เตือนภัย "หนอนใยผัก"
19 มิ.ย. 2562
3,238
0
เตือนภัย "หนอนใยผัก"
เตือนภัย หนอนใยผัก
เตือนภัย "หนอนใยผัก"

สภาพแวดล้อม/สภาพ อากาศที่เกิดในช่วงเวลานี้ :

อากาศร้อนชื้น ท้องฟ้ามืด ครึ้มสลับกับมีแสงแดดจัด บางช่วงของวัน และมีฝน ตกหนักมีลมแรงบางพื้นที่ อากาศร้อนและแล้ง

ชนิดพืชที่อาจ เกิดผลกระทบ : กวางตุ้ง

ระยะการเจริญเติบโต ของพืชในช่วงนี้ : ทุกระยะการเจริญเติบโต

ปัญหาที่ควรระวัง : หนอนใยผัก

ข้อสังเกตลักษณะ/ อาการที่อาจพบ :

ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟอง เดี่ยวๆ หรือกลุ่มเล็กๆ ทั้งบนใบ และใต้ใบพืช แต่จะพบใต้ใบพืช เป็นส่วนใหญ่ หนอนมีลักษณะ เรียวยาว หัวแหลมท้ายแหลม ส่วนท้ายมีปุ่มยื่นออกเป็น 2 แฉกเมื่อถูกตัวจะดิ้นอย่างแรง และสร้างใยพาตัวขึ้นลงระหว่างพื้นดินกับใบพืชได้ หนอนกัดกิน ผิวใบทำให้ผักเป็นรูพรุนคล้าย ร่างแห จากนั้นเข้าดักแด้บริเวณ ใบพืช โดยมีใยบางๆ ปกคลุมติด ใบพืช

แนวทางป้องกัน/แก้ไข :

๑. การใช้กับดักชนิดต่างๆ ได้แก่ - กับดักกาวเหนียวสีเหลือง เป็นกับดักทรงกระบอก หรือ กระป๋องน้ ามันเครื่องสีเหลืองทาด้วยกาวเหนียว ทุก ๗- ๑๐ วันครั้ง สามารถจับผีเสื้อหนอนใยผักได้เฉลี่ย ๑๖ ตัว ต่อวันต่อกับดัก โดยจับผีเสื้อเพศเมีย : เพศผู้ ได้ ๐.๗๙ : ๑ และเมื่อติดตั้งกับดักกาวเหนียวสีเหลืองจ านวน ๘๐ กับดักต่อไร่สามารถลดการใช้สารฆ่าแมลงมากกว่า ๕๐ เปอร์เซ็นต์

- กับดักแสงไฟ หลอดสีน้ าเงิน ๒๐ วัตต์ เป็นหลอดเรือง แสงที่เหมาะสมในการใช้จับผีเสื้อหนอนใยผักมากที่สุด มี ราคาถูกกว่าหลอด blacklight-blue ๒๐ วัตต์ และ ปลอดภัยไม่มีอันตรายจากแสงอุลตร้าไวโอเล็ต ในการติดตั้งกับดักแสงไฟควรติดตั้งรอบนอกแปลงผัก และควรดำเนินการติดตั้งพร้อมกันในพื้นที่

๒. การใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน หรือการปลูกผักกางมุ้ง โดยการปลูกผักในโรงเรือนที่คลุมด้วยตาข่ายไนล่อน ขนาด ๑๖ mesh (๒๕๖ ช่องต่อตารางนิ้ว) สามารถ ป้องกันการเข้าทำลายของหนอนใยผักและหนอนผีเสื้อ อื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน ต้องปิดอย่างมิดชิดตลอดเวลาเพื่อป้องกันผีเสื้อเพศเมียเล็ดลอดเข้าไปวางไข่

๓. การใช้ศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ - การใช้เชื้อแบคทีเรีย (บาซิลลัส ทูริงเยนซิส) ปกติใน ธรรมชาติจะพบเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ซึ่งมีประสิทธิภาพใน การกำจัดหนอนใยผัก แต่เนื่องจากสภาพแวดล้อมเป็น ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อปริมาณเชื้อแบคทีเรียที่จะทำให้ หนอนใยผักตาย ปัจจุบันจึงมีการผลิตเชื้อแบคทีเรียในรูป การค้าออกจำหน่ายที่สำคัญมี ๒ สายพันธุ์ คือ Bacillus thuringiensis subsp. aizawai และ Bacillus thuringiensis subsp. kurstaki อัตรา ๑๐๐-๒๐๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร (ไม่ควรใช้ในแหล่งปลูกผักภาคกลาง ในช่วงที่มีการระบาดมากพิจารณาการใช้อัตราสูง และช่วงเวลาพ่นถี่ขึ้น หรือพ่นสลับสารฆ่าแมลง)

๔. การใช้วิธีทางเขตกรรม สามารถช่วยลดการระบาดของ หนอนใยผักได้ เช่น การไถพรวนดินตากแดด หรือการ ทำลายซากพืชอาหาร หรือการปลูกพืชหมุนเวียน ทั้งนี้ เพื่อขัดขวางการขยายพันธุ์อย่างต่อเนื่องของหนอนใยผัก

๕. การใช้ระดับเศรษฐกิจและการสุ่มตัวอย่าง ในการ พิจารณาพ่นสารฆ่าแมลงป้องกันกำจัดหนอนใยผัก ควรสำรวจตรวจนับจำนวนหนอนใยผักก่อนตัดสินใจ โดยทำการสำรวจแบบซีเควนเชียล ซึ่งเป็นวิธีการที่รวดเร็ว สะดวก และมีความแม่นยำสูง ผลการใช้ตารางสำรวจ สามารถลดการใช้สารฆ่าแมลงได้มากกว่า ๕๐ เปอร์เซ็นต์

๖. การใช้สารฆ่าแมลง เนื่องจากหนอนใยผักเป็นแมลงที่ สามารถสร้างความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงได้รวดเร็ว และหลายชนิด การพิจารณาเลือกใช้สารฆ่าแมลงที่มี ประสิทธิภาพเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถป้องกันกำจัด หนอนใยผักไม่ให้เข้าทำลายผลผลิตให้เกิดความเสียหายได้ สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด หนอนใยผัก ได้แก่ สไปนีโทแรม ๑๒% เอสซี อัตรา ๔๐- ๖๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ คลอร์ฟีนาเพอร์ ๑๐% เอสซี อัตรา ๔๐-๖๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ อินดอกซาคาร์บ ๑๕% อีซี อัตรา ๔๐-๖๐ มิลลิลิตรต่อน้ า ๒๐ ลิตร หรือ โทลเฟนไพแร็ด ๑๖% อีซี อัตรา ๔๐-๖๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ ฟิโพรนิล ๕% เอสซี อัตรา ๖๐-๘๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร (ควรใช้สลับกลุ่มสาร และใช้ไม่เกิน ๒-๓ ครั้งต่อฤดู และใช้สลับกับการใช้เชื้อแบคทีเรียเมื่อการระบาดลดลง เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างความต้านทาน)

 

 

 

 

 

 

ตกลง