ย้อนเวลากลับไป 69 ปี ความเดิมจากพระราชบันทึก The Rainmaking Story
สรุปได้ความว่า
ระหว่างวันที่ 2 - 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ทรงเยี่ยมเยียน 15 จังหวัด ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
.ในวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์ (เดลาเฮย์ ซีดาน สีเขียว)จากจังหวัดนครพนม ไปจังหวัดกาฬสินธุ์ผ่านจังหวัดสกลนครและเทือกเขาภูพาน เมื่อทรงหยุดอย่างเป็นทางการที่ทาง #แยกอำเภอกุฉินารายณ์และสหัสขันธ์ ณ ที่นั้นทรงสอบถามราษฎรเกี่ยวกับผลผลิตข้าว
.ทรงคิดว่าต้องเสียหายเพราะความแห้งแล้ง แต่ต้องทรงประหลาดใจที่ราษฎรเหล่านั้นกราบบังคมทูลว่า เดือดร้อนเสียหายจากน้ำท่วมทรงเห็นว่าเป็นการแปลก เพราะพื้นที่โดยรอบดูคล้ายทะเลทรายที่มีฝุ่นฟุ้งกระจายทั่วไป แท้ที่จริงแล้วราษฎรเหล่านั้นมีทั้งน้ำท่วมและฝนแล้ง นั่นคือ "ทำไมประชาชนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงยากจนนัก"
.เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับถึงกรุงเทพมหานคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล วิศวกรและนักประดิษฐ์ควายเหล็กที่มีชื่อเสียงเข้าเฝ้าฯ แล้วพระราชทานแนวความคิดนั้นแก่หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล ความว่า
"แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้ ก็เคยได้ยินเรื่องการทำฝน ก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้ มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือทำได้"
และนี่นับเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการพระราชดำริฝนหลวง
ที่มา : กรมฝนหลวงและการบินเกษตร