อะโวคาโด เทคนิคการปลูกให้ได้ผลผลิตดี
8 ต.ค. 2563
1,433
0
อะโวคาโด เทคนิคการปลูกให้ได้ผลผลิตดี
อะโวคาโด เทคนิคการปลูกให้ได้ผลผลิตดี

อะโวคาโด หรือ ลูกเนย  Avocado เป็นผลไม้ที่มีเนื้อมันเป็นเนย เป็นต้นไม้พื้นเมืองของประเทศเม็กซิโก จัดเป็นพืชดอกในวงศ์ Lauraceae ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกับอบเชย เเละกระวาน  ผลของอะโวคาโดมีรูปทรงคล้ายสาลี่ รูปไข่ หรือรูปกลม มิชชันนารีชาวอเมริกันนำมาปลูกในประเทศไทยครั้งแรกที่จังหวัดน่าน ต่อจากนั้นจึงมีหน่วยงานต่าง ๆ นำอะโวคาโดมาปลูกมากขึ้น อะโวคาโดเป็นไม้ยืนต้น ต้นโตเต็มที่สูงถึง 18 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อน ผิวขรุขระ ใบสีเขียวสด ดอกขนาดเล็ก สีเขียวอมเหลือง ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งผลกลมรีหรือทรงลูกแพร์ มีทั้งพันธุ์เปลือกหนาและเปลือกบาง เนื้อมีตั้งแต่เหลืองอ่อนจนถึงเหลืองเข้ม รสมัน เนื้อละเอียด ไม่มีกลิ่น มีเมล็ดเดียว มีรกหุ้มเมล็ด

สายพันธุ์อะโวคาโดที่นิยมปลูก

1. พันธุ์แฮส  (Hass) ใบแหลมเรียว  ใบออกห่าง ๆ กัน  ผลรูปแพร์  ผิวขรุขระมาก  ผิวสีเขียวเข้ม  เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ  ผลมีขนาดเล็กน้ำหนักประมาณ  200-300  กรัม  เนื้อสีเหลือง  เมล็ดเล็กถึงขนาดกลาง เปลือกผลค่อนข้างหนา ทนทานต่อการขนส่ง พันธุ์นี้ยังมีข้อดีอีกประการคือ เมื่อผลแก่แล้ว ก็ยังสามารถเลี้ยงอยู่บนต้นได้อีกนานหลายเดือน  ช่วงเก็บเกี่ยวผลเดือนธันวาคม- กุมภาพันธ์  มีไขมันสูงมาก คือ ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์เป็นพันธุ์การค้าอันดับ 1 ของโลก  พันธุ์นี้ผลมีราคาแพงมากที่สุด  แต่ให้ผลดีในที่อากาศเย็น พื้นที่ปลูกที่เหมาะสมควรสูงจากระดับน้ำทะเล 600 เมตรขึ้นไป ระยะปลูกที่แนะนำคือ 8×8 เมตร

 

2. บูช 7  (Booth-7) ใบใหญ่เป็นมัน  ผลค่อนข้างกลมป้านขนาดประมาณ 3 ผลต่อกิโลกรัม ผิวผลค่อนข้างขรุขระ      สีเขียว  เปลือกหนา เนื้อสีเหลืองอ่อน เมล็ดขนาดกลาง  เมื่อสุกผลมักจะตกกระ มีไขมัน  7-14  เปอร์เซ็นต์  ช่วงเก็บเกี่ยวผลประมาณวันที่ ตุลาคม ถึง ธันวาคม พันธุ์นี้ให้ผลผลิตดก ลำต้นขนาดใหญ่ ค่อนข้างทนต่อโรคแต่ผลรสชาติปานกลาง

 

3. ปีเตอร์สัน  (Peterson) เป็นพันธุ์เบา ให้ผลผลิตก่อนพันธุ์อื่น ๆ คือประมาณเดือนมิถุนายน ถึง กรกฎาคม ลักษณะผล กลม ใบเรียงซ้อนกันถี่ ๆ และเป็นมัน ใบอ่อนสีแดง ผลมีลักษณะกลม

