ระวัง โรคใบด่างจุดวงแหวนเนื้อเยื่อตาย ในพริก
19 เม.ย. 2566
74
0
ระวัง โรคใบด่างจุดวงแหวนเนื้อเยื่อตาย ในพริก
ระวัง โรคใบด่างจุดวงแหวนเนื้อเยื่อตาย ในพริก
ระวัง โรคใบด่างจุดวงแหวนเนื้อเยื่อตาย ในพริก

ระวัง โรคใบด่างจุดวงแหวนเนื้อเยื่อตาย ในพริก

สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อน และมีฝนตก ในบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกพริก ในระยะ ทุกระยะการเจริญเติบโต รับมือโรคใบด่างจุดวงแหวนเนื้อเยื่อตาย พบอาการใบด่างสีเขียวเข้มสลับเขียวอ่อน เกิดอาการจุดวงแหวนบนเนื้อใบ และยังพบอาการแผลเนื้อเยื่อตายสีน้ำตาลทั้งบนผลพริก ใบ และกิ่งก้าน ต้นแคระแกร็นไม่เจริญเติบโต
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. ใช้พันธุ์ต้านทานโรค
2. ไม่นำเมล็ดพริกจากต้นที่เป็นโรค มาเพาะขยายพันธุ์
3. ควรเพาะกล้าพริกในมุ้งกันแมลง และคัดเลือกกล้าพริกที่แข็งแรงและไม่เป็นโรคมาปลูก
4. หมั่นตรวจแปลงปลูก หากพบพริกที่แสดงอาการของโรคให้ถอนและนำไปทำลาย หรือฝังดินนอกแปลงทันที
5. หมั่นกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงปลูก เพื่อลดแหล่งสะสมของเชื้อไวรัสและแมลงพาหะ เช่น สาบแร้งสาบกา กะเม็ง หญ้ายาง และกระทกรก
6. ไม่ปลูกพืชหมุนเวียนที่เป็นพืชอาศัยของเชื้อไวรัส เช่น มะเขือต่าง ๆ ยาสูบ แตงกวา ฟักทอง บวบเหลี่ยม และ มะระจีน
7. เชื้อไวรัสสาเหตุโรคพืช ยังไม่มีสารป้องกันกำจัดโดยตรง แต่ป้องกันการระบาดของโรคได้โดยพ่นสารกำจัดเพลี้ยไฟพริก ซึ่งเป็นพาหะนำโรคนี้ ได้แก่ สารสไปนีโทแรม 12% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไซแอนทรานิลิโพรล 10% OD อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอร์ฟีนาเพอร์ 10% SC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ สไปโรมีซิเฟน 24% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อิมิดาโคลพริด 70% WG อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ดูน้อยลง

ตกลง