ระวัง หนอนผีเสื้อเหยี่ยวลายลูกกวาดใหญ่ ในอ้อย
15 ต.ค. 2567
68
0
ระวัง หนอนผีเสื้อเหยี่ยวลายลูกกวาดใหญ่ ในอ้อย
ระวัง หนอนผีเสื้อเหยี่ยวลายลูกกวาดใหญ่ ในอ้อย

ระวัง หนอนผีเสื้อเหยี่ยวลายลูกกวาดใหญ่ ในอ้อย
สภาพอากาศในช่วงนี้มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ เริ่มมีอากาศเย็นในตอนเช้า เตือนผู้ปลูกอ้อย ในระยะ ทุกระยะการเจริญเติบโต รับมือหนอนผีเสื้อเหยี่ยวลายลูกกวาดใหญ่ หนอนจะอยู่บริเวณเส้นกลางใบหรือลำต้นในเวลากลางวัน และออกหากินในเวลากลางคืน โดยจะไต่ขึ้นกัดกินทำลายส่วนใบและยอดอ่อน สังเกตรอยทำลายได้จากปลายใบที่โดนหนอนกัดกิน ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดใหญ่ วางไข่เป็นฟองเดี่ยวบนใบและใต้ใบพืช หนอนโตเต็มที่มีขนาด 5.5 - 8.0 เชนติเมตร ลำตัวสีเขียวหรือชมพู มีแถบสีขาวด้านข้างลำตัว 2 แถบ และมีแถบสีเข้มกลางหลัง 1 แถบ เข้าดักแด้ในดิน ระยะดักแด้ประมาณ 1 เดือน หรือสามารถอยู่ในดินได้หลายเดือนจนกว่าสภาพแวดล้อมหมาะสม จึงฟักออกเป็นตัวเต็มวัยในเวลากลางคืน
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. ไถพรวนและตากดินก่อนปลูก เพื่อกำจัดระยะดักแด้ที่อยู่ในดิน
2. หมั่นสำรวจแปลงหากพบไข่หรือตัวหนอนให้เก็บและทำลายทันที
3. การใช้สารกำจัดแมลง (อ้างอิงข้อมูลจากงานวิจัยการป้องกันกำจัดหนอนกระทู้หอมในพริก) เช่น อีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% EC อัตรา 20 - 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร (กลุ่ม 6) หรือ อีมาเมกตินเบนโซเอต 5% WG อัตรา 5 - 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร (กลุ่ม 6) หรือ เดลทาเมทริน 3% EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร (กลุ่ม 3A) หรือ อินดอกซาคาร์บ 15% EC อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร (กลุ่ม 22A)
**** แนะนำให้พ่นสารกำจัดแมลงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ห่างกันทุก 7 วัน ไม่เกิน 3 ครั้ง และหมุนเวียนสารตามกลไกการออกฤทธิ์ ไม่พ่นซ้ำกลุ่มเดิมในรอบ 30 วัน เพื่อชะลอความต้านทานต่อสารกำจัดแมลง

ตกลง