เครื่องหมาย Q คืออะไร? ทำไมถึงเจอในสินค้าการเกษตรทั้งผักและผลไม้
20 ส.ค. 2567
162
0
เครื่องหมาย Q คืออะไร? ทำไมถึงเจอในสินค้าการเกษตรทั้งผักและผลไม้
เครื่องหมายQคืออะไร?ทำไมถึงเจอในสินค้าการเกษตรทั้งผักและผลไม้
เครื่องหมาย Q คืออะไร? ทำไมถึงเจอในสินค้าการเกษตรทั้งผักและผลไม้

เครื่องหมาย Q คืออะไรทำไมถึงเจอในสินค้าการเกษตรทั้งผักและผลไม้

เครื่องหมาย Q หรือ เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร คือ เครื่องหมายรับรองมาตรฐานใช้แสดงกับสินค้าเกษตร เพื่อเป็นการรับรองเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดส่วนประกอบ วิธีการผลิต คุณภาพ หรือลักษณะอื่นใด ของสินค้าเกษตร ซึ่งมีความสำคัญในการสื่อสารไปยังผู้บริโภค หรือผู้ซื้อให้เกิดการยอมรับเชื่อมั่น และเชื่อถือต่อสินค้าเกษตรว่ามีมาตรฐาน คุณภาพ และความปลอดภัย

เครื่องหมายรับรองมาตรฐานมีด้วยกัน 3 แบบ
แบบที่ 1 เครื่องหมายรับรองมาตรฐานบังคับ มีลักษณะเป็นรูปอักษร Q สีเขียวทรงกลม อยู่ในกรอบหกเหลี่ยมสีเขียว

แบบที่ 2 เครื่องหมายรับรองมาตรฐานทั่วไป มีลักษณะเป็นรูปอักษร Q สีเขียวทรงกลม

แบบที่ 3 เครื่องหมายรับรองมาตรฐานทั่วไปสำหรับมาตรฐานเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ สามารถใช้สีใดก็ได้ เพื่อให้มองเห็นได้ง่ายและชัดเจน

สินค้าที่แสดงเครื่องหมาย Q พร้อมรหัส เพื่อแสดงว่าได้รับการรับรองคุณภาพ มาตรฐานปลอดภัยตามที่มีกำหนดไว้ โดยรหัสใต้เครื่องหมาย Q จะบ่งบอก
1. ชื่อผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน
2. รหัสมาตรฐานสินค้าเกษตรที่ให้การรับรอง
3. ชื่อผู้ได้รับใบรับรอง

ผู้มีสิทธิแสดงเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร
ผู้ได้รับใบรับรองมาตรฐาน เป็นผู้มีสิทธิแสดงเครื่องหมายรับรองมาตรฐานกับสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นได้ทั้งมาตรฐานทั่วไปและมาตรฐานบังคับ

วิธีการใช้และแสดงเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรให้

1. การรับรองสินค้าเกษตร ให้ผู้ได้รับใบรับรองแสดงให้เห็นได้ง่ายและชัดเจนไว้ที่สินค้าเกษตร หรือแสดงไว้ที่สิ่งบรรจุ หีบห่อ สิ่งหุ้มห่อ สิ่งผูกมัด หรือป้ายของสินค้าก็ได้ และจะต้องระบุรหัสภายใต้เครื่องหมายรับรองมาตรฐาน

2. การรับรองระบบการผลิต ให้แสดงที่สถานประกอบการ เอกสารรับรอง เพื่อการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ เท่านั้น ไม่สามารถแสดงกับสินค้าเกษตรได้

 

รหัสมาตรฐานสินค้าเกษตรที่ให้การรับรองโดยผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน ให้ดูรายละเอียดรหัสมาตรฐานสินค้าเกษตรในภาคผนวก ข

รหัสผู้ได้ใบรับรอง : ผู้ขอรับการรับรองและได้รับใบรับรองซึ่งกฎหมายกำหนดให้เป็นผู้จัดทำเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรต้องขอทราบหมายเลขรหัสจากหน่วยตรวจสอบรับรองโดยตรง

เกษตรกรสามารถขอรับการรับรองได้ที่ ผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน ภาครัฐและภาคเอกชนได้ดังนี้

ภาครัฐ

• กษ 01 – กรมประมง
 • กษ 02 – กรมปศุสัตว์
 • กษ 03 – กรมวิชาการเกษตร
 • กษ 09 – กรมการข้าว
 • กษ 10 – กรมหม่อนไหม
 • กษ 20 – สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)

