การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีในยอดอ้อยแบบรวดเร็วด้วยเนียร์อินฟราเรดสเปกโตรสโคปี
1 ก.ค. 2565
84
239
การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีในยอดอ้อยแบบรวดเร็วด้วยเนียร์อินฟราเรดสเปกโตรสโคปี

    ยอดอ้อยเป็นผลพลอยได้จากการเกษตรที่สามารถน ามาใช้เป็นอาหารหยาบส าหรับเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้องทดแทนหญ้าที่ขาดแคลนในฤดูแล้ง เพื่อน าไปสู่การเลือกใช้ที่เหมาะสมตามคุณภาพ จึงควรมีการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของยอดอ้อยก่อนน ามาประกอบเป็นอาหารสัตว์ การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพการวิเคราะห์คุณภาพยอดอ้อยแบบรวดเร็วด้วยเครื่องเนียร์อินฟราเรดสเปโตรสโปี (Near Infrared Spectroscopy: NIRS) ด าเนินการศึกษาโดยการน าตัวอย่างยอดอ้อยสดหั่นเป็นแว่นมาวัดสเปกตรัมการดูดกลืนแสง NIR ในโหมดสะท้อนกลับ ที่เลขคลื่นช่วง 9000-4000 cm-1จากนั้นน ายอดอ้อยมาวิเคราะห์หาปริมาณวัตถุแห้ง โปรตีน เถ้า NDF ADFเซลลูโลส และลิกนินด้วยวิธีมาตรฐาน เพื่อน ามาสร้างแบบจ าลองท านายคุณภาพยอดอ้อยด้วยวิธี Partial Least Square Regression (PLSR) จากการศึกษาพบว่าแบบจ าลองส าหรับท านายปริมาณวัตถุแห้งและโปรตีนในยอดอ้อยสดมีประสิทธิภาพการท านายดีกว่าองค์ประกอบทางเคมีอื่นๆ โดยมีค่าRPD มากกว่า 3 ในขณะที่การท านายปริมาณองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับเยื่อใยมีประสิทธิภาพการท านายปานกลาง (RPD<3)ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ในการน าเครื่องเนียร์อินฟราเรดสเปกโตรสโคปีมาใช้ในการตรวจสอบปริมาณวัตถุแห้งและโปรตีนในขณะที่ยังไม่เหมาะสมในการท านายองค์ประกอบเยื่อใยในในยอดอ้อยสด

ตกลง