เกษตรผสมผสานและไร่นาสวนผสม ความคุ้มค่าของเกษตรกร
21 มี.ค. 2566
63
0
เกษตรผสมผสานและไร่นาสวนผสม ความคุ้มค่าของเกษตรกร
เกษตรผสมผสานและไร่นาสวนผสม ความคุ้มค่าของเกษตรกร

เกษตรผสมผสานและไร่นาสวนผสม ความคุ้มค่าของเกษตรกร
ปัจจุบันอาชีพเกษตรกรรมยังคงมีความสำคัญกับประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งความโชคดีอย่างหนึ่งคือ เมื่อโลกพัฒนามากขึ้น ความทันสมัยต่าง ๆ รวมถึงแนวคิดดี ๆ ก็เกิดขึ้นเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตและสร้างประโยชน์ให้กับบุคลากรในอาชีพได้อย่างเห็นผล เกษตรผสมผสานและไร่นาสวนผสม จึงถือเป็นอีกวิธีดี ๆ ที่จะช่วยสร้างความคุ้มค่าให้กับเกษตรกรให้ใช้งานพื้นที่เพาะปลูกของตนเองได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งใครที่สนใจในเรื่องนี้ลองไปทำความรู้จักแบบชัดเจนกันเลย

เกษตรผสมผสานและไร่นาสวนผสม คืออะไร
เกษตรผสมผสานและไร่นาสวนผสม เป็นการนำเอาส่วนผสมของการทำอาชีพเกษตรกรมารวมไว้อย่าน้อย 2 ประเภทขึ้นไป หรืออธิบายให้ง่ายกว่านั้นก็คือ การที่เกษตรกรทำงานมากกว่า 2 ชิ้นขึ้นไปภายในพื้นที่และช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งถ้าแยกความหมายของเกษตรผสมผสานก่อน ก็จะให้ข้อมูลได้ว่า เป็นการทำเกษตรในรูปแบบต่าง ๆ บนพื้นที่หนึ่ง ซึ่งมีมากกว่า 2 ประเภทขึ้นไปไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชคนละชนิด การเลี้ยงสัตว์คนละประเภท เพื่อให้เกิดการเกื้อกูลระหว่างกัน และสร้างประโยชน์ให้กับเกษตรกรมากที่สุด ทั้งนี้ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานห่วงโซ่ที่มีความสัมพันธ์กันด้วย จะได้ประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่าย รวมถึงไม่ยุ่งยากในการดูแล ตัวอย่างง่าย ๆ เช่น การปลูกข้าวแล้วข้างคันนามีการทำเป็นบ่อเลี้ยงปลา, การเลี้ยงไก่เอาไว้บนบ่อปลา เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ถือเป็นแนวทางของเกษตรผสมผสานที่จะช่วยเพิ่มผลผลิตให้กับผู้ทำได้จริง บนพื้นฐานแห่งการใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

ขณะที่ไร่นาส่วนผสมเองก็จะเน้นการปลูกพืชเป็นส่วนใหญ่แต่ไม่จำเป็นต้องปลูกในช่วงเวลาเดียวกันเสมอไป เช่น ช่วงฤดูข้าวก็มีการปลูกข้าวขายตามปกติ แต่เมื่อหมดการเก็บเกี่ยวไปแล้วอาจเปลี่ยนพื้นที่นาบริเวณนั้นเป็นไร่ถั่วลิสง, ไร่อ้อย, ไร่มันสำปะหลัง ฯลฯ เพื่อไม่เป็นการปล่อยพื้นที่ให้เกิดการรกร้างและขาดประโยชน์ไปโดยใช่เหตุ ส่วนใหญ่แล้วการทำไร่นาส่วนผสมจะเน้นดูเรื่องของความคุ้มค่าและราคาของพืชผลเป็นหลักสำคัญด้วย เช่น ปีนี้ราคามันสำปะหลังไม่ค่อยดี ก็อาจทำเป็นไร่ถั่วลิสงแทน เพราะสร้างรายได้มากกว่าเมื่อเทียบการลงทุนในปริมาณเท่า ๆ กัน เป็นต้น

นี่คือความหมายของเกษตรผสมผสานและไร่นาสวนผสมซึ่งจริง ๆ แล้วถ้ามองภาพให้กว้างขึ้นกว่านี้อีกจะพบว่า ทั้ง 2 ประเภทนี้มีความคล้ายคลังกันพอสมควรทีเดียว แก่นแท้ของความต้องการคือ พยายามทำให้เกิดความคุ้มค่าบนพื้นที่การเกษตรของตนเองมากที่สุด ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างประโยชน์ในเชิงบวกด้วย ไม่ใช่แค่การมีพื้นที่แล้วทำตามความชอบ แต่ต้องอาศัยหลักการห่วงโซ่ และความต้องการของตลาดมาเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการพิจารณาว่าจะทำอย่างไรดีบ้าง

