สถานการณ์ด้านการเกษตรและราคาสินค้าด้านการเกษตร
25 มิ.ย. 2567
8
0
สถานการณ์ด้านการเกษตรและราคาสินค้าด้านการเกษตร
สถานการณ์ด้านการเกษตรและราคาสินค้าด้านการเกษตร

สถานการณ์ด้านการเกษตรและราคาสินค้าด้านการเกษตร

พืช 3 หัว ปีการผลิต 2566-67 (หอมหัวใหญ่ กระเทียม หอมแดง)

เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ (นายเจริญ พิมพ์ขาล) สถานการณ์การผลิตพืชเศรษฐกิจ ที่สำคัญ ปี 2566/2567 จังหวัดเชียงใหม่

- หอมแดงปริมาณผลผลิตที่เก็บเกี่ยวแล้ว 28,353 ตัน คงเหลือ 3,675 ตัน จากผลผลิตทั้งหมด 32,028 ตัน ราคาเฉลี่ย 18 บาทต่อกิโลกรัม แนวโน้มราคาเพิ่มขึ้น

- ข้าวเหนียว ปริมาณผลผลิตที่เก็บเกี่ยวแล้ว 20,638 ตัน คงเหลือ 61,913 ตัน จากผลผลิตทั้งหมด 82,551 ตัน ราคา 9.5 - 9.6 บาทต่อกิโลกรัม แนวโน้มราคาคงที่

       พาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ (นางนัยนภัส สังขนุกิจ)

        สถานการณ์การตลาดข้าวนาปรัง ปีการผลิต 2566-67 จังหวัดเชียงใหม่

ปัจจุบันเกษตรในพื้นที่อำเภอสันป่าตอง หางดง แม่ริม ดอยสะเก็ด สันกำแพง มีการเก็บเกี่ยว ผลผลิตข้าวเพิ่มมากขึ้น ผลผลิตข้าวเปลือกที่ออกสู่ตลาดช่วงนี้ยังเป็นพันธุ์สันป่าตอง 1 ราคาข้าวเปลือก ช่วงสัปดาห์นี้มีราคาปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 400 - 500 บาทต่อตัน ระดับราคา รับซื้อ ข้าวเปลือกเหนียว ความชื้น 28 % ขึ้นไป ตันละ 9,600 – 10,000 บาท อย่างไรก็ตามราคาที่เกษตรกร ได้รับขึ้นอยู่กับคุณภาพและสิ่งเจือปนด้วย

ซึ่งขณะนี้มีผลผลิตข้าวนาปรัง ปีการผลิต 2566/67 จังหวัดเชียงใหม่ ออกสู่ตลาดแล้ว ร้อยละ 25 (คิดเป็น 20,637 ตัน) ผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนพฤษภาคม ร้อยละ 57 เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา ผู้ประกอบการกังวลว่าจะได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญรุนแรง ทำให้ผลผลิต ในประเทศเกิดความเสียหายจากภัยแล้ง จึงทำให้ตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีการรับซื้อข้าวนาปรัง ต้นฤดูซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง เป็นจำนวน มากเก็บไว้ในราคาสูง แต่ขณะนี้ผู้ผลิตข้าวหลายประเทศ มีผลผลิตออกมามาก เช่นประเทศ เวียดนาม อยู่ในช่วงเก็บเกี่ยวข้าวนาปี และเป็นช่วงพีก ขณะที่ปัจจุบันข้าวนาปรังต้นฤดูในพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในช่วงเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิต ทำให้ได้รับผลกระทบ ราคาอ่อนตัวกว่าช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเป็นไปตามภาวะปกติของกลไกการตลาด ขณะนี้ราคา ปัจจุบันข้าวเปลือกเหนียว ความชื้นไม่เกิน 25 % อยู่ที่กิโลกรัมละ 9.60 – 10.00 บาท ซึ่งสำนักงานพาณิชย์ จังหวัดเชียงใหม่จะมีการติดตามสถานการณ์ข้าวนาปรัง ปีการผลิต 2566-67 อย่างต่อเนื่อง

