พืชที่อาจเกิดผลกระทบ : พริก
ระยะการเจริญเติบโต ของพืชในช่วงนี : ติดผล
ปัญหาที่ควรระวัง : โรคที่มีสาเหตุจาก ไวรัส
ข้อสังเกตลักษณะ /อาการที่อาจพบ :
โรคที่มีสาเหตุจากไวรัส ที่สำคัญของ พริก ได้แก่
๑. โรคใบด่าง พบต้นพริกเตี้ย แคระแกร็น ใบมีอาการ ด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อน บิดเบี้ยว ผิดรูปร่างและลดขนาดเรียวเล็กลง อาจ พบจุดแผลตายเฉพาะแห่งสีน้ำตาลบน ใบ ดอกหลุดร่วงง่าย ผลมีผิวขรุขระ ขนาด เล็กลง และอาจพบอาการด่างบนผลพริก
๒. โรคเส้นใบด่างประ พบอาการใบด่างสีเขียว หรือเหลือง สลับเขียวเข้ม และมีขีดหรือจุดประสี เขียวเข้มตามเส้นกลางใบ ใบลดรูปมีขนาดเล็กลงและบิดเบี้ยว ถ้าเชื้อเข้าทำลายในระยะต้นกล้า ต้นจะแคระ แกร็น แตกกิ่งด้านข้างลดลง ติดดอกน้อยลง ดอกร่วงก่อนติดผล หากติดผล ผลจะมีขนาดเล็ก ด่างและบิดเบี้ยว
๓. โรคใบหงิกเหลือง พบอาการใบด่างเหลือง เป็นขีดหรือ หย่อมโปร่งแสงระหว่างเส้นใบ บางครั้ง เส้นใบย่อยมีสีเหลืองและสานเป็น ร่างแหบริเวณโคนใบ ใบโค้งงอ หงิกย่น บิดเบี้ยว ยอดเป็นกระจุก ต้นแคระแกร็น ผลพริกด่าง บดิเบี้ยว และมีขนาดเล็กผิดปกติ
แนวทางป้องกัน/แก้ไข :
๑. ใช้พันธุ์พริกที่ต้านทานโรค
๒. ไม่นำผลพริกจากต้นที่เป็นโรค มาเพาะขยายพันธุ์
๓. ควรเพาะกล้าพริกในมุ้งกันแมลง และคัดเลือก กล้าพริกที่แข็งแรงและไม่เป็นโรคมาปลูก
๔. หมั่นตรวจแปลงปลูก หากพบพริกที่แสดง อาการของโรคให้ถอนและน าไปเผาท าลายนอก แปลงทันที
๕. หมั่นกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงปลูก เพื่อ ลดแหล่งสะสมของเชื้อไวรัสและแมลงพาหะ เช่น สาบแร้งสาบกา กะเม็ง หญ้ายางและกระทกรก
๖. ไม่ปลูกพืชหมุนเวียนที่เป็นพืชอาศัยของเชื้อ ไวรัส เช่น มะเขือต่างๆ ยาสูบ แตงกวา ฟักทอง บวบเหลี่ยม และ มะระจีน
๗. ไวรัสสาเหตุโรคพืช ยังไม่มีสารป้องกันกำจัด โดยตรง แต่ป้องกันการระบาดของโรคได้ โดยพ่น สารกำจัดแมลงพาหะนำโรค ดังนี้ - แมลงหวี่ขาว ได้แก่ อิมิดาโคลพริด ๑๐% เอสแอล อัตรา ๔๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ ฟิโพรนิล ๕% เอสซี อัตรา ๔๐ มิลลิลิตรต่อน้ า ๒๐ ลิตร - เพลี้ยอ่อน ได้แก่ อิมิดาโคลพริด ๑๐% เอสแอล อัตรา ๑๐ มิลลิลิตรต่อน้ า ๒๐ ลิตร หรือ ไดโนทีฟู แรน ๑๐% ดบัเบล้ิยพู ีอตัรา ๑๐ กรัมต่อน้ า ๒๐ ลิตร หรือฟิโพรนิล ๕% เอสซี อัตรา ๒๐ มิลลิลิตร ต่อน้ า ๒๐ ลิตร หรือ อีโทเฟนพร็อกซ์ ๒๐% อีซี อัตรา ๓๐ มิลลิลิตรต่อน้ า ๒๐ ลิตร