การจัดการเพื่อให้ได้มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองคุณภาพเพื่อการส่งออก
การจัดการเพื่อให้ได้มะม่วงคุณภาพเพื่อการส่งออกเกษตรกรจะเน้นผลิตมะม่วงนอกฤดูที่มีคุณภาพดีเพื่อการส่งออกเป็นหลัก จะใช้วิธีการราดสารเพื่อบังคับให้มะม่วงออกดอกติดผลในระยะเวลาที่ต้องการ มีการ วางแผนการผลิต และการจัดการเพื่อให้ผลผลิตออกมาให้ได้ตามความต้องการของผู้รับซื้อ
1 การจัดการในระยะก่อนออกดอก หลังจากเกษตรกรเก็บผลผลิตแล้ว จะปล่อยให้ต้นมะม่วงพักตัวประมาณ 2 เดือน จึงทำการตัด แต่งกิ่ง โดยทำการตัดกิ่งกระโดง กิ่งแห้ง กิ่งที่เป็นโรค กิ่งซ้อนทับตำแหน่งกิ่งใหญ่ออก จากนั้นทำการใส่ปุ๋ย ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 1 กก.ต่อต้น ใส่ปุ๋ยคอก อัตรา 20 กก.ต่อต้น โดยใส่ 2 ปีต่อ ครั้ง มีการกระตุ้น การแตกใบอ่อนโดยการพ่นสารไทโอยูเรีย ใช้ระบบน้ำมินิสปริงเกอร์ให้น้ำทุกๆ 3 วัน หลังจากตัดแต่งกิ่งประมาณ 1 เดือน มะม่วงจะเริ่มแตกใบอ่อน เจริญเติบโต และมีความพร้อม
ที่จะเริ่มออกดอกได้ มะม่วงจะพักตัวระยะหนึ่งแล้วจะเริ่มแทงช่อดอก ในระยะนี้ควรเริ่มให้น้ำปริมาณน้อยๆ แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของช่อดอก ทำการป้องกันกำจัดศัตรูพืชตาม คำแนะนำ
2. การชักนำให้ออกดอก
หลังการตัดแต่งกิ่งแล้วมะม่วงจะแตกใบอ่อน ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงกัดกินใบอ่อนเช่น แมลงค่อมทอง แมลงนูน โดยใช้สารคาร์บาริล อัตรา 25 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร และประมาณ 30-45 วันหลังตัด แต่งกิ่งใบอ่อนจะอยู่ในระยะใบเพสลาด โดยตรวจสภาพความพร้อมของใบในกรอบ ลักษณะใบลู่ ก้านใบแผ่กว้าง ไม่ตั้ง ตายอดบวมเต่ง ให้พ่นปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรท อัตรา 200-400 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ราดสารพาโคลบิวทราโซล อัตรา 10 กรัมต่อทรงพุ่ม 1 เมตร พ่นปุ๋ยเกร็ดสูตร 0-52-34 หลังจากนั้นประเมินสภาพต้นหลังการใช้ สารพาโคลบิวทราโซล อย่างน้อย 45 วัน หรือเมื่อใบกรอบ ตายอดบวมเต่ง ดึงช่อดอกโดยใช้โพแทสเซียมไนเตรท อัตรา 200-400 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ประมาณ 10-15 วัน มะม่วงก็จะเริ่มแทงช่อดอก
3.การจัดการระยะติดผลอ่อน
หลังพ่นปุ๋ยเร่งการแทงช่อดอกประมาณ 30 วันตรวจสอบการพัฒนาของดอก การผสมเกสรและตัดแต่งช่อดอกกรณีที่มีดอกมากเกินไปให้พอเหมาะและก าจัดช่อดอกที่ไม่สมบูรณ์ออก รวมถึงการป้องกัน โรคและแมลงที่จะเข้ามาทำลายช่อดอกอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 วัน ในช่วงมะม่วงติดผลเล็กให้ปุ๋ยไนโตรเจน สูง โดยใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 + 46-0-0 ผสมกันในอัตรา 3:1 อัตรา 5 กิโลกรัม ต่อต้น
4. การห่อผล
