กรมวิชาการเกษตรแจ้งเตือนภัย ช่วง วันที่ 10 – 16 พฤษภาคม 2560 สภาพอากาศร้อนจัดและมีฝนตก ผักบุ้งในทุกระยะการเจริญเติบโต ระวังโรคราสนิมขาว(เชื้อรา Albugo ipomoea-panduratae)
9 พ.ค. 2560
4,250
0
กรมวิชาการเกษตรแจ้งเตือนภัย ช่วง วันที่ 10 – 16 พฤษภาคม 2560 สภาพอากาศร้อนจัดและมีฝนตก ผักบุ้งใน
กรมวิชาการเกษตรแจ้งเตือนภัย
กรมวิชาการเกษตรแจ้งเตือนภัย ช่วง วันที่ 10 – 16 พฤษภาคม 2560 สภาพอากาศร้อนจัดและมีฝนตก ผักบุ้งในทุกระยะการเจริญเติบโต ระวังโรคราสนิมขาว(เชื้อรา Albugo ipomoea-panduratae)

กรมวิชาการเกษตรแจ้งเตือนภัย 

ช่วง วันที่ 10 – 16 พฤษภาคม 2560

สภาพอากาศร้อนจัดและมีฝนตก ผักบุ้งในทุกระยะการเจริญเติบโต ระวังโรคราสนิมขาว(เชื้อรา Albugo ipomoea-panduratae) 

1. โรคราสนิมขาว White Rust

สาเหตุ เชื้อรา Albugo ipomoea-aquaticae Sawada เป็นเชื้อราชั้นต่ำ

อาการ จุดสีเหลืองซีดด้านบนของใบ ด้านใต้ใบตรงกันข้ามจะเป็นตุ่มนูนเล็ก ๆ ขนาด 1-2 มิลลิเมตร อาจพบลักษณะปุ่มปม หรือบวมพองโตขึ้นในส่วนของก้านใบและลำต้น

การป้องกันรักษา

1. กำจัดวัชพืชในแปลงปลูก

2. แปลงที่เกิดโรคระบาด ควรงดการให้น้ำแบบพ่นฝอย และ

ไม่ควรให้น้ำจนชื้นแฉะเกินไป

3. ตรวจแปลงปลูกสม่ำเสมอ โดยเฉพาะใบล่างๆ เมื่อพบโรค

ตัดส่วนที่เป็นโรค ไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก หากโรคยังคง

ระบาดพ่นทุก 7 วัน ด้วยสารเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี

อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร สลับกับแมนโคเซบ 80%

ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20–30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่ว

โดยเฉพาะบริเวณด้านใต้ใบ

4. หลังการเก็บเกี่ยว ควรนำเศษซากพืชไปเผาทำลายนอก

แปลงปลูก

5. พื้นที่ที่เกิดโรคระบาด ควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน

อย่างน้อย 2–3 ปี

6. ฤดูปลูกถัดไป

    – การเตรียมดินก่อนปลูก ควรไถดินตากแดดให้นาน หรือ

หว่านปูนขาว อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วไถกลบทิ้งไว้

ประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนปลูก จะช่วยลดการเกิดโรค

    – ใช้เมล็ดพันธุ์ จากแหล่งที่ไม่มีโรคระบาดมาก่อน

    – คลุกเมล็ดก่อนปลูกด้วยสารเมทาแลกซิล 35% ดีเอส

อัตรา 7 กรัม ต่อ เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม

    – ไม่หว่านผักบุ้งแน่นเกินไป เพราะจะทำให้มีความชื้นสูง

2. โรคใบไหม้ Leaf blight

สาเหตุ เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas compestris pv. (pathovar กำลังอยู่ในขึ้นตอนของการทดสอบ)

อาการ เกิดจุดตุ่มใสเล็ก ๆ ใต้ใบ ต่อมาจุดแผลจะขยายออกกลายเป็นสีน้ำตาล-สีดำ ฉ่ำน้ำ ใบจะเหลืองซีดและแห้งเหี่ยวร่วงหล่นจากต้น

การป้องกันรักษา 

1. เก็บรวบรวมพืชที่เป็นโรค เผาทำลาย 

2. ใช้ปูนขาวอัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ คลุกดินแล้วตากดินไว้อย่างน้อย 1 เดือน 

3. ปลูกพืชชนิดอื่นหนุนเวียน

ตกลง