ขมิ้นชัน: แนวทางปลูกเกษตรอินทรีย์
ขมิ้นชัน Curcuma longa เป็นพืชล้มลุก อายุหลายปี ในวงศ์ Zingiberaceae (วงศ์ขิง) มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ต้นสูง 30 – 95 เซนติเมตร
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
1. สภาพภูมิอากาศ
1.1 อุณหภูมิ: ร้อนชื้น อุณหภูมิประมาณ 25-35 °C ต้องการอุณหภูมิ
ที่ต่างกันในแต่ละช่วงพัฒนาการของพืช
1.2 ความชื้นสัมพัทธ์: เฉลี่ย 60-80%
1.3 แสง: กลางแจ้ง หรือแสงรำไร ต้องการแสงเพื่อพัฒนาเหง้า
2. สภาพพื้นที่
2.1 ความสูง: ปลูกได้ดีที่ความสูง 450-900 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล
3. สภาพดิน
3.1 ประเภทดิน – ดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี
หลีกเลี่ยงดินเหนียว หรือดินลูกรัง ไม่เหมาะกับการพัฒนาเหง้าขมิ้น
3.2 ความลึกของหน้าดิน – ลึก 30 ซม. มีความร่วนซุย
3.3 ความเป็นกรดด่างของดิน(pH)- 5-7 ดินเป็นด่างไม่เหมาะกับขมิ้นชัน
ดินเป็นกรด เอื้อให้เกิดโรคเน่าของเหง้าและรากจากเชื้อแบคทีเรีย
3.4 การนำไฟฟ้าของดิน – ค่าการนำไฟฟ้าของดิน(EC) เท่ากับ 2 dS/m
3.5 ปริมาณอินทรียวัตถุ – มีความเข้มข้นของอินทรียวัตถุมากกว่า 2%
4. ธาตุอาหาร – ต้องการธาตุอาหารฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม
5. สภาพน้ำ – ปริมาณน้ำฝน 1,000-2000 มม.ต่อปี มีการกระจายฝน
สม่ำเสมอในช่วง 100-120 วัน ควรปลูกขมิ้นชันต้นฤดูฝน
แนวทางในการเพาะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์
สายพันธุ์
ขมิ้นชันพันธุ์ ตรัง 1 ให้สารน้ำมันหอมระเหยสูง ขมิ้นชันพันธุ์
ตรัง 84-2 ให้ปริมาณเคอร์คูมินอยด์สูง
ผลผลิตเฉลี่ย
ผลผลิตสดเฉลี่ย 2,500-3,300 กิโลกรัมต่อไร่ โดยมีอัตราการทำแห้ง (ผลผลิตสด : ผลผลิตแห้ง) = 6 : 1
การเตรียมดิน
* ขุดหรือไถพรวนให้ดินร่วนใช้ไถผาน 3 ถ้ามีวัชพืชมากไถพรวน 2 ครั้ง
* ไถยกร่องโดยใช้ผาน 7
* ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์
การเตรียมพันธุ์
* ใช้ขมิ้นหัวแม่ น้ำหนัก 15 – 50 กรัม มีตา 2-3 ตา ใช้ 1 หัวต่อหลุม
* แง่งเล็ก น้ำหนัก 10 กรัม 2 – 3 ตา ใช้ 2-3 แง่งต่อหลุม (การใช้แง่งเล็กจะให้ผลผลิตต่ำกว่า)
* แช่น้ำ 1 คืน ก่อนปลูก
เตรียมแปลงปลูก
* ทำแปลงยกร่อง 30 x 70 ซม. สำหรับการปลูกโดยปลูกแบบขุดหลุม
* ทำแปลงแบบแถกดิน 35 x 50 ซม. วางหัวพันธุ์เรียงปลูก
การปลูก
* ขุดหลุมปลูกลึก 10-15 ซม. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 200-300 กรัม
* วางหัวพันธุ์ในหลุมปลูก กลบดินหนา 5-10 ซม. ระยะปลูก 30 x 30 ซม.
การให้ปุ๋ย
* หลังปลูก 3 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยคอก โดยโรยกระจายให้ทั่วแปลงเพียงครั้งเดียว
การให้น้ำ
* ให้น้ำอย่างพอเพียงและสม่ำเสมอ ตั้งแต่เริ่มปลูกจนพืชตั้งตัวได้
* ให้น้ำน้อยลงในระยะหัวเริ่มแก่
* งดให้น้ำในระยะเก็บเกี่ยว
การกำจัดวัชพืช
ด้วยการถอน หรือใช้จอบดายหญ้า พร้อมกลบโคนต้น
กำจัดวัชพืช 3 ครั้ง เมื่อขมิ้นเริ่มงอก และหลังปลูก 3 เดือน 6 เดือน
ศัตรูที่สำคัญและการป้องกันกำจัด
โรคเหี่ยว
* ป้องกันโดยใช้หัวพันธุ์ที่ปลอดโรค
* ปลูกพืชหมุนเวียน เช่น พืชตระกูลถั่ว เพื่อลดเชื้อที่อาจสะสมในดิน
* ขุดต้นที่เป็นโรคเผาทำลาย
เพลี้ยแป้ง
* ฉีดพ่นด้วยสารสะเดา หรือสบู่อ่อน
การเก็บเกี่ยว
* เก็บในช่วงฤดูแล้ง เมื่อขมิ้นชันมีอายุ 9-11 เดือนขึ้นไป
* ไม่ควรให้น้ำก่อนเก็บเกี่ยว เพราะจะทำให้ดินแฉะ
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
* ล้างน้ำขัดผิวให้สะอาด ตัดแต่งเอารากและส่วนที่เสียของหัวทิ้ง ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
* หั่นขมิ้นชันหนา 1-2 มม. เกลี่ยให้บางวางบนถาด ตากแดด 3 วัน และอบที่อุณหภูมิ 60 °C นาน 3 ชม.
* ขมื้นชันแห้งบรรจุในภาชนะที่สะอาด แห้ง ปิดให้สนิท เก็บไว้บนชั้นวาง ในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก นำออกใสผึ่งในที่ร่มทุก 3-4
เอกสารอ้างอิง
– https://th.wikipedia.org/wiki/ชมื้นชัน_(พืช)
– http://k-tank.doae.go.th/uploads/6ขมื้นชัน.pdf