“รายการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พบเกษตรกร” วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2567 โดย สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอำนาจเจริญ ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์อำนาจเจริญ และ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ (15/11/2567)
15 พ.ย. 2567
44
0
“รายการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พบเกษตรกร”
“รายการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พบเกษตรกร” วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2567 โดย สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอำนาจเจริญ ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์อำนาจเจริญ และ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ (15/11/2567)

            วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.10-10.00 น. นางสาวปารีณา อินทร์เพชร เกษตรและสหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ มอบหมายกลุ่มสารสนเทศการเกษตร ดำเนินรายการวิทยุ “รายการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พบเกษตรกร” ร่วมกับ สัตวแพทย์หญิงณัฐชยา แม้นดวง นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ , นางสาวบุษญารินทร์ โพธิ์วารี เจ้าพนักงานสัตวบาล กลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอำนาจเจริญ และ นายดนุวัฒน์ งามดอน นักวิชาการสัตวบาล ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์อำนาจเจริญ ณ สวท.อำนาจเจริญ เพื่อประชาสัมพันธ์ข่าวสารโครงการ/กิจกรรมของหน่วยงาน ดังต่อไปนี้

 

           1) สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอำนาจเจริญ

           1.1 โรคในสัตว์ที่ควรระวังในช่วงปลายฝนต้นหนาว

          ในช่วงนี้กำลังย่างเข้าสู่ปลายฤดูฝน หรือที่เรียกว่า  ช่วงปลายฝนต้นหนาว  อากาศเริ่มหนาวเย็นลง  แต่ยังมีฝนตกชุกในบางพื้นที่  ซึ่งสภาวะอากาศเช่นนี้มีผลทำให้สัตว์เลี้ยงของเกษตรกรมีสุขภาพอ่อนแอและเจ็บป่วยได้  โรคที่เกิดกับสัตว์ในช่วงนี้เป็นโรคที่ต่อเนื่องมาจากฤดูฝน 

ในสุนัขและแมว โดยสามารถสวมเสื้อผ้าให้น้องๆ หาที่นอนหรือที่บังลมให้เพื่อสร้างความอบอุ่นให้กับสุนัขและแมว ช่วงนี้ยังคงเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่ และมีโครงการกวาดล้างโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากประเทศไทย โดยทางกรมปศุสัตว์ได้จัดให้ลงพื้นที่ในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเพื่อป้องการการเกิดโรคในพื้นที่ ทั้งนี้ ผู้ฟังท่านใดที่มีสุนัข แมว ที่มีอายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้ โดยจะฉีดเข็มแรกที่อายุ 3 เดือน กระตุ้นเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 1 เดือน จากนั้นให้ฉีดเป็นประจำทุกปี โดยสามารถฉีดได้กับทางอบต หรือติดต่อ สนง ปศอ ในพื้นที่ หรือคลินิกใกล้บ้าน และอีก 1 วิธี ที่ป้องกันการเกิดพิษสุนัขบ้าและเป็นการควบคุมประชากรได้คือการทำหมันในสุนัขและแมว โดยสามารถทำได้ตั้งแต่   อายุ 6 เดือน

             ในโค-กระบือ มักเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจเป็นส่วนใหญ่ 

             1. โรคปากและเท้าเปื่อย  อาการที่พบ  เกิดตุ่มใสในปาก  ลิ้น  เต้านม  และเท้า  ต่อมาตุ่มใสจะแตกเป็นแผล  สัตว์จะเจ็บปาก  น้ำลายไหล  เต้านมอักเสบ  กีบเท้าเปื่อยและหลุด  สัตว์ท้องอาจแท้งได้  ในลุกสัตว์มีโอกาสตายสูง  ไม่มียารักษาเฉพาะโรค  แต่จะรักษาตามอาการ

             2. โรคเฮโมรายิกเซฟติซีมีย (โรคคอบวม)  เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรีย อาการที่พบ  มีไข้สูง ซึม  เบื่ออาหาร  น้ำลายไหล  น้ำตาและน้ำมูกไหล  บวมน้ำที่คอและใต้คาง  หอบหายใจ ไอ  ป่วยตายได้กะทันหัน  โดยเฉพาะในกระบือ

