แนะวิธีการจัดการโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียนโดยวิธีผสมผสาน
1 ต.ค. 2567
623
0
แนะวิธีการจัดการโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียนโดยวิธีผสมผสาน
แนะวิธีการจัดการโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียนโดยวิธีผสมผสาน

แนะวิธีการจัดการโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียนโดยวิธีผสมผสาน

การจัดการโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียน เป็นการนำวิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสมมาใช้ในการจัดการ ดังนี้
     1. ใช้วิธีเขตกรรมที่เหมาะสม เช่น การรักษาความสะอาด สุขอนามัยพืช ใช้ต้นกล้าปลอดโรค ปรับให้พื้นที่ปลูกมีการระบายน้ำได้ดี เช่น ทำร่องระบายน้ำในบริเวณที่เป็นพื้นที่ต่ำ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง หากเกิดน้ำท่วมขังต้องรีบระบายน้ าออกให้เร็วที่สุด
     2. ตัดแต่งทำลายกิ่งที่เป็นโรคและตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อให้เกิดการถ่ายเทอากาศและแสงแดดส่องถึง หลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจทำให้รากหรือลำต้นเกิดแผล ซึ่งจะเป็นช่องทางให้เชื้อราสาเหตุโรคพืชเข้าทำลายได้ง่าย
     3. ต้นทุเรียนที่เป็นโรครุนแรงมาก หรือยืนต้นแห้งตาย ต้องขุดออก แล้วนำไปทำลายนอกแปลงปลูก ตากดินไว้ระยะหนึ่ง แล้วจึงปลูกพืชทดแทน
     4. ใช้ต้นตอ หรือเสริมรากทุเรียนพันธุ์ดีด้วยพันธุ์พื้นเมืองซึ่งเพาะจากเมล็ด ทำให้มีต้นตอ 2-3 ต้น ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสที่ต้นตอบางต้นอาจรอดพ้นจากการเข้าทำลายของเชื้อราสาเหตุ
     5. ไม่นำเครื่องมือตัดแต่งที่ใช้กับต้นทุเรียนที่เป็นโรคไปใช้ต่อกับต้นปกติ ควรทำความสะอาดเครื่องมือโดยจุ่มด้วยคลอร็อกซ์ (clorox) 10% หรือแอลกอฮอล์ 70% นานประมาณ 5-10 นาที ก่อนนำไปใช้ใหม่ทุกครั้ง
     6. หมั่นสำรวจสวนเป็นประจำ บำรุงพืชให้แข็งแรงสมบูรณ์ เสริมสร้างความสมบูรณ์ของต้น โดยการใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-16 หรือ 15-15-15 หากพบว่าต้นมีความสมบูรณ์มากเกินไป ควรเปลี่ยนเป็นปุ๋ยที่มีไนโตรเจนต่ำ เช่น 8-24-24 9-24-24 หรือ 13-13-21 เพื่อให้ต้นมีความแข็งแรง ไม่อ่อนแอต่อโรค และพ่นด้วยปุ๋ยทางใบที่มีธาตุรองหรือจุลธาตุอย่างน้อย 1-2 ครั้ง เพื่อให้เกิดสมดุลของธาตุอาหารและทำ ให้ต้นแข็งแรงมีความต้านทานต่อโรค
     7. หลีกเลี่ยงไม่ปลูกพืชที่อาจเป็นพืชอาศัยของเชื้อราสาเหตุโรครากเน่าโคนเน่าในบริเวณสวนทุเรียน เช่น พริกไทย
     8. การลดปริมาณเชื้อราสาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่าในดิน มีวิธีปฏิบัติการดังนี้
         8.1 ตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เก็บชิ้นส่วนของใบ เปลือก หรือผลเน่าที่ร่วงหล่นบริเวณโคนต้นออกนอกแปลง โดยการใส่ถุงพลาสติก น าออกตากแดดแล้วทำลายในภายหลัง ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ในสวนอย่างเด็ดขาด เพื่อลดปริมาณประชากรของราที่อาศัยนอกฤดูที่อาจเป็นแหล่งกำเนิดของโรคในฤดูต่อไปได้
         8.2 ตรวจวิเคราะห์ดินหาความเป็นกรด-ด่าง (pH) แล้วปรับให้อยู่ในค่าที่เหมาะสมต่อการปลูกทุเรียน คือ 5.5-6.5 โดยการหว่านด้วยปูนขาว หรือปูนโดโลไมท์หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ความเป็นกรด-ด่าง ของดินที่พบโรคมักมีค่าประมาณ 4-4.5 ซึ่งดินที่มีความเป็นกรดในระดับดังกล่าว พืชจะไม่สามารถใช้ดูดหรือใช้อาหารได้ อีกทั้งเหมาะต่อการเจริญของเชื้อรา Phytophthora
