ข้าสู่ฤดูร้อน อีกหนึ่งเมนูยอดฮิตของพี่น้องชาวเหนือและอีสาน กับเมนู “หมกไข่จักจั่น” แต่รู้หรือไม่ว่า ไอ้ที่เราเรียกกัน หรือเข้าใจกันว่ามันคือไข่จักจั่น จริงๆ แล้วมันคือเพลี้ยต่างหากหละ
มักจะพบเกาะอยู่ที่บริเวณต้นเต็ง ต้นรัง ต้นยางเหียง ทางภาคอีสานมักจะเรียกว่า “ไข่จักจั่น” แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ไข่จักจั่น แต่เป็นสัตว์ในตระกูลเพลี้ยแป้ง การที่ชาวบ้านเรียกว่าไข่จักจั่น อาจจะเกิดจากความเข้าใจผิดว่าเป็นไข่ของจักจั่น ซึ่งความเป็นจริงแล้วไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับจักจั่นเลย
หลังจากนั้นเมื่อไข่ที่เล็กจิ๋วฟักออกมาเป็นตัวก็จะมุดลงไปในดิน อาศัยอยู่ในรู อยู่ในดิน กินน้ำหวานจากรากไม้เป็นอาหาร บางสายพันธุ์ก็อยู่ในดินประมาณ 1 ปี บางสายพันธุ์ก็อยู่ใต้ดินประมาณ 7 ปี และบางสายพันธุ์จะอยู่ใต้ดินนานถึง 17 ปี ก่อนที่จะขึ้นมาบนดินและลอกคราบเป็นตัวจักจั่นโตเต็มวัยที่เราเห็นกัน