ไตรโคเดอร์มา คืออะไร เกษตรกรต้องรู้
22 ก.พ. 2566
4,780
0
ไตรโคเดอร์มา คืออะไร เกษตรกรต้องรู้
ไตรโคเดอร์มา คืออะไร เกษตรกรต้องรู้

ไตรโคเดอร์มา คืออะไร เกษตรกรต้องรู้
.
ไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราที่พบทั่วไปในดิน เศษซากพืช ซากสัตว์ อินทรียวัตถุ และบริเวณระบบรากพืช ซึ่งบางสายพันธุ์มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรค และส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ทำให้ระบบรากพืชสมบูรณ์ แข็งแรง สามารถหาอาหารได้มาก ส่งผลให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดี
.
ไตรโคเดอร์มา สามารถทำลายโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อราได้ อย่างเช่น โรคราน้ำค้าง โรคราแป้ง โรครากเน่า โรคราสนิม และที่สำคัญไตรโคเดอร์มา ไม่เป็นอันตรายต่อแมลง มนุษย์ และสัตว์เลี้ยงอีกด้วย
.
ไตรโคเดอร์มาสามารถกำจัดโรคพืชได้
ไตรโคเดอร์มาเป็นปรสิตที่คอยเบียดเบียนโรคพืช โดยมีความสามารถในการขยายตัวที่รวดเร็ว และเมื่อไตรโคเดอร์มาสัมผัสกับเส้นใยของโรคพืชจะเริ่มจากทำการแทงรากเข้าไปในเส้นใยของโรคพืช และปล่อยเอนไซม์เพื่อเข้าทำลาย รวมถึงดูดกินสารอาหารภายในตัวของโรคพืชจนหมด แล้วนำสารอาหารที่ได้นั้นมาสร้างเป็นสปอร์เพื่อขยายตัวต่อไป
.
ประโยชน์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา
ยับยั้งและทำลายเชื้อราก่อโรคพืชเพื่อไม่ให้สร้างความเสียหายแก่พืช
ช่วยกระตุ้นให้พืชสร้างความต้านทานต่อการเข้าทำลายของเชื้อโรค
ส่งเสริมและช่วยพัฒนาให้พืชมีการเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์
ส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้ธาตุอาหารต่างๆ ของพืช โดยปรับเปลี่ยนธาตุอาหารให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ ช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุ เพิ่มปริมาณธาตุอาหารในดิน เพิ่มอัตราการงอกของเมล็ดพันธุ์ ป้องกันเชื้อราเข้าทำลายเมล็ดพันธุ์จนทำให้เกิดโรคที่เมล็ด เช่น โรคเมล็ดด่างในข้าว
.
ไตรโคเดอร์มา กับพืชต่างๆ ใช้ได้ผลกับพืชหลากหลายชนิดและมีประสิทธิภาพกับพืชต่างๆ
ไม้ผล : ทุเรียน มังคุด ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วง ลองกอง เป็นต้น
ไม้ยืนต้น : ยางพารา ปาล์มน้ำมัน กาแฟ เป็นต้น
พืชสวน-พืชไร่ : พริก มะละกอ มะเขือเทศ มะนาว พืชผักต่างๆ รวมทั้งใช้ได้ดีในนาข้าว
ไม้ดอก-ไม้ประดับ รวมทั้งไม้ใบต่างๆ
.
ข้อควรระวัง
ไม่ควรใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี และพื้นที่ที่ใช้สารกำจัดวัชพืช
ควรใช้ในช่วงเช้าหรือเย็น เพราะในช่วงกลางวันมีอากาศร้อน แสงแดดจัด ทำให้เชื้อตาย
เชื้อสดสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้นาน 1 เดือน หากกรองเอาสปอร์ผสมน้ำแล้ว ควรเก็บไว้ในตู้เย็นได้ไม่เกิน 7 วัน
ควรมีการปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ
.
#เทคโนโลยีชาวบ้าน #ไตรโคเดอร์ม่า #เชื้อรา #เกษตรกร

 



 
 

ตกลง