             3. โรคแอนแทรกซ์ โค กระบือ และแกะ ที่ป่วยเป็นโรคแบบเฉียบพลันมีลักษณะสำคัญคือ สัตว์ป่วยจะตายอย่างรวดเร็ว มีเลือดสีดำคล้ำไหลออกตามทวารต่างๆ ซากไม่แข็งตัว โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ แบซิลลัส แอนทราซิส (Bacillus anthracis) พบมากในช่วงการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล สัตว์ที่เป็นโรคนี้ส่วนมากเกิดจากการหายใจเอาสปอร์ของเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนอยู่ในดินหรือหญ้าเข้าสู่ร่างกาย หรืออาจเกิดจากการกินน้ำและอาหารที่มีเชื้อปะปนอยู่เข้าไป 

           การป้องกัน

           1) โรคปากและเท้าเปื่อยและโรคเฮโมรายิกเซฟติซีเมีย  ให้นำสัตว์รับการฉีดวัคซีนตั้งแต่     อายุ 4 – 6 เดือน แล้วฉีดป้องกันทุก 6 เดือน  และฉีดซ้ำตามที่กรมปศุสัตว์กำหนด

           2) แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันทีหากพบสัตว์ป่วย เพื่อรักษาและควบคุมโรค มิให้แพร่กระจาย              ไม่ควรผ่าซาก

           3) การกำจัดโรคที่ดีที่สุด คือ การกำจัดสัตว์ป่วยทิ้ง  ซึ่งต้องอยู่ภายใต้การควบคุมกำกับดูแลของสัตวแพทย์กรมปศุสัตว์  ทั้งนี้เพื่อพิจารณาเบิกจ่ายค่าชดใช้ในการทำลายสัตว์ป่วยในกรณีเกิดโรคระบาด

 

          4. โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก

          เกิดจากเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซาเอ เชื้อไวรัสไข้หวัดนกเป็นชนิด type a เชื้อโรคนี้ เป็นโรคสัตว์ติดคน

 

          การติดต่อ เชื้อโรคนี้อยู่ได้ในสัตว์ปีก เช่น ไก่นก เป็ด ติดต่อได้ผ่านเยื่อบุจมูก ตา หรือปากขณะกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อจากสิ่งคัดหลั่งจากสัตว์ป่วย เช่นอุจจาระ น้ำมูก น้ำตา น้ำลาย หรือการสัมผัสสัตว์ปีกที่ป่วย หรือตายโดยตรง

 

          อาการหงอนและเหนียงเปลี่ยนเป็นสีม่วงมีจุดเลือดออกตามแข้ง ท้องเสีย ขนยุ่ง ซึม  เบื่ออาหารไข่ลด ไข่ผิดรูป

 

          การป้องกัน

            เลี้ยงสัตว์ให้มีสุขภาพแข็งแรง ให้อาหารที่มีคุณภาพ ทำวัคซีนป้องกันโรคตามระยะเวลากำหนด โรงเรือนมีที่ป้องกันลมและฝนได้ มีตาข่ายและรั้วล้อมป้องกันสัตว์อื่นเข้าแยกสัตว์เลี้ยงสัตว์ปีกที่เข้ามาใหม่ หรือนำไปชนแล้วกลับมาเป็นระยะ 7 วันก่อนนำเข้าฝูง มีอ่างน้ำยาจุ่มเท้าก่อนเข้าออมฟาร์ม

 

            เมื่อพบสัตว์ป่วยตาย แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ใกล้บ้านทันที แยกตัวป่วยออกจากฝูง ทำลายและฝังกลบซากพร้อมพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ ห้ามนำซากสัตว์ปีกที่ป่วยตายมาปรุงอาหารโดยเด็ดขาด เข้มงวดในระบบความปลอดภัยทางชีวภาพิเช่นไม่เคลื่อนย้ายสัตว์ปีกเข้าออกฟาร์มล้างมือด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคหลังสัมผัสสัตว์ปีก

           ติดต่อ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอำนาจเจริญ 045-525650

  

           2) ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์อำนาจเจริญ ที่ตั้ง ถนนชยางกูร ตำบลโนนหนามแท่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ โทร 045-541-242  ให้คำแนะนำเรื่อง

           2.1 การจัดการอาหารโคขุน เพื่อผลิตเนื้อคุณภาพสูง

           2.2 การผลิตข้าวโพดพร้อมฝักเพื่อเป็นอาหารสัตว์

           2.3 การผลิตใบมันสำปะหลังกิ่งเขียวเพื่อเป็นอาหารสัตว์

           2.4 ฐานการเรียนรู้ใน ศวอ.อำนาจเจริญ โครงการบริการดีๆ ต่างๆ ภายในศูนย์ฯ

ตกลง