วิธีทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร ต้นทุน 0 บาท ผักกรอบ โตเร็ว
22 มี.ค. 2567
70
0
วิธีทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร ต้นทุน 0 บาท ผักกรอบ โตเร็ว
วิธีทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร ต้นทุน 0 บาท ผักกรอบ โตเร็ว
วิธีทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร ต้นทุน 0 บาท ผักกรอบ โตเร็ว

การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร อาศัยการย่อยสลายจากจุลินทรีย์ เริ่มต้นต้องมีถังเก็บขยะเพื่อใช้ในการหมัก โดยระยะเวลาการหมักปุ๋ยจากเศษอาหารจะใช้เวลาในการหมักประมาณ 1 เดือน ภาชนะที่ควรใช้หมัก แนะนำว่าควรใช้ถังหมักที่มีลักษณะดินเผาเพราะระบายอากาศได้ดีกว่าถังพลาสติกและไม่แฉะจนเกินไปด้วย

วิธีการจัดการกับเศษขยะเพื่อนำไปทำปุ๋ยหมัก

ขั้นตอนที่ 1 นำเศษอาหารที่เราสามารถใช้ในการหมักได้คือ เศษผัก เศษผลไม้ เปลือกไข่ กากกาแฟ เปลือกผลไม้ ข้าวบูด และอาหารเหลือ เป็นต้น ซึ่งวิธีการจัดการกับขยะเหล่านี้คือ หากเป็นอาหารเหลือกินให้กรองน้ำออกก่อนจะใส่ลงถังหมัก

ขั้นตอนที่ 2 จากนั้นทับด้วยปุ๋ยคอก เศษใบไม้แห้ง หญ้าแห้ง หรือดินถุงก็ได้
เอาปุ๋ยคอกกับเศษใบไม้แห้งผสมกัน แล้วเทลงไปสลับกับชั้นเศษอาหาร ลงไปประมาณ 2-3 รอบ

ขั้นตอนที่ 3 ระหว่างนั้นอาจจะเติมน้ำตาลลงไป 1-2 ช้อนโต๊ะ และเทน้ำตาลและน้ำผสม EM ประมาณอาทิตย์ละครั้ง ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนเต็มถัง

ขั้นตอนที่ 4 สุดท้ายให้ปิดทับด้วยปุ๋ยคอกผสมใบไม้แห้ง เทน้ำตาลลงไป 1-2 ช้อน รดด้วยน้ำผสม EM ให้ชุ่มๆ แล้วปิดฝาไว้รอประมาณ 15 วัน ก่อนจะกลับมาเปิดฝาแล้วคนให้ส่วนผสมเข้ากัน จากนั้นปิดฝาอีกรอบ รออีก 15 วัน (ทั้งหมดใช้เวลา 30 วัน) พอครบก็เปิดออกมาใช้ได้เป็นอันสำเร็จ!
เคล็ดลับ : ในช่วงแรกไม่จำเป็นต้องเติมน้ำ เพราะเศษอาหารมีความชื้นอยู่แล้ว แต่เมื่อเห็นว่าส่วนผสมเริ่มแห้งลง ก็สามารถพรมน้ำเข้าไปได้เล็กน้อย โดยจะใช้เวลาในการหมักประมาณ 1 เดือน ก็จะได้ปุ๋ยหมักสีดำขนาดเล็ก ที่แห้งสนิทและไม่มีกลิ่นเหม็นไว้ใช้บำรุงต้นไม้แล้ว

ประโยชน์ของการใช้ปุ๋ยหมัก

1. ปุ๋ยหมักเป็นการนำขยะอินทรีย์มาใช้ประโยชน์ใหม่ จึงช่วยลดปริมาณขยะอินทรีย์ เข้าระบบการจัดการขยะได้

2. ปุ๋ยหมักบางชนิด มีจุลินทรีย์ที่ช่วยยับยั้งและป้องกันจุลินทรีย์ที่ทำให้พืชเป็นโรคได้

3. ปุ๋ยหมักมีธาตุอาหารครบถ้วน ทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม

4. ปุ๋ยหมักเป็นแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตในดินที่เป็นประโยชน์ จึงช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดีขึ้น

5. ปุ๋ยหมักมักจะปล่อยธาตุอาหารให้พืชอย่างช้าๆ ทำให้อยู่ในดินได้ค่อนข้างนาน จึงมีโอกาสเสียน้อยกว่าปุ๋ยเคมี

6. ปุ๋ยหมักช่วยปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของดินให้เหมาะสมได้ ต่างจากปุ๋ยเคมีที่มีแอมโมเนียเป็นส่วนประกอบ จึงอาจจะทำให้ดินแปรสภาพเป็นกรด

7. ปุ๋ยหมักช่วยเพิ่มจุลินทรีย์และอินทรียวัตถุ ทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้น เช่น ร่วนซุย ระบายน้ำดี ถ่ายเทอากาศสะดวก และรากแผ่กระจายหาอาหารง่ายขึ้น ในขณะที่ปุ๋ยเคมีไม่มีคุณสมบัติในการปรับปรุงดินใดๆ

8. ปุ๋ยหมักช่วยลดค่าใช้จ่าย และทำให้ประหยัดเงิน เพราะสามารถใช้แทนปุ๋ยเคมีได้ สามารถลดปริมาณการซื้อปุ๋ยเคมีลงได้ แถมยังไม่ต้องเสียเงินซื้อสารเคมี หรือยาป้องกันแมลงศัตรูพืชด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก : sgethai.com
 
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก เมื่อวันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ตกลง