เตือนภัย "โรคเน่าเละ" (เชื้อแบคทีเรีย Pectobacterium carotovorum subsp. carotovorum)
19 มิ.ย. 2562
4,321
0
เตือนภัย "โรคเน่าเละ" (เชื้อแบคทีเรีย Pectobacterium carotovorum subsp. carotovorum)
เตือนภัย โรคเน่าเละ (เชื้อแบคทีเรีย Pectobacterium carotovorum subsp. carotovorum)
เตือนภัย "โรคเน่าเละ" (เชื้อแบคทีเรีย Pectobacterium carotovorum subsp. carotovorum)

สภาพแวดล้อม/สภาพ อากาศที่เกิดในช่วงเวลานี้ : ฝนตก มีความชื้นสูง

 

ชนิดพืชที่อาจ เกิดผลกระทบ : ผักตระกูล กะหล่ าและ ผักกาด (เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี ผักกาดขาว ผักกาดหัว)

ระยะการเจริญเติบโต ของพืชในช่วงนี้ : ทุกระยะการ เจริญเติบโต

ปัญหาที่ควรระวัง : โรคเน่าเละ (เชื้อแบคทีเรีย Pectobacterium carotovorum subsp. carotovorum)

ข้อสังเกตลักษณะ/ อาการที่อาจพบ : 

อาการเริ่มแรก แผลมีลักษณะ เป็นจุดฉ่ำน้ำเล็กๆ บนใบหรือ บริเวณลำต้น ต่อมาแผลจะขยายลุกลามมีสีน้ำตาลหรือ น้ำตาลเข้ม เนื้อเยื่อพืชบริเวณ แผลจะยุบตัวลง มีเมือกเยิ้ม ออกมา และมีกลิ่นเหม็นเฉพาะของโรคนี้ หลังจากนั้นพืชจะเน่ายุบตายไปทั้งตน **** โรคนี้พบระบาดมากในฤดู ฝน แบคทีเรียสามารถเข้าทำลาย ได้ทุกส่วนของพืชทั้งในสภาพไร่ และในโรงเก็บ

แนวทางป้องกัน/แก้ไข :

๑. ควรเลือกพื้นที่ปลูกที่ไม่เคยมีการระบาดของโรคนี้มา ก่อน และมีการระบายน้ำที่ดี

๒. ก่อนปลูกพืชควรไถพรวนดินให้ลึกมากกว่า ๒๐ เซนติเมตรจากผิวดิน และตากดินไว้นานกว่า ๒ สัปดาห์ จะช่วยลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรคในดินลงได้มาก

๓. ไม่ควรปลูกพืชแน่นเกินไป เพื่อไม่ให้มีความชื้นสูง เป็น การลดการระบาดของโรค

๔. ในบริเวณที่พบโรค ควรหลีกเลี่ยงการให้น้ำแบบพ่น ฝอย เนื่องจากจะทำให้เชื้อสาเหตุโรคกระจายไปสู่ต้น ข้างเคียงได้

๕. ระมัดระวังไม่ให้ส่วนต่างๆ ของพืชเกิดแผลเป็นช่องทางให้ เชื้อสาเหตุโรคเข้าทำลายพืช

๖. ควรดูแลไม่ให้พืชขาดธาตุแคลเซียม และโบรอน เพราะจะทำให้พืชเกิดแผลจากอาการปลายใบไหม้และ ไส้กลวง ทำให้เชื้อสาเหตุโรคเข้าทำลายได้ง่าย

๗. หมั่นสำรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอเมื่อเริ่มพบ อาการของโรค ให้ขุดต้นที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายนอก แปลงปลูก

๘. ทำความสะอาดเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการเกษตร หลังใช้กับต้นที่เป็นโรค

๙. หลังการเก็บเกี่ยว ควรไถกลบเศษพืชผักทันที และ ตากดินไว้ระยะหนึ่งแล้วไถกลบอีกครั้ง เพื่อลดการสะสม ของเชื้อสาเหตุโรค

๑๐. แปลงที่มีการระบาดของโรค ควรปลูกพืชชนิดอื่น หมุนเวียน เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และข้าวโพด เป็นต้น

ตกลง