คู่มือการใช้เครื่องวัดดิน วัดปุ๋ย ความชื้น แสง 4in1 และ 2in1
29 ก.ค. 2564
6,701
0

เครื่องวัดค่าปุ๋ย และพีเอชดิน 2in1โดยใช้วัดหาค่าพีเอช และค่าแร่ธาตุ (NPK) ของดินก่อนการปลูกพืชเพื่อปรับค่าดินและแร่ธาตุปุ๋ยให้พอเหมาะกับพืชตลอดช่วงระยะการเจริญเติบโตจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตของพืชทุกชนิด ใช้ได้กับดินทุกประเภท (ดินทราย ,ดินร่วน,ดินเหนียว)

มิเตอร์วัดดิน 2in1 วัดค่าความเป็นกรดด่างของดิน และ วัดค่าความอุดมสมบูรณ์ NPK ของดินโดยเบื้องต้น pH and Fertility Soil Tester Meter

มิเตอร์วัดดิน 2in1 วัดค่าความเป็นกรดด่างของดิน และวัดค่าความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยเบื้องต้น pH and Fertility Soil Tester Meter

► ยี่ห้อ Doctor Plant

► ช่วงการวัดค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน สเกล 1 – 9 

► ช่วงการวัดค่าความสมบูรณ์ของดิน NPK สเกลมี 3 ช่วงได้แก่ น้อยไป (Too Little) – ปกติ (Ideal) – มากไป (Too Much)

► ความยาวก้านวัด Probe Length 8.5 เซนติเมตร

► ใช้งานได้ทั้งภายในร่ม และกลางแจ้ง

► ใช้งานง่าย แค่นำก้านวัดเสียบลงในดิน และอ่านค่าตามมิเตอร์

► ไม่ต้องใช้ถ่าน

► ขนาดของบรรจุภัณฑ์ 26 x 11 เซนติเมตร

► เหมาะกับเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่ต้องการวัดค่าของดินเบื้องต้นที่เป็นรูปธรรม สามารถนำค่าวัดไปประยุกต์ต่อยอดเพื่อการปรับปรุงคุณภาพดิน และเลือกพืชที่เหมาะสมกับคุณภาพดินมาปลูกได้

———————————————————

► การวัดความเป็นกรด-ด่าง pH ของดิน

ค่า pH ของดินที่เหมาะสมในประเทศไทย คือ 6 – 7 (มากกว่า 7 ดินเป็นด่าง , น้อยกว่า 6 ดินเป็นกรด) 

1. ตักหน้าดิน ลึกประมาณ 3 – 5 เซนติเมตร ออกไปก่อน

2. จัดการคลุกดินเพื่อให้ดินร่วน ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร หากมีวัสดุอื่นๆที่เป็นของแข็ง อิฐ หิน รากไม้ ควรนำออกจากดินด้วย

3. นำน้ำธรรมชาติ หรือน้ำฝน จากแหล่งเพาะปลูกบริเวณนั้น คลุกกับดินให้เข้ากัน (หากนำน้ำจากแหล่งอื่นมา จะทำให้การวัดคลาดเคลื่อน) 

4. นำเครื่องมือวัด ปรับโหมดไปที่วัดค่า pH 

5. ปักก้านวัด (Probe) ลงในดิน ลึก 2 ใน 3 ของความยาวก้านวัด

6. ปักไว้นาน 1 – 2 นาที แล้วอ่านผล (ใช้สเกลด้านบนของมิเตอร์)

7. เมื่อใช้งานเสร็จ ปรับปุ่มไปที่โหมด OFF

8. ให้ล้างด้วยน้ำสะอาด และใช้มือถูเอาเศษดินออกจากก้านวัด ไม่ควรใช้น้ำยาทำความสะอาด หรือวัสดุถูก้านวัด เพราะจะทำให้การวัดครั้งต่อไปคลาดเคลื่อนได้

.

► ค่า pH ในดินไม่ได้มีผลโดยตรงกับการเจริญเติบโตของพืช แต่มีส่วนช่วยให้พืชสามารถดูดซับสารอาหารจากดินได้ดีขึ้นเท่านั้น ซึ่งถ้าหากพืชเจริญเติบโตในดินที่มีค่าความเป็นกรดต่ำเกินไป ใบก็จะเหลือง เนื่องจากไม่สามารถดูดธาตุเหล็กเข้าไปบำรุงต้นได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นดินที่จะเหมาะกับการปลูกพืช จึงต้องมีค่าความเป็นกรดอยู่พอสมควร เพื่อที่ความเป็นกรดจะได้แปลงธาตุอาหารให้พืชดูดกินได้สะดวก

► แต่ถึงอย่างนั้นค่า pH ก็มีผลเสียต่อพืชอยู่เช่นกัน โดยหากดินมีค่า pH ต่ำ ธาตุแมงกานีสในดินก็จะกลายเป็นพิษต่อพืช เป็นสาเหตุให้พืชมีใบเหลือง ใบแห้ง และตายได้ในที่สุด และถ้าหากค่า pH ในดินต่ำมากจนเกินไป ดินก็จะดูดซับสารอะลูมิเนียมแทนธาตุอาหารจำเป็น ต้นไม้จึงเติบโตช้า เพราะไม่ได้กินอาหารที่มีประโยชน์ แต่ถ้าดินมีค่า pH อยู่ในระดับที่เหมาะสม ก็จะช่วยให้สารอาหาร และสิ่งมีชีวิตในดินเจริญเติบโตได้ดี อีกทั้งยังช่วยแปลงธาตุไนโตรเจนให้พืชสามารถดูดซับได้ ส่งผลให้พืชงอกงามสุขภาพดีอีกด้วย

► พืชแต่ละชนิด เหมาะกับการปลูกในดินที่มีค่าความเป็นกรด-ด่าง pH ต่างกัน (ควรศึกษาเพิ่มเติมสำหรับคุณสมบัติของดินที่เหมาะสมกับพืชที่ตนเองปลูก)

———————————————————

การวัดค่าความอุดมสมบูรณ์ของดิน Fertility

1. ตักหน้าดิน ลึกประมาณ 3 – 5 เซนติเมตร ออกไปก่อน

2. จัดการคลุกดินเพื่อให้ดินร่วน ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร หากมีวัสดุอื่นๆที่เป็นของแข็ง อิฐ หิน รากไม้ ควรนำออกจากดินด้วย

3. นำน้ำธรรมชาติ หรือน้ำฝน จากแหล่งเพาะปลูกบริเวณนั้น คลุกกับดินให้เข้ากัน (หากนำน้ำจากแหล่งอื่นมา จะทำให้การวัดคลาดเคลื่อน) 

4. นำเครื่องมือวัด ปรับโหมดไปที่วัดค่า Fertility

5. ปักก้านวัด (Probe) ลงในดิน ลึก 2 ใน 3 ของความยาวก้านวัด

6. ปักไว้นาน 1 – 2 นาที แล้วอ่านผล (ใช้สเกลด้านล่างของมิเตอร์)

7. เมื่อใช้งานเสร็จ ปรับปุ่มไปที่โหมด OFF

8. ให้ล้างด้วยน้ำสะอาด และใช้มือถูเอาเศษดินออกจากก้านวัด ไม่ควรใช้น้ำยาทำความสะอาด หรือวัสดุถูก้านวัด เพราะจะทำให้การวัดครั้งต่อไปคลาดเคลื่อนได้

———————————————-

ผลจากการวัดค่าความอุดมสมบูรณ์ของดิน Fertility 

► หากเข็มชี้ไปที่ Too Little (ด้านซ้ายของ Ideal) หมายถึง ดินมีปริมาณสารอาหารไม่เพียงพอ หรือปริมาณจุลินทรีย์ในการย่อยธาตุอาหารในดินต่ำ

ค่าสารอาหารในดินโดยเฉลี่ย จะเป็นดังนี้

ค่าไนโตรเจน (N) น้อยกว่า 50 ppm

ค่าฟอสฟอรัส (P) น้อยกว่า 4 ppm

ค่าโพแทสเซียม (K) น้อยกว่า 50 ppm

.

► หากเข็มชี้ไปที่ Ideal (ตรงกลางมิเตอร์) หมายถึง ดินมีปริมาณสารอาหารเพียงพอ เหมาะสม

ค่าสารอาหารในดินโดยเฉลี่ย จะเป็นดังนี้

ค่าไนโตรเจน (N) 50 – 200 ppm

ค่าฟอสฟอรัส (P) 4 – 14 ppm

ค่าโพแทสเซียม (K) 50 – 200 ppm

.

► หากเข็มชี้ไปที่ Too Much (ด้านขวาของ Ideal) หมายถึง ดินมีปริมาณสารอาหารมากเกินไป หรืออาจมีปัญหาดินเค็ม จะทำให้ราก หรือใบ ไหม้ได้ ต้องแก้ปัญหาโดยการรดน้ำเพิ่ม เพื่อชะล้าง และละลายปุ๋ยส่วนเกินออกไป

ค่าสารอาหารในดินโดยเฉลี่ย จะเป็นดังนี้

ค่าไนโตรเจน (N) มากกว่า 200 ppm

ค่าฟอสฟอรัส (P) มากกว่า 14 ppm

ค่าโพแทสเซียม (K) มากกว่า 200 ppm

https://www.organicfarmthailand.com/doctor-plant-soil-ph-fertility-meter/

ตกลง