เทคนิคการปลูกอะโวคาโดให้ได้ผลผลิตดี

1. การเตรียมดิน 

ต้องจัดเตรียมต้นกล้าอะโวคาโดไว้ก่อนล่วงหน้า โดยคัดเลือกต้นกล้าที่แข็งแรงสมบูรณ์และได้ขนาด เมื่อปลูกให้นำต้น    อะโวคาโดลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ให้รอยต่อกิ่งหรือรอยแผลติดตาอยู่เหนือระดับดิน กลบดินรอบๆโคนต้นให้แน่นและรดน้ำให้ชุ่ม แล้วทำการคลุมผิวหน้าดินด้วยวัตถุคลุมดินที่เตรียมไว้เพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้น ป้องกันเมล็ดวัชพืชงอก เเละป้องกันความร้อนจากแสงแดด ปักไม้หลักผูกเชือกยึดติดแน่นป้องกันลม รดน้ำให้สม่ำเสมอจนกว่าต้นจะตั้งตัวได้ ทั้งนี้อาจจะให้น้ำครั้งละ 20-40 ลิตรต่อต้น ทุก 3-4 วันในระยะ 1 เดือนแรก ถ้าฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานานก็ควรให้น้ำแก่ต้นอะโวคาโดเรื่อยๆเพื่อป้องกันต้นแห้งตาย สำหรับในช่วงฤดูร้อนของปีแรกหลังจากหมดฤดูฝนแล้วควรให้น้ำแก่ต้นอะโวคาโดทุกสัปดาห์ๆละ 40-60 ลิตรต่อต้น จนกว่าต้นอะโวคาโดจะมีอายุ 1 ปีหลังจากปลูก

อะโวคาโด-02

อะโวคาโด-03

2.การใส่ปุ๋ย

หลังจากปลูกอะโวคาโดได้ 1 เดือน โดยใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแตสเซียมอัตราส่วน 3:1:1 ทั้งนี้อาจให้โดยใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ผสมกับยูเรีย (46-0-0) อัตราส่วน 1:1 คลุกเคล้ากันให้เข้ากันแล้วใส่ต้นละ 200 กรัม แบ่งใส่ประมาณ  3 ครั้งต่อปี ทุก 3 เดือน ปีที่ 2 จะใส่ปุ๋ยผสมดังกล่าวข้างต้นในอัตรา 300 กรัม แบ่งใส่ประมาณ 4 ครั้งต่อปี เมื่อต้นอะโวคาโดอายุได้ 3 ปี จะเริ่มให้ผลผลิต ปริมาณการใส่ปุ๋ยต่อต้นจะเพิ่มขึ้นตามการให้ผลและปุ๋ยที่ใช้ควรเปลี่ยนไปใช้ปุ๋ยดังนี้       

ในระยะต้นปีที่ 3 จะใส่ปุ๋ยเหมือนปีที่ 2 แต่ปริมาณปุ๋ยเพิ่มขึ้นเป็นต้นละ 400 กรัม ใส่ 2 ครั้งในช่วงต้นฤดูฝนและกลางฤดูฝน พอถึงปลายฤดูฝนราวๆเดือนตุลาคม จะเปลี่ยนเป็นปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสหรือโพแตสเซียมสูง เช่น 8-24-24 หรือ 9-24-24 ในดินร่วนปนทรายหรือดินทราย ส่วนดินร่วนเหนียวควรใช้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 500 กรัมต่อต้น เพื่อให้ต้นอะโวคาโดออกดอกดีและเมื่อติดผลแล้วจึงใส่ปุ๋ยอัตราส่วน 3:1:1 ใหม่ เพื่อให้ผลเจริญเติบโตดีและติดผลได้มากขึ้นโดยอาจใส่ปุ๋ยยูเรียผสมปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตราส่วน 1:1 เพิ่มขึ้นอีกต้นละ 500 กรัม ในปีต่อๆไปอาจใช้วิธีวัดระยะจากโคนต้นไปยังรอบทรงพุ่มเป็นว่ากว้างกี่เมตรซึ่งจะสามารถคำนวณปริมาณการให้ปุ๋ยเท่ากับจำนวนกี่กิโลกรัมของการให้ปุ๋ยในต้นอะโวคาโดที่ใส่ให้ในแต่ละปีก็ได้ ควรมีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้กับต้นอะโวคาโดทุกปี โดยใช้วิธีหว่านคลุมต้นและปล่อยให้ย่อยสลายตัวเอง

