เตือนการเฝ้าระวัง หนอนชอนใบ ในลำไย ประจำเดือน พฤศจิกายน 2567
14 พ.ย. 2567
4
0
เตือนการเฝ้าระวัง
เตือนการเฝ้าระวัง หนอนชอนใบ ในลำไย ประจำเดือน พฤศจิกายน 2567

เตือนการเฝ้าระวัง หนอนชอนใบ ในลำไย

     สภาพอากาศในช่วงนี้มีฝนตกกระจายทั่วทุกพื้นที่ เตือนผู้ปลูกลำไย ในระยะ แตกใบอ่อน ติดผล ออกดอก รับมือหนอนชอนใบ เข้าทำลายในระยะที่ต้นลำไยแตกใบอ่อน ใบที่ถูกทำลายมีอาการคล้ายโรคใบไหม้ มีสีน้ำตาลแดง โดยที่หนอนเริ่มเจาะที่ฐานเส้นกลางใบแล้วเคลื่อนไปทางปลายใบ ก่อนถึงปลายใบหนอนจะชอนไชเข้าไปในส่วนเนื้อของใบ รอยที่หนอนเจาะเข้าไปจะพบมูลหนอนอยู่ด้วย เมื่อหนอนโตเต็มที่แล้ว จะออกมาเข้าดักแด้ข้างนอกตามใบลำไยโดยชักใยห่อหุ้มตัวเองอยู่ภายใน ถ้ามีการระบาดรุนแรง ใบอ่อนจะถูกหนอนทำลายหมด

แนวทางป้องกัน/แก้ไข
     ๑. รวบรวมยอดอ่อน หรือใบอ่อนที่มีรอยทำลายของหนอนชอนใบ เผาทำลาย
     ๒. เก็บดักแด้ของหนอนชอนใบ ซึ่งเจาะออกมาเข้าดักแด้ตามใบแก่หรือใบเพสลาด นำไปทำลาย
     ๓. ถ้ามีการระบาดของหนอนชอนใบรุนแรงขณะลำไยแตกใบอ่อน ควรพ่นด้วยสารฆ่าแมลง เช่น อิมิดาโคลพริด ๑๐% เอสแอล อัตรา ๘ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร

ที่มา กรมวิชาการเกษตร

ตกลง