ภาคเอกชน
 • กษ 12 – บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด
 • กษ 13 – บริษัท โกลบอล เซอร์ติฟิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด
 • กษ 14 – บริษัท โซโคเทค เซอร์ติฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด
 • กษ 15 – สำนักรับรองระบบคุณภาพ (สรร.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยีเเห่งประเทศไทย (วว.)
 • กษ 16 – บริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด
 • กษ 17 – สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ
 • กษ 18 – บริษัท ทูฟ นอร์ด (ประเทศไทย) จำกัด
 • กษ 21 – บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
 • กษ 22 – บริษัท วูฟเเกงค์ พล์าท (ประเทศไทย) จำกัด
 • กษ 23 – สถาบันรับรองระบบการผลิตผลิตภัณฑ์การเกษตร มหาวิทยาลัยเเม่โจ้
 • กษ 24 – บริษัท อินเตอร์เทค อินดัสทรี เเอนด์ เซอร์ทิฟิเคชั่นเซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด
 • กษ 25 – บริษัท เอ-วัน ฟิวเจอร์ จำกัด
 • กษ 27 – บริษัท ศูนย์ห้องปฏิบัติการเเละวิจัยทางการเเพทย์เเละการเกษตรเเห่งเอเชีย จำกัด
 • กษ 28 – บริษัท ไทย จี เอ พี 09 จำกัด
 • กษ 30 – บริษัท บีเอสไอ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด
 • กษ 31 – บริษัท ยูไอซี เซอร์ติฟิเคชั่น เซอร์วิสเซส จำกัด
 • กษ 32 – บริษัท อินเตอร์เนชั่นเเนล เซอร์ติฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด
 • กษ 33 – บริษัท เอ็ม เอส เซอร์ติฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด

ผู้ได้รับประโยชน์การใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร
ผู้ผลิต 

– ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายในการแสดงและใช้เครื่องหมายรับรอง

– นำไปใช้ประโยชน์ในการเจรจาต่อรองทางการค้า

– นำไปใช้ประโยชน์ในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่เพื่อแนะนำสินค้าที่ผลิตตามมาตรฐาน

– เพิ่มโอกาสและช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตร เพื่อให้ได้สินค้าที่มีมาตรฐานคุณภาพและปลอดภัยตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

ผู้จำหน่าย

– สามารถใช้ประโยชน์ในการแนะนำ เผยแพร่การจำหน่ายสินค้าที่ได้รับการรับรองและแสดงเครื่องหมายรับรอง และสามารถตรวจสอบแหล่งที่มา ของสินค้าทั้งในกรณีปกติหรือกรณีพบว่าสินค้ามีปัญหา

ผู้บริโภค 

– มั่นใจได้มากขึ้นว่าสินค้าที่เลือกซื้อมีมาตรฐาน คุณภาพ และความปลอดภัย ภายใต้เครื่องหมายรับรอง

– สามารถตามสอบแหล่งที่มาของสินค้าทั้งกรณีปกติ และกรณีที่พบว่าสินค้ามีปัญหา

หลักเกณฑ์การใช้ชื่อย่อของมาตรฐานกระบวนการจัดการหรือระบบการผลิตสินค้าเกษตร
GAP ใช้กับมาตรฐานเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี
ORGANIC ใช้กับมาตรฐานเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์
GMP ใช้กับมาตรฐานเกี่ยวกับการปฏิบัติที่ดีสำหรับกระบวนการผลิต และการปฏิบัติที่ดีสำหรับการคัดบรรจุ รวมทั้งมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์การปฏิบัติ: หลักการทั่วไปเกี่ยวกับสุขลักษณะอาหาร (มกษ. 9023) และมาตรฐานที่เกี่ยวกับการปฏิบัติที่ดีด้านสุขลักษณะอื่นๆ
GFP ใช้กับมาตรฐานเกี่ยวกับหลักปฏิบัติหรือการปฏิบัติที่ดีสำหรับกระบวนการรมสินค้าเกษตรด้วยสารเคมี เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เมทิลโบรไมด์หรือฟอสฟีน เป็นต้น
HACCP ใช้กับมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม
ประโยชน์ของมาตรฐานสินค้าเกษตร 

ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัย
ทำให้กระบวนการผลิตมีความปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค
ทำให้มีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และได้ผลผลิตคุ้มค่าต่อการลงทุน
เกิดความยั่งยืนทางการเกษตร และไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)

ตกลง