การใช้วัสดุคลุมดิน
20 มิ.ย. 2567
31
0
การใช้วัสดุคลุมดิน
การใช้วัสดุคลุมดิน

การใช้วัสดุคลุมดิน
วัสดุที่ใช้ในการคลุมดินมีอยู่ 2 ลักษณะ
1.ใช้เศษซากอินทรีย์วัตถุ เช่น เศษใบไม้ ฟางข้าว แกลบ ชานอ้อย ซากพืช รวมทั้งมูลสัตว์แห้งคลุมดิน เศษอินทรีย์ที่ใช้คลุมดินควรมีลักษณะแห้ง เพื่อมิให้เกิดการหมักจนเกิดหมักจนเกิดความร้อนซึ่งอาจทำอันตรายพืชปลูกได้
2.การปลูกพืชหรือปล่อยให้พืชที่มีชีวิตขึ้นปกคลุมผิวดินบริเวณที่ต้องการ หรือเรียกว่า "พืชคลุมดิน" ส่วนมากนิยมการใช้พืชตระกูลถั่ว เพราะจะช่วยตรึงไนโตรเจนเป็นปุ๋ยแก่ดิน

การคลุมดินมีประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. เป็นการรักษาความชื้นภายในดิน วัสดุคลุมดินจะปกคลุมมิให้แสงแดดส่องกระทบผิวดินโดยตรง และกั้นการระเหยของความชื้นในดินไม่ให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ความชื้นของดินบริเวณที่มีการคลุมดินสูงกว่าปริมาณที่ไม่มีการคลุมดิน
2. ป้องกันการกัดเซาะล้างของผิวดินที่เกิดขึ้นจากน้ำและลม เนื่องจากเม็ดฝนที่ตกลงมาจะไม่กระทบผิวดินโดยตรง และกระแสน้ำที่ไหลผ่านผิวดินถูกขวางและดูซับไว้โดยวัสดุคลุมดินอีกทั้งขวางกั้นผิวดินจากแรงลมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่มีลมพัดรุนแรง
3. การคลุมดินไว้ทำให้อุณภูมิของผิวดินไม่สูงมากนัก พื้นผิวดินจึงมีอุณภูมิและความชื้นที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช และจุลลินทรีย์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการสร้างความอุดมสมบูรณ์ของดินในระยะยาว
4. วัสดุที่คลุมดินช่วยปรับปรุงบำรุงดิน อินทรีย์วัตถุที่จะค่อย ๆ ย่อยสลายและปลดปล่อยแร่ธาตุอาหารให้แก่พืชอย่างช้า ๆ การใช้วัสดุคลุมดินจึงเป็นประหนึ่งการทำ "ปุ๋ยหมักที่ผิวหน้าดิน" ไว้สำหรับการเจริญเติบโตของพืชนั่นเอง การปรับปรุงดินโดยวิธีนี้ดีกว่าวิธีการทำปุ๋ยหมักเสียอีก เนื่องจากเศษอินทรีย์วัตถุจะค่อยสลายตัวเป็นปุ๋ยอย่างช้า ๆ ทำให้ไม่สูญเสียอีกเนื่องจากเศษอิทรีย์วัตถุจะค่อยสลายที่ดำเนินไปอย่างรุนแรงเนื่องจากการหมัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณเขตร้อนซึ่งกิจกรรมของจุลินทรีย์ต่าง ๆ ดำเนินไปอย่างรวดเร็วกว่าในระบบนิเวศอื่น
5.ช่วยควบคุมวัชพืช เนื่องจากวัสดุคลุมดินจะปิดกั้นไม่ให้แสงผ่านเข้าไปถึงผิวดิน เมล็ดของวัชพืชที่ฝังอยู่ใต้ดินแม้ว่าจะได้รับความชื้นเพียงพอแต่ก็ขาดแสงอันจำเป็นต่อการเจริญเติบโต ส่วนเมล็ดวัชพืชอื่น ๆ ที่ปลิวมาภายหลังจากที่คลุมวัสดุไว้แล้ว ก็ยากที่จะงอกขึ้นได้เพราะไม่สัมผัสเนื้อดินโดยตรงนอกเหนือจากนี้ในกรณีที่มีวัชพืชบางส่วนงอกขึ้นได้เกษตรกรก็สามารถกำจัดได้ง่าย ๆ
ที่มา : หนังสือเกษตรกรรมทางเลือก : ความหมาย,ความเป็นมา,และเทคนิควิธี
คณะผู้เขียน วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ/ณรงค์ คงมาก/ฐิรวุฒิ เสนาคำ/วิฑูรย์ ปัญญากุล/ไชยา เพ็งอุ่น

ตกลง