เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว
11 ก.ย. 2567
106
0
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว
------------------------
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยง จากเซลส์ท่อน้ำท่ออาหารบริเวณโคนต้นข้าวระดับเหนือผิวน้ำทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลืองแห้งลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวก แห้งตายเป็นหย่อมๆ เรียก 'อาการไหม้" (hopperburn) โดยทั่วไปพบอาการไหม้ในระยะข้าวแตกกอถึงระยะออกรวงโดยสามารถทำลาย ข้าวได้ทุกระยะ พัฒนาและปรับตัวให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมและอาหารได้ดี นอกจากนี้ยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัส โรคใบหงิก (rice ragged stunt) มาสู่ต้นข้าวทำให้ต้นข้าวมีอาการแคระแกรีน ต้นเตี้ยใบสีเขียวแคบและสั้นใบแก่ ช้ากว่าปกติ ปลายใบบิด เป็นเกลียวและขอบใบแหว่งวิ่น
การป้องกันกำจัด
1. หมั่นสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ
2. ไม่ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในปริมาณที่มากเกินไป เพราะจะทำให้ต้นข้าวอวบเหมาะแก่การเข้าทำลาย
3. ควบคุมระดับน้ำในนาข้าว โดยการระบายน้ำออกเป็นครั้งคราวแบบเปียกสลับแห้ง
4. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติเพื่อใช้ควบคุมการระบาด เช่น มวนเขียวดูดไข่ แมงมุมสุนัขป่า ด้วงก้นกระดกแมลงปอเข็ม แมงมุมเขี้ยวยาว เป็นต้น
5. ใช้เชื้อราบิวเวอเรีย (เชื้อสด) อัตรา 1 กก. ต่อน้ำ 40 ลิตร ฉีดพ่น
6. ใช้เชื้อราเมตาไรเซียมอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่น
7. ใช้สารเคมีในการกำจัด
ไม่ควรฉีดพ่นสารเคมีก่อนข้าวอายุ 40 วัน
------------------------
ห้ามใช้สารฆ่าแมลงที่ทำให้เกิดการเพิ่มระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (resurgence) เช่น สารกลุ่ม 3 บางตัว (ไพรีทรอยด์) และกลุ่ม 1 บางตัว (ออแกโนฟอสเฟสและคาร์บาเมต) และกลุ่ม 6 อะบาเมกติน
ที่มา เพจเฟสบุ๊ค กลุ่มงานวิจัยการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช กรมวิชาการเกษตร

ตกลง