         8.3 การควบคุมหรือลดปริมาณของเชื้อรา Phytophthora สามารถทำได้โดยใช้โดยชีววิธี ได้แก่
            8.3.1 การใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือเศษซากพืชคลุมดิน เพื่อส่งเสริมให้จุลินทรีย์ที่มีอยู่หลายชนิดในดินเพิ่มปริมาณ ท าให้เกิดการแก่งแย่งกับจุลินทรีย์สาเหตุโรคพืช
            8.3.2 ใส่จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ลงในดินโดยตรง เช่น เชื้อรา Trichoderma ชนิดสดที่ทำการขยายเชื้อโดยใช้ข้าวสุก โดยใช้เชื้อสดจ านวน 1 กิโลกรัม ผสมกับรำข้าว 5 กิโลกรัม ปุ๋ยหมัก 40 กิโลกรัม ผสมให้เข้ากันและนำไปโรยบนดินบริเวณใต้ทรงพุ่มของทุเรียนที่มีรากฝอยขึ้นอยู่ ต้นทุเรียนที่มีอายุ 1-5 ปี ใช้อัตรา 2-3 กิโลกรัมต่อต้น ส่วนต้นที่มีอายุมากกว่า 5 ปี ขึ้นไป ให้ใช้อัตรา 5 กิโลกรัมต่อต้น หรือสามารถรองก้นหลุมก่อนปลูกพืช ในอัตรา 50-100 กรัมต่อตารางเมตร แล้วใช้เศษซากพืชกลบทับ ปีละ 1-2 ครั้ง จะให้ผลดียิ่งขึ้น หรือลดปริมาณเชื้อโรคที่อยู่บนกิ่งและล าต้น โดยใช้เชื้อ Bacillus subtilis ในรูปผง ผสมน้ำ อัตรา 100-150 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ทาบนแผลเน่า โดยต้องถากเปลือกออกบาง ๆ ก่อน แม้การใช้เชื้อจุลินทรีย์จะไม่สามารถรักษาให้ทุเรียนหายจากโรคได้รวดเร็วเหมือนการใช้สารเคมี แต่ได้ประโยชน์ในแง่ของการรักษาสภาพแวดล้อมและสมดุลของธรรมชาติ และลดปริมาณสารเคมีที่อาจปนเปื้อนไปกับผลผลิตได้
            8.3.3 กรณีทุเรียนที่ปลูกใหม่ในพื้นที่ที่มีการระบาดโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียน ใช้ก้อนเชื้อเห็ดเรืองแสงรองก้นหลุมก่อนปลูก อัตรา 40 กรัมต่อต้น
       8.4 การควบคุมหรือลดปริมาณของเชื้อรา Phytophthora โดยใช้โดยใช้สารเคมี
            8.4.1 การลดปริมาณของเชื้อในดินโดยโรย เมทาแลกซิล (metalaxyl) ชนิดเม็ดบริเวณใต้ทรงพุ่ม
            8.4.2 การลดปริมาณเชื้อในต้นพืช จากผลการทดสอบรดดินหรือพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชในสภาพการเกิดโรคโดยการปลูกเชื้อราสาเหตุนั้น พบว่าไม่สามารถรักษาโรคที่โคนหรือลำต้นให้หายได้ การทาด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่การรักษาโรคจะได้ผลก็ต่อเมื่อเกษตรกรต้องหมั่นตรวจตราต้นทุเรียนในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ซึ่งเชื้อราจะเริ่มระบาดเข้าทำลายต้นทุเรียน เมื่อพบอาการของโรคตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ให้รีบดำเนินการรักษาแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้การรักษาประสบความสำเร็จโดยง่ายและไม่สิ้นเปลืองมาก หากปล่อยใช้เชื้อโรคลุกลามเข้าทำลายต้นอย่างกว้างขวางจนแผลมีขนาดใหญ่ การรักษาจะทำได้ยากและสิ้นเปลืองมากขึ้น ต้นชะงักการเจริญเติบโตมีอาการทรุดโทรม ต้องใช้เวลาพักฟื้นนานกว่าที่จะฟื้นตัวและแข็งแรงจนให้ดอกผลตามปกติได้ ถ้าพบอาการโรคไม่มากนัก การรักษาอาการโรคโคนเน่า หรือลำต้นเน่า หรือกิ่งเน่า ให้ถากเอาส่วนที่เป็นโรคออกให้หมดจนถึงเนื้อไม้ส่วนที่ยังมีสภาพดี หลังจากนั้นทารอยแผลด้วยปูนแดง หรือสารป้องกันกำจัดโรคพืชประเภทสารประกอบทองแดง เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ (copper oxychloride) 85% WP อัตรา 45-60 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร เพื่อป้องกันเชื้อโรคอื่นเข้าทำลายภายหลัง