เกษตรผสมผสานและไร่นาสวนผสม สร้างประโยชน์ให้กับเกษตรกรในด้านไหนบ้าง

หลังจากเข้าใจความหมายและภาพรวมคร่าว ๆ ของทั้งเกษตรผสมผสานและไร่นาสวนผสมกันไปแล้ว คราวนี้จะมาแยกเป็นข้อ ๆ เพื่อให้เห็นภาพแบบชัดเจนไปเลยว่าหากเลือกทำการเกษตรทั้ง 2 แบบนี้ จะเกิดความคุ้มค่าและประโยชน์ในด้านใดกับเกษตรกรบ้าง

1. การใช้พื้นที่ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด

ข้อแรกนี้ถือว่าชัดเจนในความหมายอยู่แล้วกับการเปลี่ยนพื้นที่เดิม ๆ ซึ่งเคยปลูกหรือเลี้ยงสัตว์แค่ชนิดเดียวมาเป็นเกษตรผสมผสานและไร่นาสวนผสม เพราะจะช่วยให้ทุกพื้นที่ของเกษตรกรถูกใช้งานอย่างเหมาะสม คุ้มค่า ไม่ปล่อยแม้แต่จุดเล็ก ๆ ให้กลายเป็นพื้นที่ว่างเปล่า ไร้ประโยชน์

2. เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรได้มากขึ้น

เมื่อมีการสร้างผลผลิตที่มากขึ้นแม้มีอยู่บนพื้นที่เดียวกัน ย่อมสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรมากกว่าเดิมแบบไม่ต้องมีข้อสงสัยใด ๆ ทั้งสิ้น เช่น จากเดิมที่ชาวนามีแค่การทำนา เมื่อหมดหน้านาก็ว่าง ไม่มีงาน ไม่มีเงิน ก็สร้างรายได้จากการขายพืชไร่ชนิดอื่น ๆ แทน หรือ จากเดิมเป็นแค่สวนผักเล็ก ๆ แต่มีการเลี้ยงปลาเพิ่มในบ่อน้ำที่นำไปใช้รดน้ำผักทุกวัน แบบนี้ก็เท่ากับสร้างรายได้ 2 ช่องทางในเวลาเดียวกันไปเลย

3. สร้างแนวคิดวางแผนในการทำงานอย่างเหมาะสม

การจะเลือกทำเกษตรผสมผสานและไร่นาสวนผสมไม่ว่าชนิดใดก็ตามต้องมีการวางแผนให้รอบคอบก่อนเสมอ เพื่อเวลาลงมือทำไปแล้วจะพบว่าสอดคล้อง เป็นไปตามที่คาดหวังเอาไว้ เช่น ปลูกผักแต่ดันไปเลี้ยงไก่แบบนี้ก็มีโอกาสที่ไก่จะจิกผลผลิตตายหมด เป็นต้น การทำเกษตรในลักษณะที่ว่ามาจะช่วยให้รู้จักการวางแผนแบบเป็นขั้นตอน มองภาพออกว่าควรทำแบบไหน อย่างไร เพื่อให้ผลผลิตออกมาตรงกับที่ต้องการมากที่สุดนั่นเอง

เกษตรผสมผสานและไร่นาสวนผสม ถือเป็นแนวทางดี ๆ ที่จะช่วยให้เกษตรกรทุกคนลืมตาอ้าปากได้ดีขึ้นกว่าเดิม เพราะไม่ใช่แค่เรื่องของการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ แต่ยังมีรายได้เพิ่มเติมจากเคยมีแค่ทางเดียวแล้วต้องไปหารับจ้างทำงานแบกหาม ได้อยู่บนพื้นที่ของตนเอง ตื่นเช้ามาทำในสิ่งที่รัก อยู่กับธรรมชาติ สร้างความสุขเล็ก ๆ ในชีวิตให้เกิดขึ้นภายในครอบครัว อีกทั้งยังเห็นการเติบโตของผลผลิตที่เฝ้าเลี้ยงดูมาตั้งแต่แรก อาจบอกว่าเป็นชีวิตแบบพอเพียงที่ไม่ต้องมีเงินรวยล้นฟ้า แต่มีความสบายใจในทุก ๆ วันที่ได้ทำและเลี้ยงชีพแบบที่น่าพึงพอใจ

ตกลง