กัญชง และ กัญชา
กัญชง หรือ “เฮมพ์ (Hemp)” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. กัญชา หรือมารีฮวนนา (Marijuana) ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis indica Lam. พืชทั้ง 2 ชนิด เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Cannabaceae เช่นเดียวกัน และเดิมที่การปลูกทั้ง 2 ชนิดนี้ เพื่อใช้ประโยชน์จากเส้นใยมาเป็นเวลานับพันปีในเอเชียและตะวันออกกลาง และสันนิษฐานว่ามีการกระจายพันธุ์อยู่ทางตอนกลางของทวีป ได้แก่ พื้นที่ทางตอนใต้ของแคว้นไซบีเรีย ประเทศเปอร์เซีย ทางตอนเหนือของแคว้นแคชเมียร์ ประเทศอินเดีย และบริเวณเชิงเขาหิมาลัย ประเทศจีน ก่อนจะกระจายไปในที่ต่าง ๆ (ประภัสสร ทิพย์รัตน์, 2562)
ความแตกต่างระหว่าง “กัญชง” และ “กัญชา”
“กัญชง” เป็นพืชที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกัญชามาก เนื่องจากอยู่ในวงศ์เดียวกัน ดังนั้นลักษณะภายนอกหรือสัณฐานวิทยาของพืชทั้งสองชนิดจึงมีความแตกต่างกันเล็กน้อย จนบางครั้งยากต่อการจำแนกชนิดและทำให้เกิดความสับสนได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วพืชทั้งสองชนิดมีลักษณะที่ค่อนข้างแตกต่างกัน เช่น กัญชงมีลักษณะลำต้นสูงมากกว่า 2 เมตร ใบมีสีเขียวอมเหลืองรูปเรียวยาว มีการเรียงสลับของใบค่อนข้างห่างชัดเจน ทรงพุ่มเรียวเล็ก มีการแตกกิ่งก้านน้อย และไม่มียางเหนียวติดมือเป็นต้น
“กัญชา” มีลักษณะลำต้นสูงไม่เกิน 2 เมตร ใบมีสีเขียวเข้มขนาดกว้างกว่ากัญชง การเรียงตัวของใบจะชิดกันหรือเรียงเวียนใกล้กัน โดยเฉพาะใบประดับช่อดอกจะเป็นกลุ่มแน่นเห็นได้อย่างชัดเจน มีการแตกกิ่งก้านมาก และมักมียางเหนียวติดมือ (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, 2561; สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, 2562; Cannabis.info, 2562)
ที่
|
กัญชง
|
กัญชา
|
1
|
ต้นสูงเรียว > 2 เมตร
|
ต้นเตี้ย ทรงพุ่มกว้าง
|
2
|
แตกกิ่งก้านน้อย และไปในทิศทางเดียวกัน
|
แตกกิ่งก้านมาก และออกกิ่งแบบสลับไปมา
|
3
|
ใบเรียวเรียงตัวห่างกัน และมีทรงพุ่มโปร่ง
|
ใบหนากว้างเรียงตัวชิดกัน และมีทรงพุ่มแน่นทึบ
|
4
|
ปล้องหรือข้อยาว
|
ปล้องหรือข้อสั้น
|
5
|
เปลือกหนา เหนียว และลอกง่าย
|
เปลือกบาง ไม่เหนียว และลอกยาก
|
6
|
ใบสีเขียวอมเหลือง ขอบใบย่อยในแต่ละแฉกโค้ง
|
ใบสีเขียวเข้ม ขอบใบย่อยในแต่ละแฉกเรียวยาว
|
7
|
เส้นใยยาว และมีคุณภาพสูง
|
เส้นใยสั้น และมีคุณภาพต่ำ
|
8
|
มียางที่ช่อดอกไม่มาก
|
มียางที่ช่อดอกมาก
|
9
|
ออกดอกเมื่ออายุ > 4 เดือน
|
ออกดอกเมื่ออายุ ประมาณ 3 เดือน
|
10
|
เมล็ดมีขนาดใหญ่ ผิวหยาบด้าน และมีลายบ้าง
|
เมล็ดมีขนาดเล็ก ผิวมันวาว และมีลายมาก
|
11
|
การปลูกระยะห่างระหว่างต้นและแถวแคบ เพราะต้องการเส้นใย
|
การปลูกระยะห่างระหว่างต้นและแถวกว้าง เพราะต้องการใบ และช่อดอก
|
ที่มา: สยาม อรุณศรีมรกต (2562)
ลักษณะทางเคมี
ลักษณะ (ร้อยละ)
|
กัญชง
|
กัญชา
|
THC (Tetrahydrocannabinol)
|
< 1
|
1-20
|
CBD (Cannabidiol)
|
≥ 2
|
< 2
|
ปริมาณเส้นใย (Fiber) สูงสุด
|
35
|
15
|
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (2562)
อ้างอิงจาก http://www.ej.eric.chula.ac.th/content/6131/256