     หากพบอาการโรคลุกลามมาก ให้ถากบริเวณที่เน่าเสียออกบาง ๆ เก็บรวบรวมส่วนต่าง ๆ ของลำต้นที่เป็นโรคที่ถากออกไปทำลายนอกแปลง การถากเอาส่วนที่เป็นโรคออกนั้น นอกจากไม่สามารถกำจัดส่วนที่เป็นโรคออกได้อย่างหมดจด ยังอาจทำให้ต้นทรุดโทรมได้ง่าย เนื่องจากท่อน้ำท่ออาหารถูกตัดขาดมากเกินไป หลังจากขูดหรือถากต้น จากนั้นให้ทาด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชประเภทดูซึมที่มีประสิทธิภาพเฉพาะกับเชื้อรา Phytophthora เช่น เมทาแลกซิล (metalaxyl) 25% WP อัตรา 50-60 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร หรือ เมทาแลกซิล (metalaxyl) 35% SD อัตรา 45 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร หรือ ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม (fosetyl-aluminum) 80% WP อัตรา 80-150 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร เป็นต้น หลังจากทาสารป้องกันก าจัดโรคพืชแล้ว จากนั้นประมาณ 15-20 วัน ควรตรวจดูแผลที่ทาไว้ หากยังมีลักษณะฉ่ำน้ำ ควรทาซ้ำอีก 3-4 ครั้ง หรือจนกว่าแผลจะแห้ง หากพบโรคมีอาการรุนแรง ให้ใช้ ฟอสโฟนิก แอซิค (phosphonic acid) 40% SL ฉีดเข้าลำต้นหรือกิ่งใหญ่บริเวณตรงข้ามกับส่วนที่เป็นโรคหรือส่วนที่เป็นไม้เนื้อดี ใกล้บริเวณที่เป็นโรค และ/หรือ ฉีดเข้าลำ ต้นเหนือระดับดิน การใช้สารนี้ทำโดยผสมสารกับน้ำสะอาด ในอัตราส่วน 1:1 ใส่ในกระบอกฉีดยาขนาดความจุประมาณ 50 ซีซี เจาะเปลือกลำต้นสูงกว่าพื้นดินประมาณ 1-2 ฟุต ด้วยสว่าน 2 หุน เจาะให้เฉียงลงเล็กน้อย ลึกประมาณ 11/2 -2 นิ้ว หรือ 4-5 เซนติเมตร ขนาดของรูที่เจาะต้องพอดีกับปลายของกระบอกฉีดยา อัดฉีดน้ำยาเข้าไปในต้นที่เป็นโรคอย่างช้า ๆ จนหมด ภายใน 10-20 นาที ระวังอย่าให้ยาไหลซึมออกมาภายนอก หลังจากนั้นอุดรูที่เจาะด้วยปูนแดง ปริมาณน้ำยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับขนาดของเส้นรอบวงของลำต้นทุเรียน ต้นทุเรียนอายุ 7-8 ปี ใช้น้ำยาประมาณ 1 กระบอกฉีดยา

     ถ้าต้นทุเรียนอายุ 10 ปี ขึ้นไปและวัดเส้นรอบวงได้ประมาณ 65 เซนติเมตร ก็จำเป็นต้องฉีดสารผสมนี้ 3-4 กระบอกฉีดต่อต้น ส่วนความถี่ของการฉีดยานั้นพิจารณาจากระดับการเป็นโรคว่าเป็นมากหรือน้อย ถ้าเป็นโรคมากมีต้นโทรม ทิ้งใบเกิน 50% ก็จำเป็นต้องฉีดทุก 1-2 เดือน จนกว่าจะฟื้นเป็นปกติ ทั้งนี้การปฏิบัติควรทำในช่วงเช้า ซึ่งพืชกำลังสังเคราะห์อาหาร และเวลาที่ใช้ได้ดีที่สุดคือ ตั้งแต่ช่วงต้นฝนถึงปลายฝน ในฤดูร้อนหรือหน้าแล้ง วิธีการนี้นับว่าเป็นวิธีการควบคุมโดยการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพมาก หลังการฉีดสารประมาณ 1-2 เดือน อาการเน่าของเปลือกจะค่อย ๆ แห้ง ในกรณีที่ต้นเป็นโรครุนแรงมาก ๆ อาจใช้วิธีอัดฉีดสารป้องกันกำจัดโรคพืชเข้าต้นร่วมกับการทาแผลเน่าที่ลำต้นและโคนด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช

