ใจความสำคัญหลักของกฎหมายขายฝากฉบับใหม่ ณ วันที่ 15 เมษายน 2562 มีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้คุ้มครองผู้ขายฝากที่ดินให้ได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น เข้าใจง่าย ดังนี้
1. สัญญาขายฝากต้องมีระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี สามารถไถ่ถอนก่อนเวลาได้ หากเกินเวลา สามารถซื้อคืนได้ในราคาที่ตกลงกัน
2. ผู้ขายฝากสามารถอาศัย ใช้สอยจากหลักทรัพย์ที่ขายฝากได้ถึงวันสิ้นสุดการไถ่
3. หากผู้ขายฝากต้องการขยายเวลาไถ่ถอน ต้องตกลงกับผู้ซื้อฝากและทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ 2 ฝ่าย มาดำเนินการต่อหน้าเจ้าหน้าที่
4. หากผู้ขายฝากไม่สามารถชำระสินไถ่ให้กับผู้ซื้อฝากได้ ซึ่งไม่ใช่ความผิดของผู้ขายฝาก ให้ผู้ขายฝากทำการวางทรัพย์ต่อสำนักงานวางทรัพย์หรือสำนักงานที่ดินทุกจังหวัด หรือจังหวัดที่จดทะเบียนขายฝาก ได้ภายใน 30 วันจากวันที่กำหนด
5. ผู้ซื้อฝากมีหน้าที่แจ้งวัน เวลา และจำนวนสินไถ่ โดยแจ้งรายละเอียดการไถ่กับบุคคลใด ที่ไหน พร้อมแนบสำเนาสัญญาขายฝาก เป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังที่อยู่ที่ระบุในสัญญาขายฝาก หากไม่มีการแจ้งผู้ขายฝากสามารถขยายเวลาการ
ไถ่ไปได้ไม่เกิน 6 เดือน
6. การจดทะเบียนไถ่ และใช้สิทธิไถ่เป็นคนละส่วน ว่าง่ายๆก็คือ เมื่อใช้สิทธิไถ่แล้วค่อยมาจดทะเบียนไถ่ตามหลังได้ (ตามข้อที่ 4) โดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ห้ามเกินกำหนดสัญญา
7. เมื่อชำระค่าสินไถ่แล้ว กรรมสิทธิ์ถือเป็นของผู้ขายฝากทันที โดยนำหลักฐานการไถ่ หรือการวางทรัพย์ พร้อมหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่เพื่อจดทะเบียนไถ่ฝ่ายเดียวได้ กรณีไม่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ให้นำหลักฐานการวางทรัพย์มาแสดง
ต่อเจ้าหน้าที่เพื่ออายัดทรัพย์ได้ทันที ป้องกันมิให้มีการทำนิติกรรมต่อไป
8. หากผู้ซื้อฝากไม้ได้ทำการแจ้งตามข้อ 5 แต่ผู้ขายฝากสามารถไถ่ถอนภายใน 6 เดือนหลังจากวันครบกำหนด ให้ผู้ซื้อฝากทำหลักฐานการไถ่ซึ่งระบุชัดเจนว่ามีการไถ่ถอน ณ วันที่ใดและยินยอมให้ไถ่ถอนได้ พร้อมรับรองว่าผู้ซื้อฝากมิได้ทำหนังสือแจ้งผู้ขายฝากเรื่องวันครบกำหนด
ทั้งนี้ผู้ขายฝากควรศึกษารายละเอียดกฎหมายการขายฝากฉบับใหม่ให้ถี่ถ้วน เพื่อผลประโยชน์ของตนเองและไม่เป็นการเปิดโอกาสให้แก่ผู้ซื้อฝากที่ต้องการเอาเปรียบ