สนง.กษ.อำนาจเจริญ จัดฝึกอบรมโครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรชีวภาพ(สมุนไพร)จังหวัดอำนาจเจริญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 “วันที่ 2”
17 ธ.ค. 2567
20
0
สนง.กษ.อำนาจเจริญจัดฝึกอบรมโครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรชีวภาพ(สมุนไพร)จังหวัดอำนาจเจริญ
สนง.กษ.อำนาจเจริญ จัดฝึกอบรมโครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรชีวภาพ(สมุนไพร)จังหวัดอำนาจเจริญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 “วันที่ 2”

          วันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2567 นางปารีณา สอนอาจ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ มอบหมายนายจิรทัต สวรรคทัต หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์พัฒนาการเกษตร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กลุ่มฯ สำนักงานฯ จัดฝึกอบรมโครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรชีวภาพ(สมุนไพร)จังหวัดอำนาจเจริญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 กิจกรรม : ยกระดับการผลิตพืชสมุนไพรในเมืองสมุนไพร ส่งเสริมสนับสนุนองค์ความรู้ในการผลิตพืชสมุนไพรให้มีคุณภาพมาตรฐาน  เกษตรกรเป้าหมาย จำนวน 30 ราย  “วันที่ 2 ” ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ตำบลป่าก่อ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ  โดยช่วงเช้าเวลา 09.00 น. เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอำนาจเจริญ มาให้ความรู้ในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพองค์ความรู้ด้านการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่มาตรฐานการปฏิบัติการที่ดีและเหมาะสมของพืชสมุนไพร (Pre GAP) หรือสูงกว่า เช่น การตรวจประเมินเบื้องต้น (Pre Audit) ตามมาตรฐาน GAP พืชสมุนไพร จากนั้น เวลา 11.00 น. เจ้าหน้าที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอำนาจเจริญ มาให้ความรู้ในเรื่องการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) , การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเข้าสู่ระบบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร พืชสมุนไพร และช่วงบ่าย เวลา 13.00 น. เจ้าหน้าที่ศูนย์แพทย์แผนไทยพนา มาให้ความรู้ในเรื่องการแปรรูปผลผลิตพืชสมุนไพร เทคโนโลยีและนวัตกรรมการแปรรูปสมุนไพรเพื่อสร้างมูลค่า การเชื่อมโยงตลาดกับศูนย์แพทย์แผนไทยพนา และการแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพื่อสร้างมูลค่า

          โครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรชีวภาพ(สมุนไพร)จังหวัดอำนาจเจริญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกกรในกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน หรือแปลงใหญ่ ให้ผลิตพืชสมุนไพรที่มีคุณภาพสู่มาตรฐาน GAP หรือ เกษตรอินทรีย์ หรือมาตรฐานอื่นๆ และมีวิธีการทำให้สมุนไพรได้สารสำคัญ รวมถึงการพัฒนาต้นแบบการผลิตสมุนไพรและมีการทำแผนธุรกิจ (Business Model) สมุนไพร ส่งผลให้เกษตรกรเป้าหมายเกิดความเข้มแข็งทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการผลิตพืชสมุนไพรที่มีคุณภาพสามารถเข้าสู่ตลาด ส่งผลให้เกิดความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ  และมอบนโยบายในการส่งเสริมและและพัฒนาสินค้าเกษตรชีวภาพ(สมุนไพร)จังหวัดอำนาจเจริญ ให้แก่เกษตรกรร่วมโครงการฯ

ตกลง