     สำหรับอาการรากเน่า หากพบการระบาดของโรคไม่รุนแรงมากนัก ให้ใช้ เมทาแลกซิล (metalaxyl) 25% WP หรือ 35% SD) อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟอสอีทิล-อลูมิเนียม (fosetyl-aluminum) 80% WP อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ราดให้ทั่วผิวดินบริเวณใต้ทรงพุ่ม หรือหว่านด้วย เมทาแลกซิล (metalaxyl) 5% G อัตรา 40 กรัมต่อตารางเมตร การพ่นหรือราดดินด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชชนิดต่างๆ ทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี เพื่อป้องกันการเกิดโรคกับต้นทุเรียนปกติ นอกจากเป็นการสิ้นเปลืองแล้ว เชื้อราสาเหตุโรคในดิน เมื่อได้รับหรือสัมผัสกับสารเคมีบ่อยครั้ง จะมีโอกาสในการพัฒนาสายพันธุ์ที่ต้านทานหรือดื้อต่อสารป้องกันกำ จัดโรคพืชได้ และอาจป้องกันกำจัดได้ยากขึ้นในอนาคต หรือใช้ ฟอสโฟนิก แอซิค (phosphonic acid) 40% SL ฉีดเข้าลำต้น ในอัตรา 1:1 จากนั้นเมื่อพืชฟื้นตัว ให้บำรุงโดยการกระตุ้นให้รากงอกและเร่งการพัฒนา โดยการกระตุ้นให้รากงอกและเร่งการพัฒนา โดยการให้ปุ๋ยเกร็ดที่มีธาตุหลัก (N P K) เช่นสูตร 15-30-15 หรือ 20-20-20 อัตรา 60 กรัม ผสมกับกรดฮิวมิคชนิดน้ำ อัตรา 100-200 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร หรือใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 20-20-20 อัตรา 2-3 กิโลกรัมต่อต้น ร่วมกับกรดฮิวมิคชนิดเม็ดอัตรา 200-300 กรัมต่อต้น ราดหรือหว่านใต้ทรงพุ่มให้ทั่ว

     สำหรับการเกิดโรคที่ใบเช่น ใบจุด ใบไหม้ หรือใบติด หากพบการเกิดโรคที่รุนแรง ควรใช้สารป้องกันกำจัดตามคำแนะนำ พ่นให้ทั่วทั้งภายนอกและภายในทรงพุ่มทุก 1-2 เดือน และสำหรับโรคที่ผล ในช่วงใกล้เก็บเกี่ยวผล โดยเฉพาะในช่วงที่มีฝนตกช่วง หรือมีความชื้นในอากาศสูง เชื้อสาเหตุโรคอาจติดกับผลโดยยังไม่แสดงอาการ การเก็บเกี่ยวต้องระมัดระวังไม่ไห้ผลสัมผัสดิน หรือปูพื้นดินบริเวณที่จะวางผลด้วยวัสดุ หรือกระสอบที่สะอาด เพื่อลดโอกาสที่ผลจะสัมผัสกับดิน การขนย้ายต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดบาดแผลที่จะเกิดขึ้นกับผล หมั่นสำรวจตรวจผลในแปลงอย่างสม่ำเสมอทุกต้น 7 วันต่อครั้ง หากพบผลเน่า 1 ผลต่อต้น ให้ตัดผลที่เป็นโรคนำ ไปทำลายนอกแปลงปลูก โรคผลเน่าสามารถป้องกันกำจัดได้โดยใช้สารเคมีเช่นเดียวกับที่ใช้สำหรับการเกิดโรคที่ใบ พ่นให้ทั่วทรงพุ่ม 1-2 ครั้ง ในช่วง 1 เดือน ก่อนการเก็บเกี่ยว และพ่นครั้งสุดท้ายก่อนการเก็บผลไม่น้อยกว่า 20 วัน
9. หมั่นตรวจดูตามลำต้นของทุเรียน ถ้าพบกิ่งแห้งที่ถูกมอดทำลายร่วมด้วย ควรตัดและทำลายทิ้งเสีย อย่าปล่อยทิ้งไว้ให้มอดขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณและระบาดไปยังต้นอื่น

ที่มา เอกสารวิชาการองค์ความรู้เรื่อง “โรคทุเรียน” กรมวิชาการเกษตร

ตกลง