การเกิดอาการใบโดนแดดเผา (sunburn)
15 ม.ค. 2567
413
0
การเกิดอาการใบโดนแดดเผา (sunburn)
การเกิดอาการใบโดนแดดเผา (sunburn)

สภาพอากาศกับการเกิดอาการใบโดนแดดเผา (sunburn)
Climate conditions and leaf sunburn
เสาร์-อาทิตย์ล่าสุดนี่เพิ่งไปทัวร์สวนทุเรียนมาค่ะ
สภาพอากาศในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาโหดมากสำหรับต้นทุเรียน ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศต่ำกว่า 40% อุณหภูมิในแต่ละวันสูงกว่า 34-35 องศาเซลเซียส
อากาศแบบนี้ไม่เอื้อต่อพัฒนาการของต้นทุเรียนเลยนะคะ
สภาพอากาศแบบนี้ทำให้กระบวนการทางสรีรวิทยาของต้นพืชเกิดขึ้นได้อย่างจำกัด
กระบวนการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างน้ำตาล สำหรับใช้ในการเจริญเติบโต ซึ่งเป็นระยะกี่ต้นทุเรียนกำลังพัฒนาดอกในหลายหลายระยะในพื้นที่ภาคตะวันออก ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่พืชต้องการพลังงานค่อนข้างมากเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของดอก ทำให้การสร้างพลังงานในต้นเกิดขึ้นได้น้อยลง
เมื่ออุณหภูมิสูง ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศต่ำ อีกทั้งมีแสงแดดจัด ลมแรง ทำให้การกระเหย การคายน้ำและการระเหยของไอน้ำสู่อากาศมากขึ้น สุดท้ายแล้วพืชต้องรักษาความชื้นภายในเซลล์เพื่อลดการสูญเสียน้ำ
ในสภาพอากาศแบบนี้ หากดินมีความชื้นต่ำ หรือเว้นระยะการให้น้ำเป็นเวลานานเกินไปจะทำให้เกิดสภาพเครียดเนื่องจากการขาดน้ำได้ส่งผลให้พืชมีการสร้างฮอร์โมน แอบซิสซิค ABA ย้ายจากรากไปส่งสัญญาณให้พืชปิดปากใบเพื่อลดการสูญเสียน้ำ ทำให้การคายน้ำของพืชลดลง แน่นอนว่ามีผลต่อการดูดน้ำและธาตุอาหารเพื่อการเจริญเติบโตและมีผลต่อการลดอุณหภูมิภายในต้นพืชโดยเฉพาะอุณหภูมิของใบ นอกจากนี้ฮอร์โมนแอบซิสซิค ยังเป็นตัวการสำคัญทำให้เนื้อเยื่อบริเวณรอยต่อระหว่างก้านใบกับกิ่ง หรือระหว่างขั้วผลหมดสภาพเร็วขึ้น ใบหรือผลจึงหลุดร่วงได้
ใบสะสมความร้อนมากขึ้นเกิดความเสียหายของเซลล์เนื้อเยื่อ กิจกรรมของเอนไซม์ลดลงทำให้กระบวนการสร้างอาหารลดลง พืชเกิดความเครียดจากอุณหภูมิสูง มีการสร้างอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น กระตุ้นการเสื่อมสภาพของเซลล์และเกิดการตายของเนื้อตามมา
อาการที่เราเห็นคือ ใบที่โดนแดดโดยเฉพาะฝั่งทิศตะวันตก และทิศตะวันตกเฉียงใต้จะแสดงอาการเหลืองเป็นปื้นหากเจอสภาพอากาศวิกฤติรุนแรง ก็จะเกิดลักษณะการตายของเนื้อเยื่อบริเวณ นั้นแน่นอนว่าลักษณะแบบนี้ส่งผลให้พืชจำเป็นต้องใช้พลังงานส่วนหนึ่งในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอหรือเนื้อเยื่อที่เสียหายจากผลกระทบเนื่องจากการเกิดอาการซันเบิร์น
แนวทางการป้องกันหรือลดผลกระทบจากอาการซันเบิร์น
การให้น้ำอย่างเพียงพอไม่ให้แฉะหรือแห้งจนเกินไป และปรับช่วงเวลาการให้น้ำก่อนที่จะเจอสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งมากๆ ช่วงเช้าในแล้วเสร็จก่อน 10.00 น. เพื่อให้ดินมีความชื้นและต้นพืชพร้อมที่จะดูดน้ำไปใช้เพื่อลดอุณหภูมิของใบในช่วงที่สภาพอากาศวิกฤติ
การให้ปุ๋ยที่มีคุณสมบัติในการช่วยให้พืชป้องกันตัวเองจากสภาพความเครียดจากสภาพอุณหภูมิสูงแดดจัด
การใช้ธาตุสังกะสี (Zn) ลดความแล้วก็เครียด ทำให้พืชทนต่อสภาพอากาศ
การใช้ธาตุเหล็ก (Fe) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสร้างเอนไซม์ คลอโรฟิลล์ และสร้างพลังงาน
การใช้แมกนีเซียม (Mg) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาของคลอโรฟิลล์
การใช้แคลเซียม (Ca) เพื่อส่งเสริมความแข็งแรงของผนังเซลล์
การใช้สารเร่งชีวภาพ (biostimulants) เช่น การใช้กรดอะมิโน หรือการใช้สารพลังงาน เช่น น้ำตาลทางด่วน จะช่วยทำให้ต้นพืชฟื้นฟู ซ่อมแซมจากสภาพความเครียด และความเสียหายจากอาการซันเบิร์น การใช้สารสกัดจากสาหร่าย ซึ่งช่วยกระตุ้นการทำงานของต้นพืชให้มีการสร้างอาหารและการสร้างพลังงานได้อย่างต่อเนื่อง
ใช้สารในกลุ่มไวท์ออยล์ พาราฟินออยล์ ปิโตรเลียมออยล์ ฉีดพ่นเพื่อเคลือบผิวใบ ป้องกันความร้อนได้
หวังว่าคงเป็นประโยชน์กับพี่น้องชาวสวนในช่วงสภาพพูมิอากาศวิกฤตินะคะ เจอกันใหม่โพสต์หน้า
ขอให้มีความสุขและสนุกกับการทำสวนทุเรียนนะคะ

ตกลง