบแสดงอาการม้วนห่อ สีของใบซีดต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแห้ง บริเวณโคนต้นมีอาการฉ่ำน้ำ ลำต้นเน่าหลุดออกจากเหง้าได้ง่ายและหักพับ แต่ไม่มีกลิ่นเหม็น หากตรวจดูที่ลำต้นจะพบส่วนของท่อลำเลียงน้ำและอาหารมีสีน้ำตาลเข้ม เมื่อนำต้นมาตัดตามขวางแช่ในน้ำสะอาด ประมาณ 5-10 นาที จะเห็นของเหลวสีขาวคล้ายน้ำนมไหลออกมา

 

 

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1. ควรเลือกพื้นที่ปลูกที่ไม่เคยมีการระบาดของโรคนี้มาก่อน และมีการระบายน้ำที่ดี 2. ไถพรวนดินให้ลึกเกินกว่า 20 เซนติเมตร จากผิวดินและตากดินไว้นานกว่า 2 สัปดาห์ จะช่วยลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรคในดินลงได้มาก 3. พื้นที่ที่เคยมีการระบาดของโรค ควรอบดินเพื่อฆ่าเชื้อโรค โดยใช้ยูเรียผสมปูนขาว อัตรา 80 : 800 กิโลกรัมต่อไร่ จากนั้นไถกลบและรดน้ำให้ดินมีความชื้น ทิ้งไว้ 3 สัปดาห์ จึงเริ่มปลูกพืช 4. ใช้หัวพันธุ์ปลอดโรค 5. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นที่แสดงอาการของโรค ให้ขุดต้นที่เป็นโรค นำไปทำลายนอกแปลงปลูกทันที และโรยปูนขาวบริเวณหลุมที่ขุด เพื่อป้องกันการระบาดของโรค 6. ในแปลงที่มีการระบาดของโรค หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว นำส่วนต่างๆ ของพืชที่เป็นโรคไปทำลายนอกแปลงปลูก 7. ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค ไม่ควรปลูกพืชอาศัยของเชื้อสาเหตุโรค เช่น พืชตระกูลขิง พืชตระกูลมะเขือ มันฝรั่ง พริก และถั่วลิสง ให้สลับปลูกพืชชนิดอื่นที่ไม่ใช่พืชอาศัย เช่น ข้าว ข้าวโพด และมันสำปะหลัง เพื่อตัดวงจรของโรค


ระวัง โรคเหี่ยวหรือเหง้าเน่า (เชื้อแบคทีเรียRalstonia solanacearum) ในกระชาย
 
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นลง และมีฝนตกบางพื้นที่  เตือนผู้ปลูกกระชาย ในระยะ  ระยะเจริญเติบโต รับมือโรคเหี่ยวหรือเหง้าเน่า (เชื้อแบคทีเรียRalstonia solanacearum)

อาการเริ่มแรก ใบแสดงอาการม้วนห่อ สีของใบซีดต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแห้ง บริเวณโคนต้นมีอาการฉ่ำน้ำ ลำต้นเน่าหลุดออกจากเหง้าได้ง่ายและหักพับ แต่ไม่มีกลิ่นเหม็น หากตรวจดูที่ลำต้นจะพบส่วนของท่อลำเลียงน้ำและอาหารมีสีน้ำตาลเข้ม เมื่อนำต้นมาตัดตามขวางแช่ในน้ำสะอาดประมาณ 5-10 นาที จะเห็นของเหลวสีขาวคล้ายน้ำนมไหลออกมา

 

 

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1. ควรเลือกพื้นที่ปลูกที่ไม่เคยมีการระบาดของโรคนี้มาก่อน และมีการระบายน้ำที่ดี 2. ไถพรวนดินให้ลึกเกินกว่า 20 เซนติเมตร จากผิวดินและตากดินไว้นานกว่า 2 สัปดาห์ จะช่วยลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรคในดินลงได้มาก 3. พื้นที่ที่เคยมีการระบาดของโรค ควรอบดินเพื่อฆ่าเชื้อโรค โดยใช้ยูเรียผสมปูนขาว อัตรา 80 : 800 กิโลกรัมต่อไร่ จากนั้นไถกลบและรดน้ำให้ดินมีความชื้น ทิ้งไว้ 3 สัปดาห์ จึงเริ่มปลูกพืช 4. ใช้หัวพันธุ์ปลอดโรค 5. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นที่แสดงอาการของโรค ให้ขุดต้นที่เป็นโรค นำไปทำลายนอกแปลงปลูกทันที และโรยปูนขาวบริเวณหลุมที่ขุด เพื่อป้องกันการระบาดของโรค 6. ในแปลงที่มีการระบาดของโรค หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว นำส่วนต่าง ๆ ของพืชที่เป็นโรคไปทำลายนอกแปลงปลูก 7. ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค ไม่ควรปลูกพืชอาศัยของเชื้อสาเหตุโรค เช่น พืชตระกูลขิง พืชตระกูลมะเขือ มันฝรั่ง พริก และถั่วลิสง ให้สลับปลูกพืชชนิดอื่นที่ไม่ใช่พืชอาศัย เช่น ข้าว ข้าวโพด และมันสำปะหลัง เพื่อตัดวงจรของโรค



 
ตกลง