3.การให้น้ำ

ในระยะที่ปลูกอะโวคาโดใหม่ๆ ควรให้น้ำแก่ต้นอะโวคาโดเพื่อให้ต้นเจริญเติบโตและมีรากแผ่กระจายโดยควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ดินชุ่มแต่อย่าให้น้ำขัง เพราะจะทำให้รากเน่าต้นตายได้ สำหรับแปลงปลูกที่มีระบบการให้น้ำจากชลประทานไม่จำเป็นต้องให้ทุกวัน โดยต้นอะโวคาโดปลูกใหม่ต้องการน้ำวันละประมาณ 15 ลิตรต่อต้น ถ้าให้เว้นวันอาจให้ครั้งละ 30 ลิตรต่อต้น เมื่อต้นโตขึ้นปริมาณความต้องการน้ำจะมากขึ้น อาจเลือกวิธีการให้น้ำเป็นระบบน้ำหยดหรือมินิสปริงเกอร์บริเวณโคนต้นก็ได้ แล้วแต่ละพื้นที่ปลูกและเงินลงทุน เมื่อต้นอะโวคาโดถึงระยะที่จะออกดอกควรงดให้น้ำแก่อะโวคาโด แต่โดยปกติแล้วเป็นช่วงที่สิ้นสุดฤดูฝนและเข้าฤดูหนาว  โดยสังเกตได้จากการเกิดตาดอกที่ยอด ซึ่งจะมีลักษณะตุ่มตาป้านกลมและช่อดอกจะเริ่มเจริญออกมา จึงเริ่มให้น้ำใหม่

4. การจัดทรงต้นเเละตัดเเต่งกิ่งอะโวคาโด

ไม่มีระบบการจัดทรงต้นและตัดแต่งกิ่งที่แน่นอน ต้นอะโวคาโดที่ปลูกใหม่จนถึงระยะก่อนออกดอกและติดผลจะตัดแต่งกิ่งเพียงเล็กน้อยหรือแทบไม่ต้องตัดแต่งกิ่งเลย ยกเว้นตัดแต่งกิ่งเพื่อเปลี่ยนแปลงลักษณะพุ่มต้น เช่น อะโวคาโดพันธุ์ที่มีพุ่มสูงมักจะตัดยอดลงเพื่อให้แตกกิ่งใหม่เป็นพุ่มแผ่กว้างออก

อะโวคาโด-04

อะโวคาโด-05

5. การเก็บเกี่ยว

การเก็บเกี่ยวก่อนการเก็บเกี่ยวอะโวคาโดต้องตรวจสอบว่าผลแก่เก็บเกี่ยวได้หรือไม่โดยพิจารณาถึงระยะเวลาที่เก็บเกี่ยวของอะโวกาโดแต่ละพันธุ์นั้นๆ จากนั้นทดลองเก็บผลบนต้นในระดับต่างๆประมาณ 6-8 ผลเพื่อผ่าดูเยื่อหุ้มเมล็ด หากเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นสีน้ำตาลทั้งหมดก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ นอกจากนี้ควรพิจารณาลักษณะภายนอกของผลเพื่อให้มั่นใจว่าผลแก่แล้ว เนื่องจากบางครั้งในต้นเดียวกันอาจมีการออกดอก 2 ชุด ทำให้อายุของผลไม่เท่ากัน ในการเก็บเกี่ยวต้องให้มีขั้วผลติดอยู่กับผล หากขั้วผลหลุดออกจากผลจะทำให้ผลเสียหายได้ง่ายขณะบ่มให้สุก วิธีการเก็บเกี่ยวทำได้โดยเด็ดหรือใช้กรรไกรตัดขั้วผลหลุดออกจากกิ่ง อาจใช้บันไดปีนขึ้นไปเก็บหรือใช้ตะกร้อที่มีใบมีดตัดขั้ว สอยให้ติดขั้วหรือใช้กรรไกรด้ามยาวที่มีที่หนีบขั้วผลไว้ ไม่ให้ผลตกเสียหาย ควรระมัดระวังไม่ให้ผิวผลเสียหาย เมื่อเก็บแล้วให้ใส่ลงในภาชนะที่รองด้วยกระดาษหรือฟองน้ำที่ป้องกันความเสียหายได้ นำไปคัดแยกเอาผลที่ไม่ได้คุณภาพตามที่กำหนดออก ตัดขั้วผลให้สั้นลงเหลือเฉพาะส่วนฐานของขั้วที่ติดกับผล

6. การใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับพืช

ฉีดพ่นบิ๊กทางใบ อัตรา 2 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร ฉีดพ่นทางใบทุก 7-10 วัน เพื่อช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต ทำให้ ต้น ใบ ดอก สมบูรณ์ เเละส่งเสริมการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับพืชทำให้พืชทนต่อสภาวะเเวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น อากาศร้อนจัด ทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

ตกลง