กรมทางหลวงชนบท พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม สร้างสะพานข้ามคลองผันน้ำคลองชุมพร อ.เมือง จ.ชุมพร คืบหน้าเร็วกว่าแผน คาดเสร็จสมบูรณ์ในปี 2567
14 มิ.ย. 2567
74
0
ที่มา : สํานักข่าวสับปะรด
กรมทางหลวงชนบทพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม
กรมทางหลวงชนบท พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม สร้างสะพานข้ามคลองผันน้ำคลองชุมพร อ.เมือง จ.ชุมพร คืบหน้าเร็วกว่าแผน คาดเสร็จสมบูรณ์ในปี 2567

กรมทางหลวงชนบท พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม สร้างสะพานข้ามคลองผันน้ำคลองชุมพร อ.เมือง จ.ชุมพร คืบหน้าเร็วกว่าแผน คาดเสร็จสมบูรณ์ในปี 2567

นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวงชนบท เปิดเผยว่า กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ได้ดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานข้ามคลองผันน้ำคลองชุมพร (กม.12 260) อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ซึ่งปัจจุบันผลงานการก่อสร้าง มีความคืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 70 เร็วกว่าแผน ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างเสาตอม่อและพื้นสะพานช่วงกลางน้ำ โดยสะพานดังกล่าวคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2567 เดิมบริเวณจุดก่อสร้างนี้ เป็นคลองหัวท่า กว้าง 40 เมตร และมีสะพานแหลมญวนประชารักษ์ (ชพ.023) ยาว 80 เมตร เพื่อให้ประชาชนใช้สำหรับเดินทางข้ามลำน้ำ ต่อมาได้มีการขุดขยายคลอง กว้าง 116 เมตร

ตามโครงการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยบริเวณเมืองชุมพร เพื่อผันน้ำในช่วงฤดูฝนหรือช่วงมรสุม ส่งผลให้สะพานเดิมสั้นกว่าลำน้ำ ประกอบกับช่วงตอม่อสะพานเดิมขวางทางน้ำ ทช. จึงได้ดำเนินการก่อสร้างสะพานใหม่ทดแทน เพื่อให้ช่วงตอม่อสะพานเหมาะสมกับขนาดของคลองที่ขุดใหม่ ให้ประชาชนสามารถเดินทางได้อย่างสะดวกปลอดภัยในทุกฤดู ยกระดับความเป็นอยู่ขั้นพื้นฐานของผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ส่งเสริมต่อระบบการเกษตรในชุมชนให้การคมนาคมขนส่งสินค้าเข้าสู่ตัวเมืองได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

สะพานแห่งนี้เชื่อมระหว่างหมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งคา กับ หมู่ที่ 8 ตำบลบางหมาก อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร โดยก่อสร้างเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ความยาว 160 เมตร ผิวจราจรกว้าง 9 เมตร ขนาด 2 ช่องจราจร ไป - กลับ ไม่มีทางเท้า พร้อมถนนต่อเชื่อมผิวจราจรคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 6 เมตร ความยาว 394 เมตร ละมีงานเครื่องหมายจราจร พร้อมอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 42.150 ล้านบาท นอกจากนี้ ทช. ยังได้มีการจัดประชุมการมีส่วนร่วมภาคประชาชน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน ประชาชนในพื้นที่ มีความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นมา ลักษณะของโครงการ ขั้นตอนการดำเนินงาน พร้อมทั้งได้ตอบข้อซักถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้ที่เข้าร่วมประชุม เพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องกับความต้องการ และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ให้มากที่สุดอีกด้วย

 

 

ตกลง