การประชุมการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝน จังหวัดเลย ปี 2567
14 ส.ค. 2567
54
0
การประชุมการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝน
การประชุมการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝน จังหวัดเลย ปี 2567

วันอังคารที่ 13 สิงหาคม 2567 กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเลย ได้จัดประชุมการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 จังหวัดเลย ณ ห้องประชุมศรีสองรัก ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดเลย เวลา 08.30 น. โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เป็นประธานฯ และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเลย พิจารณามาตรการ แนวทาง แผนงาน การเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 ทั้งนี้ โครงการชลประทานเลย ได้รายงานสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำฤดูฝน ปี 2567 สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ ดังนี้

1. อ่างเก็บน้ำน้ำเลยอันเนื่องมาจากพระราชดำริน้ำเลย อ.ภูหลวง ความจุปกติ 35.807 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีน้ำ 27.767 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 77.54% ของความจุอ่างฯ มีแนวโน้ม ลดลง

2. อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำหมาน อ.เมืองเลย ความจุปกติ 26.500 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีน้ำ 16.211 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 61.17.00% ของความจุอ่างฯ มีแนวโน้ม ลดลง

3. ภาพรวมอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง จำนวน 16 แห่ง มีปริมาณน้ำ 82.099 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 66.45% ของความจุอ่างฯ แยกเป็นอ่างฯ ที่มีน้ำต่ำกว่า 50% จำนวน 4 แห่ง อ่างฯ ที่มีน้ำตั้งแต่ 50% ขึ้นไป 12 แห่ง และอ่างฯ ที่มีน้ำเกิน 100% จำนวน 0 แห่ง

4. ภาพรวมอ่างฯ ขนาดเล็ก จำนวน 121 แห่ง (ถ่ายโอนให้ท้องถิ่น 105 แห่ง) มีปริมาณน้ำ 21.983 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 75.69% ของความจุอ่าง

5. แผน – ผลการเพาะปลูกและการจัดสรรน้ำฤดูฝน ปี 2567 ในเขตชลประทานของอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง

   1) แผนการเพาะปลูกทั้งสิ้น 12,865 ไร่ เพาะปลูกไปแล้ว 11,637 ไร่ คิดเป็น 90.73%

   2) แผนการจัดสรรน้ำทุกกิจกรรมในฤดูนี้ 268.376 ล้าน ลบ.ม. (แยกเป็นเกษตร 15.5197 ล้าน ลบ.ม., อุปโภค 4.850 ล้าน ลบ.ม., นิเวศและอื่นๆ 248.007 ล้าน ลบ.ม.)

โครงการชลประทานเลย ได้ดำเนินติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดและดำเนินการพร่องน้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำหมานและอ่างเก็บน้ำน้ำเลย ให้มีปริมาณน้ำเหลือในอ่างเก็บน้ำอยู่ที่ 60% ของความจุอ่าง ซึ่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ได้มีข้อสั่งการฯ ให้โครงการชลประทานเลย ดำเนินการ ดังนี้

1. การบริหารจัดการน้ำโดยการพร่องน้ำ ให้คำนึงถึงการท่องเที่ยวโดยไม่พร่องน้ำจนทำให้มีปริมาณน้ำเหลือน้อยมากเกินไป จนมีผลกระทบต่อการล่องแพ เพื่อการท่องเที่ยว รวมถึงการประปา เพื่อใช้อุปโภคบริโภคและต้องควบคุมระดับน้ำ โดยขอให้ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบ ปริมาณน้ำให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

2. ให้พิจารณาวิธีการชะลอน้ำ เช่น การทำก้างปลา หรือแก้มลิงเพื่อใช้เป็นพื้นที่รองรับปริมาณน้ำ

ซึ่งที่ประชุมมีมติและข้อสั่งการ ดังนี้

1. สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ให้ทำการวางแผนเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ โดยให้มีการจัดเตรียมความพร้อมจัดหากำลังคน วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องจักรและยานพาหนะ และติดตั้งเครื่องสูบน้ำบริเวณที่มีการท่วมซ้ำซากเป็นประจำทุกปี

2. การจัดทำแผนการป้องกันต้องให้มีบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานกับ War room ของจังหวัดเลย ควรมีชุดเคลื่อนที่เร็วแจ้งเตือนสถานการณ์และเฝ้าระวังบริเวณที่อาจก่อให้เกิดอันตรายให้ประชาชนในพื้นที่ได้ทันท่วงที

3. ให้นายอำเภอทุกอำเภอเฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลาก พื้นที่เสี่ยงภัย พื้นที่ท่วมซ้ำซาก หากเกินกว่าที่จะดำเนินการป้องกันและแก้ไขเองได้ ให้แจ้งกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เพื่อจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาเพื่อติดตั้งอุปกรณ์หรือจัดทำแผนระยะสั้นหรือทำแผนระยะยาวเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ต่อไป

ตกลง