วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.30 น. นายจิรทัต สวรรคทัต หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์พัฒนาการเกษตร รักษาการ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ พร้อมด้วยข้าราชการและเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ เข้าร่วมประชุมแนวทางการดำเนินงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด และ ประชุมชี้แจงแนวทางการขับเคลื่อนโครงการสินค้าเกษตรและบริการมูลค่าสูง 1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง ผ่านระบบประชุมทางไกล Zoom Meeting โดยมี นางอัญชลี สุวจิตตานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในการประชุมฯ เพื่อชี้แจงแนวทางในการดำเนินงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด
เป้าหมายการขับเคลื่อนงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี 2568
การอำนวยการและบริหารจัดการด้านการเกษตรในระดับพื้นที่ มีดังต่อไปนี้
1. ฐานข้อมูลด้านการเกษตร และสหกรณ์ระดับจังหวัดมีผู้ใช้บริการ
2. การผลักดันการพัฒนาการ เกษตรและสหกรณ์ในเชิงพื้นที่ จังหวัดโดยงบประมาณกลุ่มจังหวัด/จังหวัด และอื่น ๆ
3. การใช้กลไกของคณะกรรมการ ขับเคลื่อนงานฯ (SCP) และระดับ อำเภอ (SCD) เพื่อขับเคลื่อนงาน และบูรณาการทำงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที
4. เกษตรกรได้รับการช่วยเหลือ จากการประสบภัยพิบัติด้านการเกษตร
5. การให้บริการและแก้ไขปัญหาแก่เกษตรกร ผ่านศูนย์บริการ ประชาชนภาคการเกษตร (ศูนย์บริการเกษตรพิรุณราช)
6. การช่วยเหลือแก้ไขปัญหา ด้านหนี้สินเกษตรกร
* ตัวชี้วัด จำนวนเกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือ บริการจากการขับเคลื่อนงาน ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไม้น้อยกว่า 800,000 ราย *
โครงการสินค้าเกษตรและบริการมูลค่าสูง 1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง ปี 2568
โดย กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน
วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและบริการ มูลค่าสูง 1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง ตามหลักการ “ตลาด นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” เพื่อยกระดับรายได้ของครัวเรือนเกษตรกร
เป้าหมาย 200 ท้องถิ่น
ระยะเวลา ตุลาคม 2567 – กันยายน 2568
งบประมาณ 5,000,000 บาท
ผลผลิต มีจำนวนท้องถิ่นสินค้าเกษตรและบริการ มูลค่าสูง ด้านพืช แมลงเศรษฐกิจและ บริการเชิงสร้างสรรค์ / ด้านปศุสัตว์ / ด้านประมง ไม่น้อยกว่า 200 ท้องถิ่น
ผลลัพธ์ รายได้เงินสดสุทธิทางการเกษตรของ เกษตรกรเฉลี่ยต่อครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. จำนวนท้องถิ่นสินค้าเกษตรและบริการมูลค่าสูง ด้านพืช แมลงเศรษฐกิจและบริการเชิง สร้างสรรค์ / ด้านปศุสัตว์ / ด้านประมง ไม่น้อยกว่า 200 ท้องถิ่น
2. รายได้เงินสดสุทธิทางการเกษตร ของเกษตรกรเฉลี่ยต่อครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10
กลไกการขับเคลื่อนโครงการ ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารนโยบาย สินค้าเกษตรและบริการมูลค่าสูง 1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง , คณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสินค้า เกษตรและบริการมูลค่าสูง 1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง ,คณะกรรมการขับเคลื่อนงาน ด้านการเกษตรระดับจังหวัด (SCP) และคณะทำงานขับเคลื่อนงาน ด้านการเกษตรระดับอำเภอ (SCD)