เตือนการเฝ้าระวัง แมลงค่อมทอง ในเงาะ ประจำเดือน พฤศจิกายน 2567
15 พ.ย. 2567
4
0
เตือนการเฝ้าระวัง
เตือนการเฝ้าระวัง แมลงค่อมทอง ในเงาะ ประจำเดือน พฤศจิกายน 2567

เตือนการเฝ้าระวัง แมลงค่อมทอง ในเงาะ

     สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นและมีหมอก ในตอนเช้า เตือนผู้ปลูกเงาะ ในระยะ เตรียมต้นก่อนการออกดอก รับมือแมลงค่อมทอง ตัวเต็มวัยกัดกินใบ ยอดอ่อน และดอก ใบที่ถูกทำลายจะเว้าๆ แหว่งๆ ถ้าระบาดรุนแรงจะเหลือแต่ก้านใบ และมีมูลที่ถ่ายออกมาปรากฏให้เห็นตามบริเวณยอด ตัวเต็มวัยเป็นระยะที่สำคัญที่สุด เพราะกัดกินส่วนต่างๆ ของพืช สีของตัวเต็มวัยจะเปลี่ยนไป ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม จึงพบมีหลายสี เช่น สีเหลือง สีเทา สีดำ และสีเขียวปนเหลืองตัวเต็มวัยที่พบบนต้นพืชมักพบเป็นคู่ๆ หรือรวมกันเป็นกลุ่มบนใบ เมื่อต้นพืชถูกกระทบกระเทือน แมลงค่อมทองจะทิ้งตัวลงสู่พื้นดิน

แนวทางป้องกัน/แก้ไข
     ๑. ตัวเต็มวัยของแมลงค่อมทองมีอุปนิสัยชอบทิ้งตัวเมื่อกระทบกระเทือน ใช้ผ้าพลาสติกรองใต้ต้นแล้วเขย่าต้น ตัวเต็มวัยจะหล่นแล้วรวบรวมนำไปทำลาย
     ๒. บริเวณที่พบระบาดควรพ่นด้วยสารฆ่าแมลง คาร์บาริล ๘๕% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา ๖๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร พ่นให้ทั่วในระยะที่เงาะแตกใบอ่อน ๒-๓ ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน ๑๐-๑๔ วัน

ที่มา กรมวิชาการเกษตร

ตกลง