นายวุฒิพงศ์ เนียมหอม ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ประชุม กษ. 6 จังหวัด เขตตรวจราชการที่ 1 เตรียมรับสถานการณ์อุทกภัย 2567
4 ก.ย. 2567
102
0
นายวุฒิพงศ์ เนียมหอม ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ประชุม กษ. 6 จังหวัด เขตตรวจราชการที่ 1 เตรียมรับสถานการณ์อุทกภัย 2567
นายวุฒิพงศ์เนียมหอมผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายวุฒิพงศ์ เนียมหอม ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ประชุม กษ. 6 จังหวัด เขตตรวจราชการที่ 1 เตรียมรับสถานการณ์อุทกภัย 2567

นายวุฒิพงศ์ เนียมหอม ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ประชุม กษ. 6 จังหวัด เขตตรวจราชการที่ 1 เตรียมรับสถานการณ์อุทกภัย 2567

วันพุธที่ 4 กันยายน 2567 เวลา 09.00 น. นายวุฒิพงศ์ เนียมหอม ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์อุทกภัย จังหวัดอ่างทอง ร่วมกับเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง (นางวินดา เหลี่ยมสมบัติ) และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามสถานการณ์อุทกภัยใน อำเภอโพธิ์ทอง และอำเภอวิเศษชัยชาญ เนื่องจากน้ำล้นตลิ่งนอกแนวคันกั้นน้ำ และมีฝนตกทำให้พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ ปัจจุบันมีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเร่งระบายน้ำจากแปลงนาของเกษตรกรลงสู่คลองชลประทาน และแจก พด.1 ให้แก่ประชาชนเพื่อบำบัดน้ำเสีย
จากนั้น เวลา 13.30 น. เป็นประธานการประชุมเตรียมการรับสถานการณ์อุทกภัย 2567 ในเขตตรวจราชการที่ 1 ทั้งหมด 6 จังหวัด คือ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี และสระบุรี โดยมีผู้อำนวยการชลประทานอ่างทอง เกษตรและสหกรณ์จังหวัด หัวหน้ากลุ่มช่วยเหลือเกษตรกรและโครงการพิเศษ ในฐานะรองผู้อำนวยการศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร และเลขานุการศูนย์ฯ
1. แจ้งข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า) โดยเน้นการบูรณาการร่วมกันทุกหน่วยงานในการให้ความช่วยเหลือประชาชนกรณีอุทกภัย การสื่อสารสร้างการรับรู้ข่าวสารอุทกภัยด้วยภาษาที่เข้าใจได้ง่ายไม่ใช้ภาษาทางราชการ รับขึ้นทะเบียนเกษตรกรให้ครบถ้วน เพื่อการช่วยเหลือตามระเบียบได้อย่างรวดเร็ว
2. รับฟังสรุป สถานการณ์น้ำ การเตรียมการรับสถานการณ์อุทกภัยของแต่ละจังหวัด โดยมอบหมายภารกิจ ดังนี้
2.1 มอบเกษตรและสหกรณ์จังหวัด สรุปข้อมูลสถานการณ์น้ำด้วยภาษาที่เข้าใจได้ง่าย โดยส่งต่อให้หน่วยงานในพื้นที่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน เครือข่ายต่าง ๆ ในทุกช่องทาง เพื่อลดกระแสความตื่นตระหนกและส่งต่อข้อมูลที่สร้างความสับสนบนสื่อออนไลน์
2.2 ปรับปรุงข้อมูลพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย เครื่องจักรกล รถยนต์ เรือและคาดการณ์ผลผลิตทางการเกษตรที่จะได้รับผลกระทบโดยละเอียด โดยเปรียบเทียบกับปริมาณการระบายน้ำของเขื่อนเจ้าพระยา เพื่อให้สามารถคาดการณ์และเตรียมการช่วยเหลือได้เป็นขั้นเป็นตอน
2.3 กรณี สัตว์ดุร้าย เช่น จระเข้ ที่มีการเลี้ยงในพื้นที่จังหวัดสระบุรี พระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยให้ประมงจังหวัดต้องกำหนดมาตรการการป้องกันอย่างรัดกุมและติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์และอย่างใกล้ชิด
2.4 มอบเกษตรและสหกรณ์จังหวัดชัยนาท ประสานศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ชัยนาท ในการบริหารจัดการอาหารสัตว์ เวชภัณฑ์ ให้กับทั้ง 6 จังหวัดอย่างเหมาะสม
2.5 บูรณาการการทำงาน โดย มีทีมทำงานระดับอำเภอ โดยเกษตรอำเภอเป็นหัวหน้าชุด ที่ดำเนินงานร่วมกันตั้งแต่เกิดภัยจนสิ้นสุดภัย
2.6 เตรียมการ กรณีเกิดน้ำท่วมฉับพลัน อาทิ คันดินพัง ให้เตรียมการตั้งโรงครัวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อประกอบอาหารแจกจ่ายแก่ประชาชน เพื่อบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้า
3. ทั้งนี้ หากสถานณ์การอุทกภัยเกิดความรุนแรงพร้อมกันในหลายจังหวัด กระทรวงฯ จักได้มอบหมายผู้ตรวจราชการจากเขตตรวจราชการใกล้เคียง มาร่วมสนับสนุนการแก้ไขปัญหา ต่อไป

x
  • รวมเว็บไซต์ทั้งหมด
  • ภาคเหนือ
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ภาคกลาง
  • ภาคตะวันออก
  • ภาคใต้
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง