โรครากเน่าโคนเน่า
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา ไฟทอปธอร่า (Phytophthora) เป็นเชื้อราที่กำจัดได้ยาก รุนแรงและสร้างความเสียหายให้กับพืชหลากหลายชนิด โรครากเน่าโคนเน่า สามารถแพร่ระบาดได้อย่างกว้างขวาง และรวดเร็วในช่วงฤดูฝน หรืออาจติดไปกับน้ำที่ใช้ในการรด นอกจากเชื้อราไฟทอปธอร่าแล้ว โรครากเน่าและโคนเน่ายังเกิดจากสภาพแวดล้อมอื่นๆ ในการปลูกได้อีก
เช่น เมล็ดพันธุ์พืช,ไม่มีการตัดแต่งทรงพุ่ม บริเวณทรงพุ่มมีความชื้นสูง
ลักษณะอาการโดยทั่วไป
ราก มีลักษณะเป็นสีน้ำตาล ช้ำ และเน่า โรคเกิดที่รากใบปลายกิ่งมีสีซีดไม่เป็นมันเงา ใบเหี่ยวลู่ลง เมื่ออาการรุนแรงใบจะเหลืองและหลุดร่วง หากขุดดูที่รากฝอยจะพบว่ารากฝอยมีลักษณะเปลือกล่อน เปื่อยยุ่ยเป็นสีน้ำตาล แต่ถ้ารุนแรงอาการจะลามไปยังรากแขนงและโคนต้น ทำให้ต้นโทรมและยืนต้นตาย
โคนต้น จะมีลักษณะเปลือกแตก มีเมือกเยิ้มออกมาจากส่วนเปลือกของต้นที่แตกถ้าแผลขยายใหญ่จะลุกลามจนรอบโคนต้น จนทำให้ใบร่วงจนหมดต้นและแห้งตาย
ใบ ดอก ผล เกิดอาการเน่าหรือไหม้เป็นวงกลมสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลดำตรงบริเวณกลางใบ ขอบใบหรือปลายใบ
การรักษาอาการ
1.สารฟอสโฟนิก แอซิด 40% เอสแอล อัตราใช้ 1:1 ทั้งฉีดเข้าต้นและพ่น
2.ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20-30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
3.เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ซับทีลิส อัตรา 60-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
4.สารเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 60-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
5.วาลิดามัยซิน 3% เอสแอล อัตรา 20-30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร