ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยการรับจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การใช้จ่ายเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานของกองทุน การจัดหาผลประโยชน์ของกองทุน และการจําหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีของกองทุนเป็นสูญ พ.ศ. ๒๕๕๖
โดยที่เป็นการสมควรกําหนดระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการดําเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การพัสดุ และการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๘ (๔) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ คณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกรโดยความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ว่าด้วยการรับจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การใช้จ่ายเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานของกองทุน การจัดหาผลประโยชน์ของกองทุน และการจําหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีของกองทุนเป็นสูญ พ.ศ. ๒๕๕๖”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “โครงการที่ได้รับอนุมัติ” หมายความว่า โครงการส่งเสริมการผลิตผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้น หรือผลิตภัณฑ์อาหาร โครงการส่งเสริมการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานคุณภาพของผลิตผล เกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร โครงการรักษาเสถียรภาพของราคาและการจําหน่ายผลิตผล เกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร โครงการดําเนินการที่จําเป็นและเร่งด่วนเพื่อป้องกันและขจัดภัย อันจะเป็นผลเสียหายแก่เกษตรกร โครงการศึกษาวิจัย เพื่อการพัฒนาการผลิต การแปรรูป หรือการตลาด ซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร โดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วม ในการดําเนินการ โครงการติดตามผลการดําเนินการตามโครงการที่ได้รับการช่วยเหลือหรือส่งเสริม จากกองทุน ที่คณะกรรมการหรือคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้จัดสรรเงินจากกองทุนเพื่อดําเนินการ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะจัดสรรสําหรับเป็นเงินหมุนเวียนหรือเงินจ่ายขาด “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ข้อ ๔ ให้ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รักษาการตามระเบียบนี้ หมวด ๑ การรับเงิน
และทรัพย์สิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของกองทุน
ข้อ ๕ กองทุน ประกอบด้วย
(๑) เงิน ทรัพย์สิน สิทธิ และหนี้สินที่โอนมาจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรตามมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัตินี้
(๒) เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้จากงบประมาณรายจ่ายประจําปี
(๓) ค่าธรรมเนียมการส่งออกและค่าธรรมเนียมการนําเข้าที่เรียกเก็บได้ตามพระราชบัญญัตินี้
(๔) เงินกู้โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี
(๕) ดอกผลของเงินกองทุน
(๖) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้
ข้อ ๖ ให้สํานักงานเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของกองทุนและดําเนินการเบิกจ่ายเงินกองทุน ตามพระราชบัญญัตินี้
ข้อ ๗ ให้สานํ ักงานเปิดบัญชีเงินฝากของกองทุนไว้ที่กระทรวงการคลัง ชื่อบัญชี “กองทุน สงเคราะห์เกษตรกร” สําหรับการรับจ่ายเงินกองทุน เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงานกองทุน ให้สํานักงานเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารที่เป็น รัฐวิสาหกิจหรือธนาคารเฉพาะกิจของรัฐชื่อบัญชีเดียวกันกับวรรคหนึ่งภายในวงเงิน เงื่อนไขและวิธีการ ที่คณะกรรมการกําหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
ข้อ ๘ ให้สํานักงานมีอํานาจนําเงินกองทุนไปหาดอกผลโดยการฝากออมทรัพย์หรือฝากประจํา กับธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจ หรือการซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาลได้ โดยพิจารณาจากกระแสเงินสด หรือสภาพคล่องของกองทุน ภายใต้หลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบ
ข้อ ๙ ในแต่ละปีงบประมาณให้สานักงานจัดทําประมาณการรายรับ - รายจ่ายประจําปีของกองทุน เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนนําเสนอขออนุมัติจากกระทรวงการคลังภายในระยะเวลาที่กําหนด ในกรณีที่มีความจําเป็นเร่งด่วนและประมาณการรายรับ - รายจ่าย ยังไม่ได้รับความเห็นชอบ จากกระทรวงการคลังให้ใช้ประมาณการรายรับ - รายจ่ายประจําปีที่ได้รับความเห็นชอบในปีที่ล่วงมาแล้ว ไปพลางก่อนโดยอนุมัติของคณะกรรมการ
ข้อ ๑๐ การขอรับจัดสรรเงินกองทุน
(๑) หน่วยงานของรัฐและองค์กรเกษตรกรสามารถขอรับจัดสรรเงินกองทุนเพื่อดําเนินการ โครงการได้ โดยเสนอแผนการดําเนินงานโครงการต่อสํานักงานหรือสํานักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด
(๒) องค์กรเกษตรกรสามารถขอรับจัดสรรเงินกองทุนเพื่อเป็นสินเชื่อแก่สมาชิกได้ โดยเสนอ แผนการดําเนินงานโครงการต่อหน่วยงานของรัฐที่กํากับดูแล
ข้อ ๑๑ ให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุนเปิดบัญชีเงินฝาก กับธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจเป็นรายโครงการ ชื่อบัญชี “เงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร โครงการ....” และแจ้งเลขที่บัญชีเงินฝากให้สํานักงานทราบเพื่อโอนเงินเข้าบัญชี
ข้อ ๑๒ กําหนดระยะเวลาการส่งเงินคืนกองทุนและอัตราดอกเบี้ย ให้เป็นไปตาม
ที่คณะกรรมการ กําหนด
*อัตราดอกเบี้ยตามวรรคหนึ่ง ให้คิดในอัตราไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี
ข้อ ๑๓ ให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุน ขอเบิกเงิน
โดยทําเป็นหนังสือยื่นต่อสํานักงาน โดยมีเอกสารประกอบ ดังนี้
(๑) มติคณะรัฐมนตรี (ถ้ามี)
(๒) มติคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร
(๓) แผนการดําเนินงานโครงการ ประกอบด้วย แผนปฏิบัติงาน แผนการใช้จ่ายเงิน แผนการส่งเงินคืนกองทุน ซึ่งคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกรมีมติเห็นชอบ
(๔) ชื่อบัญชีและเลขที่บัญชีเงินฝากธนาคาร ตามข้อ ๑๑
(๕) บันทึกคํารับรองผู้เบิก
(๖) อื่น ๆ ตามที่สํานักงานกําหนดหรือขอเพิ่มเติม
ข้อ ๑๔ ให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุนปฏิบัติ ดังนี้
(๑) การใช้จ่ายเงินกองทุนต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่ได้รับอนุมัติ และใช้ จ่ายเงินตามรายการหรือกิจกรรมที่ขอเบิกเท่านั้น จะนําไปใช้จ่ายเพื่อการอื่นมิได้
(๒) การจ่ายเงินกองทุน ให้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายตามที่กําหนดในแผนการดําเนินงานโครงการ
กรณีเงินหมุนเวียน ให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายตามที่กําหนด ในแผนการดําเนินงานโครงการ อย่างช้าไม่เกินสิบห้าวันนับจากวันที่เงินโอนเข้าบัญชี และให้นําส่งเงินคืน สํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันครบกําหนดให้ใช้เงิน โดยระบุชื่อโครงการ ประเภทของเงินที่นําส่ง และปีที่เบิกเงินไปจากกองทุน
กรณีเงินจ่ายขาด ให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรสามารถจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายใน การติดตามงานตามความจําเป็น และให้นําส่งเงินคืนสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นสุดโครงการ
(๓) หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรใดไม่นําส่งเงินคืนกองทุนภายในกําหนด ให้สํานักงาน เสนอรายงานต่อคณะกรรมการ เพื่อพิจารณามีมติไม่อนุมัติโครงการอื่นใดของหน่วยงานของรัฐหรือ องค์กรเกษตรกรนั้นอีก
กรณีโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้แล้วและยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาดําเนินการ และมีเงินที่สํานักงาน จะต้องเบิกจ่ายให้แก่หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรตามแผนการดําเนินงานโครงการอยู่อีก ให้สํานักงานหักกลบลบกับจํานวนเงินที่หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรจะต้องส่งคืนออกจาก จํานวนเงินที่จะเบิกจ่าย แล้วจึงโอนเงินส่วนที่เหลือให้แก่หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรนั้น
ข้อ ๑๕ ให้หน่วยงานของรัฐที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุนตามโครงการที่ได้รับอนุมัติและประสงค์ จะนําไปให้เกษตรกรกู้ยืม ถือปฏิบัติดังนี้
(๑) จัดทํารายละเอียดจํานวนเงินที่จะจัดสรรให้เกษตรกรกู้ยืม รวมทั้งมาตรการกํากับดูแล การใช้เงินกองทุนที่ได้รับจัดสรร โดยคํานึงถึงวัตถุประสงค์ ระยะเวลาที่จําเป็นต้องใช้เงิน ความสามารถ ในการส่งเงินคืนกองทุน และแผนการชําระเงินคืนกองทุนของเกษตรกร เพื่อนําเสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ พิจารณาอนุมัติ
(๒) กรณีที่จะจัดสรรเงินกองทุนให้เกษตรกรที่มีหนี้ค้างชําระกองทุน หน่วยงานของรัฐจะจัดสรรเงิน ให้ได้ต่อเมื่อเกษตรกรรายนั้นชําระหนี้คืนกองทุนเสร็จสิ้นแล้ว เว้นแต่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่า มิใช่ความผิดของเกษตรกรที่ไม่สามารถชําระหนี้คืนได้
(๓) ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐทําสัญญาการจัดสรรเงินกองทุนกับเกษตรกร
ตามวัตถุประสงค์ และเงื่อนไขของโครงการที่ได้รับอนุมัติ รวมทั้งสอดคล้องกับสัญญาการใช้เงินระหว่างกองทุนกับหน่วยงานของรัฐ ตลอดจนระเบียบและหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่คณะกรรมการกําหนด
(๔) รายงานผลการจัดสรรเงินกองทุนให้เกษตรกรกู้ยืมตามแบบที่สํานักงานกําหนดภายใน สิบวันทําการนับแตว่ ันที่ได้จัดสรร หากหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรใดไม่ปฏิบัติตามบันทึกคํารับรองผู้เบิก ให้สํานักงาน ระงับการจ่ายเงินและรายงานคณะกรรมการเพื่อทราบ
ข้อ ๑๖ ให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุนตามโครงการ
ที่ได้รับอนุมัติติดตามและควบคุมการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ หากมีดอกผลเกิดขึ้น.ให้ดําเนินการตามที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ ๑๗ ให้หน่วยงานของรัฐและองค์กรเกษตรกรที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุน จัดทํารายงาน การรับ - จ่ายเงิน และรายงานผลการปฏิบัติงาน ตามรายโครงการที่ได้รับอนุมัติ ให้สํานักงานทราบ เป็นรายไตรมาส
ข้อ ๑๘ ให้หนวยงานของร ่ ัฐที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุนเพื่อดําเนินการโครงการ จัดทํางบการเงิน ของโครงการที่ได้รับอนุมัติ ส่งให้สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบภายในหกสิบวันนับแต่วัน สิ้นปีงบประมาณ จนกว่าจะเสร็จสิ้นโครงการ
ให้องค์กรเกษตรกรที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุนเพื่อดําเนินการโครงการ จัดทํางบการเงิน ของโครงการที่ได้รับอนุมัติ พร้อมทั้งรวบรวมใบสําคัญจ่ายและเอกสารอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ ส่งให้สํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ จนกว่าจะเสร็จสิ้นโครงการ และให้สํานักงาน นําส่งงบการเงินนั้นให้สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับ งบการเงิน
ให้องค์กรเกษตรกรที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุนเพื่อเป็นสินเชื่อแก่สมาชิก จัดทํางบการเงิน ของโครงการที่ได้รับอนุมัติ พร้อมทั้งรวบรวมใบสําคัญจ่ายและเอกสารอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้
ส่งให้หน่วยงานของรัฐที่กํากับดูแลภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ จนกว่าจะเสร็จสิ้นโครงการ และให้หน่วยงานของรัฐที่กํากับดูแลนําส่งงบการเงินนั้นให้สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับงบการเงิน
ข้อ ๑๙ ให้สํานักงานระงับการเบิกจ่ายเงินส่วนที่เหลือ กรณีหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกร มิได้นําเงินกองทุนไปดําเนินการตามวัตถุประสงค์และแผนการดําเนินงานโครงการ และเสนอข้อเท็จจริง พร้อมหลักฐานต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาระงับโครงการได้ตามที่เห็นสมควร สําหรับโครงการที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุนจากคณะรัฐมนตรีให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