        สถานการณ์ผลิต และตลาดมะม่วง ปีการผลิต 2567

ประมาณการพื้นที่ปลูกมะม่วง ปีการผลิต 2567 เนื้อที่ยืนต้น 73,027 ไร่ ลดลงร้อยละ 0.05เนื้อที่ให้ผล 70,679 ไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ผลผลิต 74,568 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.93 ผลผลิตเฉลี่ย 1,055 กก.ต่อไร่ ลดลงร้อยละ 0.19 ปัจจุบันเริ่มมีมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง ในอำเภอพร้าว ออกสู่ตลาดบ้างเล็กน้อย ราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ระหว่าง 45 – 60 บาท/กก. เนื่องจากผลผลิตในช่วงต้นฤดู ผิวไม่สวยเท่ากับฤดูกาลที่ผ่านมา ในขณะที่มะม่วงแฟนซีอาทิเช่น พันธุ์จิงหวง พันธุ์อาร์ทูอีทูและพันธุ์แดง จักรพรรดิ ออกสู่ตลาดแล้วเล็กน้อย ในพื้นที่อำเภอดอยหล่อและอำเภอจอมทอง มีราคารับซื้อในช่วงต้นฤดูกาล ค่อนข้างสูง ได้แก่ พันธุ์ R2E2 รับซื้อ 3 เกรด ได้แก่ 1) ผิวสวย เกรด น้ำหนัก 5 ขีดต่อลูกขึ้นไป ราคา 34 บาท ต่อ กิโลกรัม 2) ผิวสวยเกรดน้ำหนัก 4-5 ขีด/ลูก ราคา 17 บาท/กิโลกรัม 3) ผิวลาย 10 บาท/กิโลกรัม พันธุ์จินหวง รับซื้อในลักษณะ 2 เกรดได้แก่ 1) เกรดน้ำหนัก 5 ขีดต่อลูกขึ้นไป ราคา 25 บาทต่อกิโลกรัม 2) เกรดน้ำหนัก 4-5 ขีด/ลูก ราคา 10 บาท พันธุ์แดงจักรพรรดิรับซื้อในลักษณะ 2 เกรด 1) เกรดน้ำหนัก 6 ขีด/ลูกขึ้นไป ราคา 21 บาทต่อ กิโลกรัม 2) เกรดน้ำหนัก ต่ำกว่า 6 ขีดต่อลูก ราคา 7 บาทต่อ ขีด

       สถานการณ์ผลิตและตลาดลิ้นจี่ ปีการผลิต 2567

ประมาณการพื้นที่ปลูกลิ้นจี่ ปีการผลิต 2567 พื้นที่ให้ผล 35,071 ไร่ ลดลง 1,656 ไร่ ผลผลิตรวม 19,670 ตัน ลดลง 3,182 ตัน ผลผลิตต่อไร่ 561 กิโลกรัม ลดลง 61 กิโลกรัม คาดการณ์ การเก็บเกี่ยวผลผลิตลิ้นจี่ ปริมาณผลผลิตลิ้นจี่ลดลงจากปีที่ผ่าน เนื่องจากปีนี้สภาพอากาศไม่หนาวเย็นพอที่จะ ชักการออกดอกของลิ้นจี่ ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ติดดอกลดลง โดยจะคาดว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่ช่วงเดือน พฤษภาคม - กรกฎาคม 2567 ซึ่งเกษตรกรจะมีการเก็บเกี่ยว ผลผลิตลิ้นจี่ สูงสุดในช่วงเดือนมิถุนายน 2567 ประมาณร้อยละ 55.74 พื้นที่ที่มีการปลูกมากในพื้นที่อำเภอฝาง แม่อาย ไชยปราการ แม่แตง แม่แตง แม่ริม ตามลำดับ ทั้งนี้เกษตรกรจะเริ่มเกี่ยวเก็บลิ้นจี่ พันธุ์ฮงฮวยภายในต้นพฤษภาคม 2567

       สถานการณ์ผลิต และตลาดลำไย ปีการผลิต 2567

ประมาณการพื้นที่ปลูกลำไย ปีการผลิต 2567 เนื้อที่ยืนต้น 449,651 ไร่ ลดลง 0.84 % เนื้อที่ให้ผล 448,009 ไร่ลดลง 0.06 % ผลผลิต 458,091 ตัน เพิ่มขึ้น 6.2% ผลผลิตเฉลี่ย 1,023 กก.ต่อ ไร่ เพิ่มขึ้น 6.34 % คาดการณ์การเก็บเกี่ยวผลผลิตลำไย ในฤดูเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อน แห้งแล้งในช่วงที่ลำไยติดดอก ทำให้ลำไยออกดอกและติดผลช้า โดยเก็บเกี่ยวช่วงเดือนมิถุนายน - กันยายน 2567 ซึ่งเกษตรกรจะมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตลำไย สูงสุดในช่วงเดือนสิงหาคม 2567 ประมาณร้อยละ 31.97 ส่วนใหญ่ปลูกในพื้นที่อำเภอพร้าว เชียงดาว จอมทอง สันป่าตอง ไชยปราการ แม่แตง สารภี เป็นต้นสำหรับลำไย นอกฤดูจะทยอยให้ผลผลิตตลอดปี ช่วงเก็บเกี่ยวมากที่สุดในเดือนธันวาคม ขณะนี้ลำไยในฤดูผลผลิต ปี 2567 ยังไม่ออกสู่ตลาด

ตกลง