ศัตรูพืชในฤดูแล้ง
6 มี.ค. 2567
103
0
ศัตรูพืชในฤดูแล้ง
ศัตรูพืชในฤดูแล้ง

ศัตรูพืชในฤดูแล้ง ได้แก่
1) มันสำปะหลัง เกษตรกรควรเฝ้าระวังเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง ไรแดง และโรคใบด่างมันสำปะหลังที่มีแมลงหวี่ขาวยาสูบเป็นพาหะนำโรค ซึ่งการเข้าทำลายของศัตรูดังที่กล่าวจะทำให้ต้นมันสำปะหลังมีการเจริญเติบโตต่ำ ให้ผลผลิตได้ไม่เต็มที่หรือด้อยคุณภาพ หรือต้นมันสำปะหลังอาจตายได้ เกษตรกรจึงควรหมั่นสำรวจแปลงมันสำปะหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณใบและยอด จะมีอาการผิดปกติ เช่น ใบและยอดหงิกงอ เป็นต้น
2) อ้อย ควรเฝ้าระวังหนอนกออ้อย ด้วงหนวดยาว และจักจั่น เกษตรกรจึงควรหมั่นสำรวจไร่อ้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณโคนต้นระดับผิวดิน และบริเวณยอด จะมีอาการผิดปกติ เช่น มีรอยเจาะ ตาอ้อยแตกหน่อใหม่ด้านข้าง แตกยอดพุ่ม หักล้ม หรือแห้งตาย เป็นต้น
3) ข้าวโพด ควรเฝ้าระวังหนอนเจาะลำต้นข้าวโพด เกษตรกรจึงควรหมั่นสำรวจลำต้นข้าวโพดในแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณข้อของลำต้นที่ใกล้กับดอกหรือฝักข้าวโพด จะมีรู หรืออาการผิดปกติ เช่น ยอดแห้งตาย เป็นต้น
4) ข้าว ควรเฝ้าระวังเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และด้วงดำ เกษตรกรจึงควรหมั่นสำรวจนาข้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณโคนต้นข้าวระดับเหนือผิวน้ำ หรือบริเวณผิวดินหลังผันน้ำออกจากนาข้าว จะมีอาการผิดปกติ เช่น ใบข้าวเหลืองเป็นหย่อม
5) มะพร้าว ควรเฝ้าระวังหนอนหัวดำมะพร้าว แมลงดำหนาม และไรสี่ขามะพร้าว เกษตรกรจึงควรหมั่นสำรวจสวนมะพร้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณทางใบและผลอ่อนมะพร้าว จะมีอาการผิดปกติ เช่น ทางใบถูกแมลงแทะกินผิวใบใบจะแห้งเป็นสีน้ำตาล กรณีไรสี่ขาขั้วผลอ่อนแห้งแตกเป็นลายไม้สีน้ำตาล เป็นต้น
6) ทุเรียน ควรเฝ้าระวังไรแดงแอฟริกัน หนอนเจาะผลทุเรียน หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน และเพลี้ยไฟ เกษตรกรจึงควรหมั่นสำรวจสวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณใบ ยอด ดอก และผล จะมีอาการผิดปกติ เช่น สีใบซีดไม่เป็นมัน ใบโค้ง ยอดแคระแกรนหงิกงอ ผลเป็นแผล เป็นต้น และ
7) มังคุด ควรเฝ้าระวังเพลี้ยไฟ เกษตรกรจึงควรหมั่นสำรวจสวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณดอกและผล จะมีอาการผิดปกติ เช่น ดอกและผลแห้ง และร่วง เป็นต้น

ตกลง