ทำการตัดแต่งช่อที่มีผลมากเกินไปออกเพื่อก าหนดจ านวนผลต่อต้น จากนั้นจึงห่อผลเพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพดี ปลอดภัยจากแมลงศัตรูพืชโดยเฉพาะแมลงวันผลไม้ และช่วยประเมินปริมาณผลผลิตได้ โดยก่อนห่อผล 1 วันทำการพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงและเชื้อรา ได้แก่ สารอะซอกซิสโตรบิน และ อิมิดาคลอพริด จากนั้นสำรวจแปลงอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูมะม่วงกรณีที่เริ่มพบเท่านั้น ก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 20 วัน ใส่ปุ๋ยสูตรที่มีโปตัสเซียมสูง ได้แก่ สูตร 13-13-21 หรือ 0-0-50 หรือ 0-0-60 อัตรา 5 กิโลกรัมต่อต้น ซึ่งจะทำให้มะม่วงเนื้อแน่นรสชาติดี ห่อผลด้วยกระดาษคาร์บอน ซึ่งการห่อจะแบ่งเป็นรุ่นๆ โดยการทำ เครื่องหมายไว้ที่ถุงห่อ
5 การเก็บเกี่ยว
อายุการเก็บเกี่ยวมีผลต่อคุณภาพมะม่วง และระยะเวลา การวางจ าหน่ายรวมทั้งการยอมรับ จากผู้บริโภค
5.1 อายุเก็บเกี่ยวสำหรับมะม่วงเพื่อการบริโภคสด ต้องเก็บเมื่อผลแก่แต่ยังไม่สุก นั่นคือ มะม่วงมีการพัฒนาการทางสรีระมากเพียงพอที่จะสามารถสุกได้เป็นปกติ สังเกตได้จากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่
- นวลที่ผิว รูปทรง สีของผลและสีของเนื้อ
- จำนวนวันหลังจากการติดผลหรือแทงช่อดอกจนถึงเก็บเกี่ยว ได้ข้อมูลจากการประมาณการของปีก่อนๆ แต่สภาพอากาศมีส่วนให้เกิดการคลาดเคลื่อนได้
- ทดสอบโดยการนำมะม่วงแช่น้ำ มะม่วงแก่ความถ่วงจำเพาะมักจะมากกว่าน้ำจึงจมน้ำ
5.2 อายุเก็บเกี่ยวสำหรับมะม่วงแปรรูป
- ต้องเก็บเมื่อแก่จัดแต่ยังไม่สุก มะม่วงที่อ่อน หรือสุกแล้วโรงงานจะไม่รับซื้อ สำหรับผลิตภัณฑ์
ประเภทมะม่วงในน้ำเชื่อม แช่อิ่มอบแห้ง มะม่วงดองเกลือ น้ำมะม่วง
- ใช้มะม่วงได้ทั้ง แก่และอ่อนผลเล็ก ซึ่งอาจเป็นผลกระเทยหรือผลที่ไม่สมบูรณ์ สำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทผลิตภัณฑ์มะม่วงเส้นดองเค็มและอบแห้ง
5.3 วิธีการเก็บเกี่ยว
- ใช้วิธีการปฎิบัติในขณะทำการเก็บเกี่ยวอย่างระมัดระวัง ต้องไม่ทำให้มะม่วงเกิดแผล รอยขีดข่วนแตกหรือเกิดการช้ำ
- กรณีของมะม่วงเพื่อแปรรูปหากต้องมีการเขย่าต้น ต้องอย่าให้มะม่วงตกกระแทกพื้น ต้องมีผ้าใบหรือวัสดุรองรับเพื่อลดการตกกระแทก และปนเปื้อนเศษดิน
- ใช้วิธีการเก็บเกี่ยวให้เหลือขั้วผลยาวป้องกันน้ ายางไหลจากผล
- มีภาชนะรองรับเพื่อสะดวกในการขนย้ายมะม่วง ภาชนะที่ใช้ควรมีวัสดุรองรับแรงที่เกิดจากการกระแทกในระหว่างที่ทำการขนย้ายมะม่วง เช่น ตะกร้าพลาสติกส าหรับผลไม้ที่สามารถวางซ้อนกันได้โดยไม่กดทับมะม่วงในตะกร้าที่อยู่ในชั้นล่าง
- รีบนำมะม่วงที่เก็บเกี่ยวแล้วเข้าร่มและเย็นระหว่างรอการเก็บเกี่ยวให้เสร็จ รีบขนย้ายมะม่วงทั้งหมดไปยังโรงเรือนคัดบรรจุ เพื่อปฎิบัติการหลังการเก็บเกี่ยว
ที่มา กรมวิชาการเกษตร