ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน ตำบลบ้านกล้วย อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์
ประวัติความเป็นมา
ตำบลบ้านกล้วยเดิมมี 6 หมู่บ้าน ปัจจุบันมีจำนวน 14 หมู่บ้าน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอชนแดน อบต. ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 บ้านเขาคณฑา ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร เช่น ทำนา ทำถั่วในฤดูแล้ง ทำสวนผลไม้ เช่น มะม่วง และพืชผักสวนครัว
พื้นที่
มีเนื้อที่ทั้งหมด 74,375 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตร 64,912 ไร่ แยกเป็นทำนา 37,660 ไร่ ทำไร่ 27,007 ไร่ และอื่น ๆ 245 ไร่
เขตพื้นที่
ทิศเหนือ ติดกับ ต.ดงขุย อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์
ทิศใต้ ติดกับ ต.วังงิ้ว กิ่งอ.ดงเจริญ จ.พิจิตร
ทิศตะวันออก ติดกับ ต.ลาดแค อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์
ทิศตะวันตก ติดกับ ต.ท้ายทุ่ง อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร
อาชีพ
อาชีพหลัก ทำนา
อาชีพเสริม ทำถั่วเขียวฤดูแล้ง รับจ้าง
สาธารณูปโภค
จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ในเขต อบต. 1,612 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 90.00 จำนวนบ้านที่มีโทรศัพท์ 1,500 หลังคาเรือน
การเดินทาง
เดินทางจากที่ว่าการอำเภอชนแดน ถึง อบต. บ้านกล้วย ระยะทาง 23 กม. ถนนลาดยางโดยตลอด
ผลิตภัณฑ์
ผ้าทอ, ข้าวหอมมะลิแดง
ผ้าทอมือลายขัดพื้นจากกี่กระตุก
กลุ่มสตรีทอผ้ากี่กระตุกบ้านเขาชะโงกเหนือมีการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาอาชีพของสตรี การลงทุนร่วมกัน และร่วมกันดำเนินงาน
เลขที่ 239 หมู่ 7 บ้านเขาชะโงกเหนือ ต.บ้านกล้วย อ. ชนแดน จ. เพชรบูรณ์ 67150
ตำนานผ้าฝ้ายทอมือ
ผ้าฝ้าย
สายใยความผูกพันแห่งชีวิตและเส้นใย ฝ้าย (cotton) คือ เส้นใยเก่สาแก่ชนิดหนึ่งซึ่งใช้ในการทอผ้ามาแต่สมัยโบราณ สิ่งที่บ่งบอกให้รู้ว่ามนุษย์มี
การปลูกฝ้ายและปั่นฝ้ายเป็นเส้นด้ายมานานแล้ว คือหลักฐานทางโบราณคดี ซึ่งขุดพบในซากปรักหักพังอายุประมาณ ๓,๐๐๐ ปี ก่อนคริสตกาล
ที่แหล่งโบราณคดีโมฮันโจดาโร (Mohenjo daro) ซึ่งอยู่ในบริเวณแหล่งอารยธรรม ลุ่มนํ้าสินธุในเขตประเทศปากีสถานปัจจุบัน
ส่วนการทอผ้าฝ้ายในประเทศไทยนั้น คงมีขึ้นหลังการทอผ้าจากป่านกัญชา สันนิษฐานว่าการปลูกฝ้ายในไทยรับเอาพันธุ์และวิธีการมาจากประเทศอินเดีย
และหลังจากพบว่าผ้าทอจากฝ้ายมีเนื้อนุ่มสวมใส่สบายและย้อมติดสีดีกว่าผ้าป่านกัญชา อีกทั้งขั้นตอนและกระบวนการแยกและเตรียมฝ้ายก็ไม่ยุ่งยาก
ใช้เวลาน้อยกว่าการเตรียมป่านกัญชามาก ชาวไทยจึงค่อยๆใช้ป่านกัญชาลดลงตามลำดับ ปัจจุบันแหล่งปลูกฝ้ายในประเทศไทย คือ จังหวัดเลย เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ลพบุรี
ปราจีนบุรี สุโขทัย เพชรบุรี นครราชสีมา และกาญจนบุรี พันธุ์ฝ้ายในประเทศไทยมีหลายชนิด และมีฝ้ายพื้นเมืองอยู่ 2 สายพันธุ์ ซึ่งให้ปุยสีขาวอย่างที่มัก
พบเห็นทั่วไป และฝ้ายพันธ์ซึ่งให้ปุยสีนํ้าตาลอ่อนที่ชาวบ้านเรียกกันว่าสีขี้ตุ่นหรือสีตุ่น และเรียกฝ้ายชนิดนี้ว่าฝ้ายตุ่น ฝ้ายตุ่นเป็นพันธุ์ฝ้ายที่หายากและ
ปั่นยากกว่าฝ้ายพันธุ์สีขาว เนื่องจากมีปุยสั้นและไม่ค่อยฟูเหมือนพันธุ์สีขาว ดอกฝ้ายตุ่นมีขนาดเล็กสีนํ้าตาล เส้นใยสั้น ใช้เป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการ
ทอผ้าด้วยมือแบบพื้นเมือง ส่วนฝ้ายพันธุ์ชนิดอื่นๆ มักใช้ทอผ้าในระดับอุตสาหกรรม ผ้าที่ทอจากฝ้ายส่วนใหญ่คือ ผ้าทอจากทาง
ภาคเหนือ ชาวล้านนาจะเริ่มปลูกฝ้ายราวเดือน พฤษภาคมและรอเก็บในเดือพฤศจิกายน นิยมเก็บฝ้ายก่อนที่ฝ้ายจะร่วงลงสู่พื้น ป้องกันไม่ให้ฝ้ายสกปรก
หลังจากเก็บฝ้ายแล้วชาวบ้านต้องนำฝ้ายไปตาก เพื่อคัดเอาแมลงและสิ่งสกปรกออก ก่อนจะนำไปหีบหรืออีดในที่อีดฝ้าย แยกเอาเมล็ดออกก่อนนำไปปั่นเป็นเส้นด้าย
วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทอผ้า
๑. ฝ้าย
๒. กี่ทอผ้า ฟืม ทำจากต้นไม้ยาวพอสมควรตาม
ขนาดของกี่ มีด้ามสำหรับจับเพื่อใช้ดึงให้ฟืมดัน
ฝ้ายเส้นพุ่งให้ติดกันแน่นเป็นผืน
- เขาฟืม มี
- ไม้หาบเขาและไม้หาบฟืม
- มะล้อ
- หัวนก
- ไม้สะป้าน สำหรับพันเนื้อผ้าที่ทอเสร็จแล้ว
๓. เฟือ
๔. กงกว๊าง
๕. กระป๋องหรือหลอดฝ้ายขนาดใหญ่
๖. เพียนปั่นด้าย
๗. บันไดลิง