ให้สํานักงานแจ้งเป็นหนังสือลงทะเบียนตอบรับให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกร ที่ถูกระงับโครงการ นําเงินส่งคืนกองทุนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งหนังสือดังกล่าว
ข้อ ๒๐ ให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกร ติดตามรวบรวมเงินที่ได้รับจัดสรร รวมทั้ง ดอกผลที่เกิดขึ้น (ถ้ามี) นําส่งเงินคืนกองทุนตามกําหนดเวลาในบันทึกคํารับรองผู้เบิก
กรณีไม่สามารถดําเนินการได้ ให้รายงานคณะกรรมการเพื่อพิจารณาภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่ วันสิ้นสุดโครงการ
ข้อ ๒๑ ให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรนําดอกผลที่เกิดขึ้นจากการนําเงินฝากธนาคาร ตามข้อ ๑๑ ส่งเข้ากองทุนอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง หรือเมื่อสิ้นสุดโครงการที่ได้รับอนุมัติ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๒ ให้หน่วยงานของรัฐที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ได้รับเงินชดเชยค่าใช้จ่ายหรือผลขาดทุน จากการดําเนินงานในโครงการที่ได้รับอนุมัติ นําส่งเงินชดเชยที่ได้รับคืนกองทุนภายในสี่สิบห้าวันนับแต่ วันที่ได้รับจัดสรร และให้สํานักงานรายงานคณะกรรมการเพื่อทราบ
ข้อ ๒๓ ให้สํานักงานคิดเบี้ยปรับกับหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรที่ได้รับจัดสรร เงินกองทุนแล้วไม่สามารถส่งเงินคืนกองทุนได้ตามกําหนดเวลาในอัตราร้อยละสามต่อปี นับแต่วันผิดนัด ชําระหนี้จนกว่าจะชําระเสร็จสิ้น กรณีหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกรไม่สามารถส่งเงินคืนกองทุนได้ภายในกําหนดเวลา ตามแผนการส่งเงินคืนกองทุนหรือตามข้อตกลง อาจขอลดหรืองดการคิดเบี้ยปรับต่อคณะกรรมการ ในเหตุต่อไปนี้
(๑) ภัยธรรมชาติ
(๒) โครงการที่ได้รับอนุมัติ เป็นการดําเนินการตามโครงการของรัฐบาล
(๓) ยังไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณชดเชย
(๔) เหตุอื่น ๆ ที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นชอบ หมวด ๒ การบัญชี
ข้อ ๒๔ ให้สํานักงานจัดทําบัญชีกองทุนให้เป็นไปตามมาตรฐานการจัดทําบัญชีสําหรับ หน่วยงานภาครัฐที่กระทรวงการคลังกําหนด
การปิดบัญชีให้กระทําปีละครั้งโดยถือปีงบประมาณเป็นรอบปีบัญชี และให้จัดทํางบการเงิน ของกองทุนส่งให้สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นงวดบัญชี
ให้รายงานงบการเงินของกองทุนและผลการตรวจสอบตามวรรคสองต่อคณะกรรมการและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อนําเสนอสภาผู้แทนราษฎรและ วุฒิสภาเพื่อทราบ
ข้อ ๒๕ เพื่อประโยชน์ในการจัดทํางบการเงินในภาพรวมของหน่วยงานภาครัฐ ให้สํานักงาน จัดส่งข้อมูลทางบัญชีของกองทุนเข้าสู่ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Government Fiscal Management Information System หรือ GFMIS) ตามวิธีการที่กรมบัญชีกลาง กําหนด
ข้อ ๒๖ ให้มีการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการดําเนินงาน การเงิน การบัญชี และการพัสดุ ของกองทุนแล้วรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการทราบอย่างน้อยปีละสองครั้ง หมวด ๓ การตัดหนี้เป็นสูญ
ข้อ ๒๗ การตัดหนี้เป็นสูญของลูกหนี้เงินกองทุนให้สํานักงานนําเสนอคณะกรรมการพิจารณา ให้ความเห็นชอบก่อนดําเนินการตามกฎระเบียบของทางราชการที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๒๘ วิธีปฏิบัติอื่นใดที่มิได้กําหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ โดยอนุโลม
ข้อ ๒๙ ในกรณีที่มีความจําเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือไปจากที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เป็นไป ตามที่คณะกรรมการกําหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ประกาศ ณ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ โอฬาร พิทักษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร