ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ได้แก่
1. ไม้ใช้สอย คือ ไม้โตเร็ว สำหรับใช้ในครัวเรือน เช่น สะเดา , ไผ่
2. ไม้กินได้ เช่น มะม่วง ผักกินใบต่างๆ และ
3. ไม้เศรษฐกิจ ได้แก่ ไม้ที่ปลูกเพื่อจำหน่าย เช่น ไม้สัก เป็นต้น
ส่วนประโยชน์ 4 อย่าง คือ
1. พอกิน คือ การปลูกต้นไม้ที่กินได้ รวมทั้งใช้เป็นยาสมุนไพร
2.พอใช้ คือการปลูกต้นไม้ให้เป็นป่าไม้ สำหรับทำเครื่องใช้สอยในครัวเรือน
3. พออยู่ คือการปลูกต้นไม้ที่ใช้เนื้อไม้และไม้เชิงเศรษฐกิจให้เป็นป่า ไม้กลุ่มนี้เป็นไม้อายุยืนเพื่อใช้สร้างบ้าน ทำเครื่องเรือน และ
4. พอร่มเย็น คือ เมื่อเราปลูกป่า จะช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศดินและน้ำให้กลับมาอุดมสมบูรณ์
การปลูกป่า 5 ระดับ
ระดับที่ 1 ปลูกพืชประเภทไม้หัวเพื่อเป็นอาหาร เช่น ขิง ข่า หัวหอมใหญ่ หอมแดง กระเทียม เผือก กระชาย มันสำปะหลัง มันเทศ
ระดับที่ 2 ปลูกไม้เลื้อย เช่น บวบ น้ำเต้า ถั่วฝักยาว แตงกวา มะระขี้นก ถั่วพู ตำลึง
ระดับที่ 3 ปลูกไม้พุ่มเตี้ยเพื่อใช้ประโยชน์เป็นอาหารและยารักษาโรค เช่น พริก กะเพรา มะเขือ ตะไคร้ ข้าว พืชสมุนไพรต่างๆ เช่น ฟ้าทะลายโจร ว่านหางจระเข้ ช้าพลู
ระดับที่ 4 ปลูกไม้ระดับกลาง ซึ่งเป็นชั้นที่มีความสูงเป็นรองกลุ่มไม้ยืนต้น เช่น มะกรูด มะนาว ขี้เหล็ก ส้มโอ ขนุน ทุเรียน มะม่วง ดอกแค กล้วย และ
ระดับที่ 5 ประเภทต้นไม้ใหญ่ทรงสูงให้ร่มเงา และช่วยรักษาระบบนิเวศ เช่น ตะเคียน ยางนา มะค่า ประดู่ สัก พะยูง มะฮอกกานี จำปาทอง ดูน้อยลง